สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 7
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๗ / เรื่องที่ ๔ โรคพืช / อาการของโรคที่พบทั้งต้น
อาการของโรคที่พบทั้งต้น
อาการของโรคที่พบทั้งต้น
มีหลายลักษณะ เช่น
|
โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ |
อาการเหี่ยว
เริ่มแรกมักเห็นใบเหี่ยวลู่ลงก่อนแล้วค่อยๆ เหี่ยวทั้งต้น และตายในที่สุด
เมื่อพบอาการเหี่ยวควรพิจารณาถึงสาเหต ุเนื่องจากพืชขาดน้ำ
แต่ถ้าพืชแสดงอาการเหี่ยว ในบริเวณที่มีน้ำสมบูรณ์
แสดงว่าการทำงานของระบบรากไม่ปกติ อาจเกิดรากเสีย เช่น รากปม รากเป็นแผล
รากขาด เนื่องจากการทำลายของไส้เดือนฝอยหรือการเขตกรรม รากเน่า
จากการทำลายของเชื้อรา บัคเตรี หรือมีน้ำขัง
บางครั้งพบว่าระบบท่อน้ำภายในพืชถูกอุดตัน เนื่องจากสาเหตุบางประการ |
อาการแตกพุ่ม
บริเวณจุดเจริญ เช่น ตาดอก ตาใบมีการเจริญเติบโต
เป็นกิ่งก้าน
และใบมากกว่าปกติ แต่ใบและก้านที่แตกนี้ไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็ก
เป็นพุ่มกระจุกคล้ายไม้กวาด ในพืชบางชนิด กลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายใบ
และเกิดเป็นพุ่มสีเขียวแทนดอก ตัวอย่างที่พบ ได้แก่
การแตกพุ่มไม้กวาดของลำไย การแตกพุ่มไม้กวาดของถั่วฝักยาว
การแตกพุ่มของตะบอกเพชร การเกิดดอกพุ่มสีเขียวพิทูเนีย และพังพวย
สาเหตุเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา |
อาการแตกพุ่ม เปรียบเทียบกับอาการปกติของตะบองเพชรชนิดเดียวกัน |
อาการเน่าเละของกะหล่ำปลี เนื่องจากเชื้อบัคเตรี | อาการเน่าเละ
เนื้อเยื้อพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ
เกิดอาการเน่าเละ มีน้ำเมือก
มักมีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้กับส่วนต่างๆ ของพืชทั้งผล ราก หัว และใบ
มักเกิดกับพวกผัก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว ผักกาดหัว
และผลิตทางการเกษตรในโรงเก็บ สาเหตุเกิดจากเชื้อบัคเตรี |
อาการแคระแกร็นของข้าว ที่เป็นโรคจู๋ เกิดจากเชื้อไวรัส |
อาการแคระแกร็น
พืชเจริญเติบโตไม่เต็มที่
มีการชะงักการเจริญเติบโต ต้น กิ่งก้าน ใบ และผล มีขนาดเล็ก
บางครั้งพบลำต้น ข้อปล้อง กิ่งก้านสั้น และแข็งกระด้าง
มักมีอาการใบเปลี่ยนสี และหงิกงอรวมอยู่ด้วย
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส |
|