
หนอนไหมกำลังออกจากไข่ |
ตัวหนอนไหมเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าอากาศร้อน (๓๐
องศาเซลเซียส)
ก็ยิ่งโตเร็ว ถ้าอากาศหนาวเย็น หรือร้อนเกินไปจะโตช้า และไม่แข็งแรง
เมื่อมีอายุ ๓-๔ วัน หนอนไหมจะหยุดกินอาหารอยู่เฉยๆ ประมาณ ๑
วันจึงลอกคราบใหม่ ระยะนี้เรียกว่า "ไหมนอน"
เมื่อลอกคราบหมดแล้ว ก็จะเริ่มกินอาหารต่อไป ตัวและหัวใหญ่ขึ้น
ระยะนี้เรียกว่า "ไหมตื่น"
โดยทั่วๆ ไป หนอนไหมจะนอน (ลอกคราบ) ๔ ครั้ง
ก็จะขึ้นวัย ๕ กินอาหารจุจนอายุได้ ๗-๘ วัน ก็จะเริ่มหยุดกินอาหาร
ลำตัวมีสีขาวหรือเหลืองใสหดสั้นลง ซึ่งเป็นระยะที่หนอนเติบโตเต็มที่แล้ว
เรียกว่า "ไหมสุก"
เริ่มพ่นใยออกมาจากปาก
เพื่อทำรังถ้าพบอาการเช่นนี้ควรเก็บไหมใส่ในจ่อ
เพื่อให้ไหมทำรังต่อไป หนอนไหมจะเสียเวลาในการชักใยทำรังอยู่ ๒ วัน
ก็จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นดักแด้ และเมื่ออยู่ในรังได้ครบ ๑๐ วัน
ก็จะเจาะรังออกมาเป็นผีเสื้อ
ไหมที่จะใช้ทำพันธุ์จะต้องคัดรังที่ดีสมบูรณ์ขนาดใหญ่ไว้ต่างหาก
ที่เหลือก็นำไปสาว หรือขายให้โรงงานสาวไหมต่อไป
รังที่ผีเสื้อไหมเจาะออกแล้ว เส้นใยจะขาดใช้สาวเป็นเส้นไม่ได้ |
ผีเสื้อไหมบินไม่ได้
เพราะปีกเล็กไม่สมกับลำตัวที่ใหญ่จะไม่กินอาหารเลย
ตัวผู้มีหน้าที่ผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียเมื่อได้ผสมพันธุ์แล้ว ก็จะวางไข่
แล้วก็ตายไป เมื่ออายุได้ประมาณ ๒-๓ วัน |

ชีพจักรของไหม |
หนอนไหม
หนอนไหมแต่ละตัว เมื่อโตเต็มที่แล้ว
ก็จะขับของเหลวชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยสารที่โปร่งแสง
ไม่มีสี ๒ ชนิดด้วยกัน จากต่อมไหม ออกมาทางต่อมน้ำลาย ๒
ต่อม ที่อยู่คนละด้านขนานกันทางส่วนหัวของหนอนไหม
ต่อมน้ำลายแต่ละต่อมมีชื่อเฉพาะคือ "aqueduct"
หรือ "collector"
ต่อมหนึ่งและ "spining"
อีกต่อมหนึ่ง สำหรับต่อม aqueduct
นั้นใหญ่กว่าต่อม spinning เมื่อหนอนจะชักใยมันจะขับสาของเหลวจากถุงในต่อม
aqueduct ออกทาง spinning head หรือ spinneret ซึ่งเป็นช่องเล็กๆ
ผ่านออกสู่ภายนอกที่ช่องใช้ขากรรไกร
ของเหลวดังกล่าว เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัวทันทีกลายเป็นสายใย ซึ่งเรียกว่า
"สายไหม"
เป็นที่น่าสังเกตว่า
เส้นไหมที่ได้นั้นประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ
สองเส้นรวมกันเรียกว่า bave ซึ่งแต่ละเส้นเรียกว่า brin
สามารถแยกออกจากกันได้ ในรังไหมแต่ละรังขนาดของสายไหมก็แตกต่างกันไป
กล่าวคือ ชั้นนอกสุดของรัง เส้นไหมละเอียดกว่าชั้นกลาง ซึ่งค่อนข้างหยาบ
แต่ชั้นในสุดกลับละเอียดยิ่งกว่าชั้นนอกเสียอีก
เส้นไหมที่ได้จากไหมที่เลี้ยงในประเทศจีน
ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นไหมชั้นนอกวัดได้ประมาณ ๐.๐๐๐๕๒ นิ้ว
ส่วนชั้นในสุดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๐๐๐๑๗ นิ้ว แต่กระนั้นก็ดี
เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่นๆ เส้นไหมก็ยังมีขนาดใหญ่กว่า
สำหรับน้ำหนักก็เช่นกัน
ใยไหมหนักกว่าใยของโลหะ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันเสียด้วย
หนอนไหมแต่ละตัวชักใยได้ยาวไม่เท่ากัน
มันสามารถชักใยที่สาวออกแล้วได้ยาวตั้งแต่
๓๕๐ เมตร ถึง ๑,๒๐๐ เมตร ซึ่งแล้วแต่พันธุ์ไหม |

การเตรียมอาหารให้หนอนไหม |
หลักปฏิบัติที่สำคัญในการเลี้ยงไหม
๑.
หมั่นรักษาความสะอาดในห้องเลี้ยงไหม และอุปกรณ์
เพราะไหมเป็นสัตว์ที่สะอาดมาก
๒.
ห้ามสูบบุหรี่ในห้องเลี้ยงไหมโดยเด็ดขาด
๓.
ไม่เผาสิ่งปฏิกูลหรือเศษขยะในบริเวณใกล้เคียงห้องเลี้ยงไหม
ขณะที่มีไหมอยู่ในห้อง เพราะไหมไม่ชอบควันไฟหรือกลิ่นเหม็น
๔. ใบหม่อนต้องมีคุณภาพดี สะอาด และมีปริมาณเพียงพอ
๕. ให้อาหารตรงตามวัยของไหม
หนอนไหมยิ่งโตก็ให้ใบหม่อนที่แก่ขึ้น
๖. ไม่ควรเลี้ยงไหมแน่นจนเกินไป เนื้อที่ ๘๕ x ๑๐๐
เซนติเมตร ควรเลี้ยงไหมวัยแก่ประมาณ ๕๐๐ ตัว
๗.
ถ่ายมูลหรือกากใบหม่อน ที่ตกค้างทับถมในกระด้งเลี้ยง อย่างน้อยวันละ ๑
ครั้ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่ไหมจะเข้านอนทุกครั้ง
๘. เมื่อไหมนอนควรเปิดหน้าต่างให้ลมโกรก อากาศแห้ง
ไหมจะลอกคราบง่าย และไม่ควรให้ตัวไหมได้รับการกระทบกระเทือน
๙. อย่าให้อาหารขณะที่ไหมนอน
๑๐. อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงแล้วและยังไม่ใช้
ควรแยกไว้ต่างหาก ที่ใช้แล้วควรนำออกมาล้างแล้วผึ่งแดดเป็นระยะๆ
แล้วจึงค่อยนำเข้าไปใช้ใหม่
๑๑. ควรเลี้ยงไหมเป็นรุ่นๆ
เพื่อให้คนเลี้ยงมีเวลาพัก และทำความสะอาดโรงเลี้ยง และอุปกรณ์ ซึ่งได้แก่
กล้องจุลทรรศน์ และน้ำยาเคมีต่างๆ เป็นต้น
๑๒. ไม่ควรผลิตไข่ไหมเอง
เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง ในการตรวจโรคแพบริน (pebrin)
๑๓. ห้ามนำสารเคมีฆ่าแมลง
และสารมีกลิ่น เข้าห้องเลี้ยงไหมโดยเด็ดขาด
|

การให้อาหารหนอนไหม |
วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน
และวัยแก่
วัยอ่อน
ไหมวัยอ่อน หมายถึง หนอนไหมนับตั้งแต่ออกจากไข่จน ถึงวันที่ ๓
การเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อนนิยมเลี้ยงเป็นชั้น โดยใส่กล่องหรือกระด้ง
ที่ทำด้วยตะแกรงเหล็กอาบพลาสติก หรือ อะลูมิเนียม นำใบหม่อนที่หั่นแล้ว
มาโรยให้หนอนไหมกินเป็นเวลา เช่นเดียวกับหนอนไหมวัยแก่
แต่ต้องหมั่นเกลี่ยหนอนให้กระจายสม่ำเสมอ ก่อนให้อาหาร
มิฉะนั้นจะทำให้หนอนเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ควรรักษาความชื้น
และอุณหภูมิให้สูงกว่าไหมวัยแก่ ในประเทศญี่ปุ่น
นิยมเลี้ยงหนอนไหมในห้องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น
เพราะจะทำให้หนอนไหมแข็งแรง และเติบโต สม่ำเสมอดีมาก
ได้ผลคุ้มกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม
|
วัยแก่
หมายถึง หนอนไหมวัย ๔-๕ (อายุประมาณ ๑๒-๑๓ วัน)
ซึ่งเป็นไหมที่โตแล้ว
การเลี้ยงดูง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำง่ายเหมือนไหมวัยอ่อน เลี้ยงได้ ๓
วิธีด้วยกัน คือ
๑. เลี้ยงเป็นกระด้ง วางบนชั้น ให้อาหารเป็นใบๆ ถ้าเลี้ยงมากๆ
เสียเวลาในการให้อาหารมาก
๒. เลี้ยงเป็นโต๊ะ (๑.๒๐ x ๒.๕๐ เมตร)
ให้อาหารเป็นกิ่งหม่อนทั้งกิ่งเลี้ยงได้รวดเร็ว
แต่ต้องมีสวนหม่อนที่ดีมีปริมาณใบเพียงพอ
๓. เลี้ยงเป็นชั้นเลื่อน ขนาดของชั้นพอๆ กับโต๊ะและสามารถเลื่อนขึ้นลงได้
ซึ่งจะทำให้ใช้เนื้อที่ได้ประโยชน์เต็มที่
เพราะในเนื้อที่เท่ากันจะเลี้ยงไหมได้มากกว่าแบบโต๊ะ
ในการเลี้ยงเป็นจำนวนมากๆ มักนิยมแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓
ลักษณะไหมนอน
"ไหมนอน"
หมายถึง หนอนไหมที่จะลอกคราบ เพื่อเปลี่ยนวัยเจริญเติบโตขึ้น
ปกติจะใช้เวลาประมาณ ๒๔ ชั่วโมงไหมนอนมีลักษณะดังนี้
๑. หนอนไหมจะหยุดกินอาหาร ยกหัวขึ้น
๒. จะมีรอยสามเหลี่ยมเกิดขึ้นด้านบน ระหว่างรอยต่อตัวกับส่วนอก
๓. มักจะหลบหนีแสงอยู่ในที่มืดกว่าหนอนไหมที่ยังไม่นอน
๔. หัวกะโหลกสีคล้ำและยื่นออกไปเล็กน้อย
๕. เมื่อลอกคราบแล้ว (ไหมตื่น) จะมีลักษณะตรงกันข้าม
ลักษณะไหมสุก
"ไหมสุก"
หมายถึง หนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ และเริ่มจะชักใยทำรัง
ไหมสุกมีลักษณะดังนี้
๑. เริ่มหยุดกินอาหารและไต่ขึ้นบนหรือออกนอกกลุ่ม
๒. ผนังลำตัวเริ่มบางใส
๓. มูลที่ถ่ายออกมาจะมีสีน้ำตาลมากกว่าสีเขียวคล้ำ
๔. ชูส่วนหัวส่ายไปมา และเคลื่อนไหวมาก
เมื่อพบหนอนดังกล่าวมักจะเป็นวัย ๕ วันที่ ๘ ก็ต้องเก็บหนอนไหมเล่านี้ใส่
"จ่อ"
(ที่ที่ให้หนอนไหมทำรัง) ต่อไป จ่อที่ทำด้วยกระดาษแข็งเป็นตาราง ๓ x
๕ เซนติเมตร แผงละ ๑๕๖ ช่อง (กว้าง ๑๒ ช่อง ยาว ๑๓ ช่อง) จะประกอบกันเป็น
๑
ชุด ชุดละ ๑๐ แผง แขวนในโครงไม้ สามารถหมุนได้รอบตัว หรือจะใช้จ่อลวดก็ได้
ไม่ควรใช้จ่อพื้นเมือง เพราะจะทำให้รังเสียมาก |

หนอนไหมที่โตเต็มที่ (ไหมสุก) |
โรค
แมลง
และศัตรูอื่นๆ ของไหม
โรค
โรคที่ทำลายตัวไหมมีหลายชนิด
ซึ่งเกิดจากเชื้อรา บัคเตรี ไวรัส และเชื้อโปรโตซัว โรคที่สำคัญๆ ได้แก่
โรคหัวส่อง
(Flasherie: Cytoplas mic Polyhedrosis Virus)
เกิดจากเชื้อไวรัส เมื่อหนอนไหมเป็นโรคจะเบื่ออาหารสำรอกน้ำย่อย
และถ่ายมูลติดกันเป็นสารคล้ายลูกประคำออกมา ส่วนอกด้านบนของหนอนจะใส
เมื่อส่องกับแสงจะโปร่งใส
เมื่อเป็นมากเชื้อไวรัสจะทำลายกระเพาะอาหาร
ทำให้เซลล์ที่กระเพาะแตกเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น
เมื่อผ่าดูจะเห็นได้ชัด ลักษณะภายนอกหนอนไหมจะมีอาการท้องเดิน
มูลมีสีขาวขุ่น สำรอกน้ำย่อยมากขึ้น เมื่อตายผนังลำตัวจะเหนียวไม่แตกง่าย
แต่อวัยวะภายในจะเน่าเละเป็นน้ำสีคล้ำๆ มักเป็นมากในวัยแก่ |

หนอนไหมที่ตายด้วยโรคต่างๆ |
โรคเพบริน
(Pebrin:
Nosema bombycis Nageli)
เกิดจากเชื้อโรคโปรโตซัว
หนอนไหมที่ติดเชื้อถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
เมื่อหนอนเป็นโรคมักไม่ค่อยลอกคราบ ตัวจะเริ่มเล็กลง เบื่ออาหาร
ในที่สุดก็จะตาย หนอนไหมวัยแก่ถ้าได้รับเชื้อโดยเข้าทางปากจะไม่ตาย
สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ จนเป็นผีเสื้อวางไข่ได้
แต่เป็นไข่มีเชื้อโรคเพบริน แฝงอยู่ เมื่อฟักออกมา
หนอนก็ติดเชื้อมาแต่กำเนิดมักจะตายภายใน ๔-๕ วัน
โรคตัวเหลือง
(Grassarie: Nuclear Polyhedrosis Virus)
เกิดจากเชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่ง
เมื่อหนอนไหมเป็นโรคแต่ละปล้องจะบวมเป่ง
ผนังลำตัวปริแตกง่าย เมื่อผนังแตก น้ำสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมจะทะลักออกมา
ไหมจะเบื่ออาหาร แต่ไต่ออกจากกลุ่มเดินไม่ค่อยตรงทาง ลำตัวคดไปมา
มักเป็นมากกับหนอนไหมวัยแก่
|