หลักเกณฑ์ในการนำรูปแบบต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นลวดลาย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 6
เล่มที่ ๖
เรื่องที่ ๑ คณิตศาสตร์เบื้องต้น
เรื่องที่ ๒ ประวัติ และพัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน
เรื่องที่ ๓ เซต
เรื่องที่ ๔ ตรรกวิทยา
เรื่องที่ ๕ ฟังก์ชัน
เรื่องที่ ๖ สมการ และอสมการ
เรื่องที่ ๗ จุด เส้น และผิวโค้ง
เรื่องที่ ๘ ระยะทาง
เรื่องที่ ๙ พื้นที่
เรื่องที่ ๑๐ ปริมาตร
เรื่องที่ ๑๑ สถิติ
เรื่องที่ ๑๒ ความน่าจะเป็น
เรื่องที่ ๑๓ เมตริก
เรื่องที่ ๑๔ กราฟ
เรื่องที่ ๑๕ คณิตศาสตร์ ธรรมชาติ และศิลปะ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๖ / คณิตศาสตร์ ธรรมชาติและศิลปะ / หลักเกณฑ์ในการนำรูปแบบต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นลวดลาย

 หลักเกณฑ์ในการนำรูปแบบต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นลวดลาย
หลักเกณฑ์ในการนำรูปแบบต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นลวดลาย

เราพอจะพิจารณาได้ว่า มุมรอบจุดๆ หนึ่ง ที่เป็นจุดยอดของรูปเหลี่ยมใดๆ ย่อมมีขนาด ๓๖๐ องศา ดังนั้น การที่จะวางรูปให้ต่อกันสนิท ขนาดของมุมของรูปเหล่านั้นจะต้องรวมกันเป็น ๓๖๐ องศาเสมอ
ถ้านำรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามาต่อกันก็จะต้องใช้สามเหลี่ยมหกรูป ให้มุมทั้งหกจดกัน จุดยอดมุดร่วมกัน แขนของมุมชิดกันก็จะได้พื้นที่เต็มบริบูรณ์
ถ้านำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาต่อกันก็จะต้องใช้สี่รูป
ถ้านำรูปหกเหลี่ยมมาต่อกันก็จะต้องใช้สามรูป
การนำรูปชนิดต่างกันมาวางเรียงกัน
รูปแปดเหลี่ยมสองรูป กับรูปสี่เหลี่ยมหนึ่งรูป เป็นลวดลายบนฝาผนัง หรือผืนผ้า

รูปหกเหลี่ยมหนึ่งรูปกับรูปสามเหลี่ยมหนึ่งรูปและรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสองรูปเป็นลายกระจกสีประดับรอบเสาโบสถ์
รูปสามเหลี่ยมสามรูป กับรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสองรูป เป็นลายกระเบื้องสี ประดับรอบฐานพระเจดีย์
รูปหกเหลี่ยมสองรูปกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปประดิษฐ์เป็นลายพรม
ตัวอย่าง ลวดลายที่เกิดจากรูปเรขาคณิต การนำรูปสามเหลี่ยมมาเรียงกัน
การนำรูปสี่เหลี่ยมมาเรียงกัน
การนำวงกลมมาประดิษฐ์ลวดลายการนำวงกลมมาประดิษฐ์ลวดลาย
การลากเส้นต่อจุดแบ่ง บนเส้นรอบวง ๒๔ จุด การลากเส้นตรงต่อจุดแบ่งบนเส้นรอบวง ๒๔ จุด
หัวข้อก่อนหน้า