สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 6
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๖ / ปริมาตร / สำหรับเด็กระดับเล็ก
สำหรับเด็กระดับเล็ก
ฟังเสียงอ่าน =>
การบอกจำนวนสิ่งของต่างๆ
เรานับเป็นจำนวน ชิ้น อัน ตัว เม็ด ฯลฯ แต่ถ้ามีเป็นจำนวนมากๆ เช่น
เมล็ดข้าว ถั่ว เราใช้วิธีตวงใส่ในภาชนะ เช่น ชาม กระบุง ถัง
มาตราตวงข้าวเปลือกของไทยเราในสมัยโบราณใช้ทะนานซึ่งทำจากกะลามะพร้าว เป็นหน่วยเริ่มต้นคือ 25 ทะนาน เป็น 1 สัด และ 40 สัด
เป็น 1 บั้น ในปัจจุบันคิด 20 ทะนาน เป็น 1 ถัง 50 ถัง เป็น 1 บั้น
ดังนั้น เมื่อคิดถึงบั้นแล้ว ก็จะได้ความจุ 1,000 ทะนานเท่ากัน ข้าว 2
บั้นเท่ากับข้าว 1เกวียน ฉะนั้นข้าว 1 เกวียนจึงมี 100 ถัง
มาตราสากลที่นิยมใช้ในการตวงอย่างหนึ่งคือ ลิตร
เมื่อเทียบกับมาตราไทย 1 ลิตร เท่ากับ 1 ทะนาน ดังนั้น 1 ถัง เท่ากับ 20
ลิตร ความจุ 1 ลิตร เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร หรือ 1,000
ลูกบาศก์เซนติเมตร (ซีซี) ภาชนะที่มีความจุ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จะมีความจุเท่ากับถังรูปลูกบาศก์ ซึ่งมีความกว้าง ความยาว และความสูงด้านละ
1 เซนติเมตร หรือจะกล่าวว่า ถังรูปลูกบาศก์นี้ มีปริมาตร 1
ลูกบาศก์เซนติเมตร แม้ว่าลูกบาศก์นั้นเป็นรูปทรงตันก็จะกล่าวว่า
ปริมาตรของลูกบาศก์นั้นเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่นเดียวกัน |
| เมื่อกล่าวว่า กล่องสี่เหลี่ยมลูกบาศก์มีปริมาตร
1 ลูกบาศก์เมตร นั่นคือ ขนาดของกล่องนั้นมีความกว้าง ความยาว
ความสูงด้านละ 1 เมตร และปริมาตรของรูปกล่องสี่เหลี่ยมใดๆ
ซึ่งมีความสูงตั้งฉากกับฐาน เท่ากับพื้นที่ฐาน x สูง เช่น กล่องสี่เหลี่ยม
กว้าง 2 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว มีปริมาตรเป็น (2 x 3) x 4
ลูกบาศก์นิ้ว หรือเท่ากับ 24 ลูกบาศก์นิ้ว |
|