สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 7
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๗ / เรื่องที่ ๓ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม / การคัดรังไหม
การคัดรังไหม
การย้อมสีเส้นใยไหม
การผึ่งเส้นใยไหมภายหลังการย้อมสี
|
การคัดรังไหม
รังไหมที่เลี้ยงได้จะต้องเก็บออกจากจ่อในวันที่
๕ นับตั้งแต่ไหมเริ่มทำรัง แล้วนำมาคัดรังที่เสียออก
โดยเฉพาะเมื่อจะนำไปขายเป็นรังสด (รังที่ยังไม่ได้อบแห้ง
ดักแด้ยังมีชีวิตอยู่)
ลักษณะรังไหมที่ไม่ดี
ต้องคัดออกมีลักษณะดังนี้
๑. รังแฝด คือรังที่มีดักแด้อยู่ภายในมากกว่า ๑ ตัว รังจะใหญ่หนา
ผิวหยาบแข็ง
๒. รังที่ถูกเจาะ เช่น ถูกหนอน แมลงวันลาย หรือ มดเจาะ
๓. รังเปื้อน
๔. รังบาง เพราะไหมไม่แข็งแรงชักใยได้น้อย
๕. รังที่เสียรูปเสียร่าง
๖. รังที่มีลักษณะไม่ตรงตามพันธุ์
๗. รังที่มีเส้นใยนอก (ขี้ไหม) มากผิดปกติ
๘. รังที่มีเส้นใย ๒ ชั้น
รังไหมที่ดี
มีลักษณะดังนี้
๑. รังโตมีเส้นใยมาก
๒. สาวง่าย
๓. มีความย่นของผิวรังมาก
๔. เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง
๕. เส้นเล็กและเรียบ
รังไหมที่คัดแล้วจะนำไปขายให้โรงงานสาวไหม ซึ่งปัจจุบันรังไหมสดลูกผสมจีนกับญี่ปุ่นชั่วแรกกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท
รังไหมไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองนำไปเข้ากรรมวิธีสาวด้วยมือออกเป็นเส้นใยขายก็ได้
|
|