
มีที่ให้น้ำ
อาหาร และมีลานให้ลูกไก่วิ่งได้ |
วิธีสอนให้ลูกไก่รู้จักกินน้ำกินอาหาร เราทำ ได้ ๒ วิธี
วิธีแรก คือ
เลียนแม่ไก่ที่จิกอาหารหรือ ดื่มน้ำให้ลูกไก่ดู เราจิกไม่เป็น
ก็ให้จับหัวลูกไก่กดเบาๆ ให้ปากจุ่มน้ำหรือให้ลงจิกกินอาหาร ลูกไก่
ก็จะได้ความคิดแล้วกินน้ำกินอาหารได้เองต่อไปอีก วิธีหนึ่ง
เราจัดให้แสงสว่างแรงหน่อย ตรงที่กินน้ำ และอาหาร
ลูกไก่ชอบไปที่สว่างก็จะได้รู้วิธีกินน้ำ และอาหารเอง วิธีนี้ใช้ได้ผลดี
อีกทั้งทุ่นเวลาด้วย เพราะลูกไก่เรียนเองและเอาอย่างกันเอง
|
ภาระของผู้เลี้ยงไก่ในช่วงนี้
มี ๓ ประการ ด้วยกัน ประการแรก
คือดูแลความสบาย ความเป็นอยู่ของลูกไก่ว่าไม่ร้อนไม่หนาว อากาศถ่ายเท
หายใจได้สะดวก แต่มิให้ลมโกรก ศัตรูไม่รบกวน อาหารและน้ำมีพอกิน
การถ่ายมูลเป็นปกติไม่เหลว ไป หรือแห้งไป ทั้งไม่หมักหมมอยู่บนพื้นกรง
หรือในที่นอน กรงเลี้ยงไก่ที่ออกแบบดีแล้ว เมื่อไก่ ถ่ายมูลปกติ
ก็จะลอดพื้นกรงไปรวมอยู่ในถาดรองรับมูลไก่เกือบทั้งหมด
สะดวกแก่การทำความสะอาด และเก็บรวบรวมไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย ปลูกต้นไม้
พืช ผักต่างๆ ถ้ามูลไก่เหลวไป แห้งไป ก็เป็น หลักฐานฟ้องว่า
เราบกพร่องในการดูแลต้องรีบพิจารณาหาสาเหตุ แล้วแก้ไขเสียโดยเร็ว
จะผัดผ่อน เวลาไม่ได้ |

โรงเรือนควรเป็นที่ถ่ายเทอากาศได้ดีแต่ไม่มีลมโกรก |
ประการที่ ๒ ไก่ที่เราเลี้ยงต้องการอาหาร
ดีพอเหมาะสมแก่ความต้องการของร่างกายในอายุ ต่างๆ กัน
และเพื่อหน้าที่ต่างๆ กัน บางคนใจดี คิดว่าถ้าเราหาอาหารที่มีแป้งมาก
มีโปรตีนสูง มี ไขมันเกินพอ มีแร่ธาตุและวิตามิน ตลอดจนยา เสริมต่างๆ
ครบครันแล้ว ก็พอใจเลี้ยงอย่างนั้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏแล้วแน่ชัดว่า
ทั้งลูกไก่และไก่ รุ่นตลอดจนไก่ใหญ่ คือ ไก่ไข่และพ่อแม่ไก่สำหรับ
ผสมพันธุ์ ล้วนแต่มีความต้องการอาหารจำเพาะ เจาะจง ไก่
เป็ดระยะไข่ต้องการอาหารคุณภาพและ ปริมาณเพิ่มขึ้นตามความสามารถให้ไข่
(โปรดดู ตาราง) ถ้าเราให้ขาดหรือเกินจะเสียผล หรือถ้าให้
อาหารอุดมสมบูรณ์เกินต้องการ ก็อาจทั้งเสียผลและ
เสียค่าใช้จ่ายมากโดยไม่ได้ผลตอบแทน เราจะต้อง คำนึงถึงพันธุ์ไก่ ชนิดไก่
ประเภทของอาหาร ฤดู กาลและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุผลดังว่ามานี้ ผู้เลี้ยงไก่
จะต้องศึกษาเรื่องสูตรอาหารให้เข้าใจ แล้วจะ ผสมใช้เอง
หรือซื้ออาหารผสมสำเร็จก็กระทำได้
ด้วยความแน่ใจว่าเราไม่ได้ลงทุนมากแต่กลับได้ผล น้อยไม่คุ้ม |

โรงเรือนเลี้ยงไก่ |
ประการที่ ๓ เราเลี้ยงไก่หรือสัตว์เลี้ยงก็ ตาม
เราต้องดูแลสุขอนามัยให้สมบูรณ์จึงจะได้ผล
ไก่จะมีสุขอนามัยดีก็เริ่มด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่ สบาย
ได้กินอาหารและน้ำพอเพียงตามที่ร่างกาย ต้องการ แล้วไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
การเลี้ยง สัตว์ถือหลักโบราณของไทยว่า "กันดีกว่าแก้"
ไว้เสมอ การป้องกันโรคเบื้องต้น คือ รักษาความ
สะอาดของสถานที่ กรงเลี้ยงไก่ น้ำ อาหาร ป้อง กันสัตว์นำเชื้อโรค เช่น เหา
ไร หนู นกกระจอก และคนแปลกหน้า เป็นต้น มิให้เพ่นพ่านในสถานที่
การป้องกันขั้นกลาง คือ ป้องกันการแพร่เชื้อทางน้ำ
กินและอาหารโดยใช้ยาหรือยาเสริมต่างๆ โดยระมัด ระวังและสม่ำเสมอตามคำแนะนำ
อย่าใช้ตาม ใจชอบหรือตามใช้สะดวกอาจเป็นโทษภายหลัง ขั้น ปลายก็คือ
การป้องกันโรคสำคัญๆ สำหรับไก่ ได้ แก่ ใช้วัคซีนเฉพาะบางโรค เช่น
โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ และโรคฝีดาษไก่ เป็นต้น สำหรับเป็ดก็คือ
โรคตับอักเสบติดต่อในลูกเป็ด โรค เพล็กเป็ด โรคอหิวาต์เป็ด
ควรปฏิบัติตามคำแนะ นำของสัตวแพทย์ สัตวบาล หรือผู้ผลิตยาโดย
เคร่งครัดและครบถ้วน
วิธีเลี้ยง
กระทำได้หลายวิธี ผู้เลี้ยงไก่เลือกเอาตามความต้องการ
ให้เหมาะสมแก่จุดประสงค์ และทุนที่มี
๑.
เลี้ยงปล่อยรอบบ้านแบบช่วยตัวเอง มีอาหารให้บ้าง
ที่นอนก็มีอาศัยใต้ถุนบ้าน หรือมีเล้าพออยู่อาศัยตอนกลางคืน
ปลอดภัยจากศัตรู ได้แก่ ขโมย แมว สุนัข งู พังพอน เป็นต้น จัดหารัง
สำหรับออกไข่ และฟักไข่ด้วยก็ได้ การเลี้ยงปล่อยนี้
เหมาะแก่บ้านชนบทในไร่นา ซึ่งมีบริเวณกว้าง และเลี้ยงจำนวนเพียง ๑๐-๒๐ ตัว
ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยหาอาหารโปรตีนจำพวกแมลง ไส้เดือน ตัวปลวกได้
มีเมล็ดข้าวเมล็ดหญ้าบ้าง แต่ผู้เลี้ยงคงต้องให้ข้าวเปลือก
ข้าวโพดบดให้แตก ข้าวฟ่าง
เป็นต้น วันละ ๑-๒ ครั้ง อาหารประเภทผักสด ใบกระถิน
ที่เหลือจากในครัวก็ใช้เลี้ยงไก่ได้
๒. เลี้ยงครึ่งปล่อยครึ่งกัก คือ ทำเรือนโรงมีลานล้อมรั้วมิดชิด
ไก่ต้องอยู่ภายในเล้า ไม่เพ่นพ่านทั่วไป เพราะในบ้านอาจมีแปลงสวนครัว
ดอกไม้ และของราคาแพง ซึ่งไก่จะคุ้ยเขี่ยจิกให้เสียหายได้
ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยในลานใต้แสงแดดบริบูรณ์ แต่อาหารต้องจัดหาให้ครบถ้วน
น้ำกินก็จัดให้มีพอเสมอ และไม่สกปรกหมักหมม
อาหารที่ให้ต้องพิถีพิถันมากขึ้น คือ ให้ได้ครบทั้งแป้ง โปรตีน ไขมัน
แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งจะได้จากข้าวเปลือก ข้าวโพดบดแตก ข้าวฟ่าง
ข้าวกล้อง รำข้าว และถั่วต่างๆ หรือกากถั่วเหลือง เศษเนื้อ ปลา ผักสด
และเศษผัก ใบกระถิน
เปลือกหอย เป็นต้น ปลาสด หอยสด ที่หาได้ง่าย
ราคาถูก หรือปล่อยเป็ดหากินเองเป็นของดีสำหรับการเลี้ยงเป็ดในชนบทต่างๆ
ชายทะเล และหนองน้ำ นิสัยเป็ดชอบอาหารที่คลุกน้ำเปียกหมาดๆ
มากกว่าอาหารแห้ง
นอกจากอาหารก็ต้องการกรวดบ้าง
เพื่อช่วยบดอาหารหยาบในกึ๋น
วิธีเลี้ยงอย่างนี้ก็คงเหมาะสำหรับผู้เลี้ยงไก่แบบสวนครัว
จะได้ไข่และเนื้อเป็นอาหารบ้าง แต่ไม่หวังซื้อขายเป็นอาชีพ |

การเลี้ยงบนพื้นคอก |
๓.
เลี้ยงบนพื้นคอก ไม่ทำลานวิ่งภายนอก พื้นคอกจะเป็นดินแข็งทุบแน่น
พื้นฉาบปูนทราย หรือพื้นคอนกรีตก็ได้ มีวัสดุปูรองพื้น เช่น แกลบ ขี้กบ
ขี้เลื่อย ซังข้าวโพดจากการสีข้าวโพด
หรือฟางข้าวสับเป็นท่อนสั้นเพื่อช่วยซับมูลไก่
และระเหยความเปียกชื้นได้ดีกว่าพื้นเปล่าๆ
บางแบบก็อาจทำเป็นพื้นไม้ระแนงแทนพื้นทึบ เพื่อระบายมูลไก่
และความเปียกชื้นลงใต้ถุน หรือลงในบ่อเลี้ยงปลาดุก ปลาสวายก็ได้
ถ้าใช้เลี้ยงไก่กระทงก็ไม่ต้องจัดทำคอนนอน
ถ้าใช้เลี้ยงไก่ใหญ่ก็ควรทำคอนนอน และรังไข่ให้ด้วย
นิยมทำรังแบบที่ไข่สามารถไหลออก พ้นระยะที่ไก่ตัวอื่นจะจิกกินได้
ซึ่งจะทำให้เก็บได้ง่าย
รางน้ำรางอาหารตั้งไว้ในคอก นิยมใช้แบบเติมอาหารเองในตัว
หรือแบบอัตโนมัติก็มีใช้มาก เพราะประหยัดแรงงาน
และลดการเสี่ยงกับผลเสียเมื่อไก่ขาดอาหาร |
การเลี้ยงไก่วิธีนี้ก็ต้องให้อาหารครบถ้วนตามความต้องการทุกอย่าง
และไม่มีโอกาสที่จะค่อยๆ เติมให้ทีละอย่าง
จึงนิยมใช้อาหารผสมที่มีครบทั้งแป้ง โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และยา
หรืออาจทำอาหารผสมนี้เป็นแบบอัดแน่น ป็นเม็ด
เพื่อสะดวกแก่การขนส่ง
และการใช้รางอาหารแบบเติมเอง หรือแบบอัตโนมัติด้วย |