สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 6
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๖ / สถิติ / บทนำ
บทนำ
ประโยชน์ของสถิติมิใช่เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจ
และกำหนดนโยบายต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะเห็นว่า
สถิติเป็นเครื่องมือที่ทรงคุณประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการประเมินผลงานโครงการต่างๆ
ที่จัดทำไปแล้ว ว่าได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้เพียงไร
สมควรที่จะต้องปรับปรุง หรือแก้ไขโครงการนั้นๆ หรือไม่อย่างไรอีกด้วย |

ตาราง |
เนื่องจากสถิติมีขอบข่ายกว้างขวาง
ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ แทบทุกแขนงวิชาการ ดังนั้น นักบริหาร นักวิชาการ
หรือแม้แต่สามัญชนทั่วไป
จึงควรมีความรู้ทางสถิติตามสมควร หรือตามความจำเป็น กล่าวคือ
อย่างน้อยก็สามารถอ่านข้อมูลจากตาราง จากแผนภูมิ หรือจากแผนภาพต่างๆ
ให้เข้าใจได้ถูกต้อง
|
ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของข้อมูลสถิติก็คือ
มักประกอบด้วยข้อเท็จ
และข้อจริง เพราะสถิติหรือข้อมูลสถิติได้มาจากข้อมูล
หรือที่เรียกว่าข้อเท็จจริง จำนวนมาก อาจกล่าได้ว่า
ไม่มีข้อมูลชุดใดเลยที่มีแต่ข้อจริงล้วนๆ โดยปราศจากข้อเท็จ
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะกรรมวิธีต่างๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีโอกาสที่จะ
ทำให้ข้อเท็จเกิดขึ้นได้มาก ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา เช่น
พ่อค้ามักแจ้งยอดรายได้จากการประกอบธุรกิจต่ำกว่าความเป็นจริง
เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีจำนวนมากๆ
ชาวนาไม่ทราบเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตที่ถูกต้อง
ผู้ตอบสัมภาษณ์ให้ข้อมูลผิดพลาด เนื่องจากเข้าใจคำถามไม่ถูกต้อง
อนึ่ง ผู้ทำการสัมภาษณ์เอง ก็อาจบันทึกตัวเลขผิดพลาดโดยมิได้เจตนา เป็นต้น
ข้อมูลบางอย่างอาจเป็นเท็จได้
โดยที่ไม่มีทางที่จะทราบตัวเลขที่แท้จริงได้เลย เช่น ชาวนาคน
หนึ่งแจ้งว่าผลผลิตข้าวปีที่แล้วได้ ๔ เกวียน ซึ่งตามความเป็นจริง
ปริมาณข้าวที่ชาวนาคนนี้ผลิตได้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่านี้เล็กน้อยก็ได้
|
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบและยอมรับกันว่า
สถิติที่เชื่อถือได้นั้นจะช่วย ให้การตัดสินใจ
หรือการวางแผนดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประ- สิทธิภาพ
ดังนั้น นักสถิติที่ดีจึงพยายามทุกวิถีทาง
ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้ได้ข้อจริงมากที่สุด
ทั้งนี้ เพื่อให้สถิติที่จะประมวลได้จากข้อมูลเหล่านี้ เป็นสถิติที่เชื่อถือได้มากที่สุด
|

แผนภูมิ |
|