ถ้าหมุนรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
รอบด้านที่ตั้งฉากด้านหนึ่งรูปที่ได้จะเป็น รูปกรวยมีฐานเป็นวงกลม
ด้านที่อยู่กับที่เรียกว่าแกนของรูปกรวย จุดยอดหรือ ยอดกรวยจะอยู่บนแกนนี้
โดยทั่วไปแล้วแกนหมุนไม่จำเป็นต้องตั้งฉากกับฐาน
ความหมายทางคณิตศาสตร์ของรูปกรวยก็คือ รูปที่ได้จากการเคลื่อนเส้นตรงให้
ปลายหนึ่งสัมผัสเส้นโค้งที่อยู่ในพื้นราบ และอีกปลายหนึ่งอยู่คงที่ที่จุดๆ
หนึ่ง นอกระนาบของเส้นโค้งนั้น
|
 |
เส้นตรงสองเส้นที่ตัดกัน ให้เส้นหนึ่งอยู่คงที่ และหมุนอีกเส้นหนึ่งรอบ
เส้นที่อยู่คงที่ โดยให้มุมระหว่างเส้นตรงทั้งสองคงที่อยู่ตลอดเวลา
รูปที่ได้จะเป็นรูปกรวยมีปลายสองทาง
และมีจุดยอดรวมกันตรงจุดตัดของเส้นตรงทั้งสอง เมื่อใช้ระนาบตัดกรวยแบบนี้
จะได้รอยตัดเป็นวงกลม วงรี พาราโบลา ไฮเพอร์โบลา
หรือเส้นตรงคู่ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น
เมื่อหมุนวงกลมรอบเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นหนึ่งจะได้รูปทรงกลม
แต่ถ้าหมุนวงกลมรอบเส้นตรงเส้นหนึ่งที่อยู่นอกวงกลม
แต่ยังคงอยู่ในระนาบเดียวกันกับวงกลมนั้น
ก็จะได้รูปทรงเป็นแบบยางในของรถยนต์ หรือห่วงพวงชูชีพ
รูปทรงที่ได้จากการหมุนรูปวงรีรอบแกนยาว จะมีลักษณะคล้ายผลแตง
ไทยหรือลูกรักบี้ (rugby) นักคณิตศาสตร์เรียกผิวโค้งรูปทรงนี้ว่า รูป อิลลิปซอยด์
(ellipsoid) ถ้าหากว่า หมุนรูปวงรีรอบแกนสั้นบ้าง จะได้รูป มีลักษณะอย่างไร ?
|
 รูปอิลลิปซอยด์ |
ไฮเพอร์โบลามีสองส่วนไม่ติดต่อกัน ฉะนั้นเมื่อหมุนไฮเพอร์โบลารอบ
เส้นตรงที่ตั้งได้ฉากกับแกนของรูป ที่จุดกึ่งกลางของแกน
และในระนาบเดียวกับ ไฮเพอร์โบลา ผิวโค้งที่ได้จะมีเพียงชิ้นเดียวเรียกว่า รูปไฮเพอร์โบลอยด์ชนิดชิ้นเดียว (Hyperboloid of one sheet)
มีลักษณะคอดตรงกลางและผายออกไปไม่สิ้น สุดทั้งสองปลาย
นักออกแบบเครื่องประดับบ้านมักจะออกแบบเก้าอี้นั่งเล่นให้มี
รูปร่างอย่างนี้ นอกจากนี้ เราอาจจะเห็นแจกัน และถ้วยแก้วบางชนิด ก็มีรูปทรง
เช่นนี้ด้วย
|
 ผิวโค้งไฮเพอร์โบลอยด์ชนิดสองชิ้น |
ถ้าเปลี่ยนแกนหมุนโดยเอาแกนของไฮเพอร์โบลาเป็นแกนหมุน รูปที่ได้
จะเป็นรูปคล้ายโคมไฟฉายสองโคมหันหลังให้กันและกัน
เราเรียกผิวโค้งเช่นนี้ว่า ไฮเพอร์โบลอยด์ชนิดสองชิ้น
(Hyperboliod of two sheets)
|