 เครื่องชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติ แบบทีละขั้นๆ |
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ได้ดำเนินงานจัดตั้งชุมสายโทรศัพท์ธนบุรี
ต่อจากที่กรมไปรษณีย์โทรเลขทำค้างไว้จนเสร็จ
และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์พหลโยธิน (เปิดใช้งาน พ.ศ. ๒๕๐๕)
ชุมสายโทรศัพท์ชัยพฤกษ์ (เปิดใช้งานปลาย พ.ศ. ๒๕๐๖)
ชุมสายโทรศัพท์กรุงเกษม (เปิดใช้งานปลาย พ.ศ. ๒๕๐๗)
|
ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ได้รับโอนงานโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกองช่างโทรเลข
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำนวน ๑๐ ชุมสาย ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับโอนอีก ๓๗
ชุมสายเป็นงวดสุดท้าย |
 ห้องควบคุมชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ |
พ.ศ. ๒๕๐๕
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้ติดตั้งชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติ
ระบบครอสส์บาร์ (crossbar) ซึ่งเป็นระบบใหม่สำหรับประเทศไทย
ที่จังหวัดยะลา เป็นแห่งแรก จังหวัดชลบุรี เป็นแห่งที่ ๒
และที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นแห่งที่ ๓
ส่วนในเขตนครหลวงได้ติดตั้ง ที่ชุมสายโทรศัพท์ชัยพฤกษ์เป็นแห่งแรก
|
 ชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศของการสื่อสารแห่งประเทศไทย |
ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ได้รับโอนงานโทรศัพท์ทางไกลในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันออก ซึ่งใช้สายเคเบิลร่วมแกน (co-axial cable)
และระบบถ่ายทอดวิทยุด้วยความถี่สูง ยิ่งยวด (super high frequency)
หรือที่เรียกกันว่า ไมโครเวฟ) จากสำนักงานดำเนินการตามโครงการโทรคมนาคม
กระทรวงคมนาคม และใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับโอนงานโทรศัพท์ทางไกล ในภาคเหนือ
และภาคใต้จาก สำนักงานดำเนินการตามโครงการโทรคมนาคมอีกเช่นกัน |

จานสายอากาศวิทยุไมโครเวฟ เพื่อถ่ายทอดโทรศัพท์ทางไกล |
ปัจจุบัน ประชาชนสามารถพูดติดต่อถึงกันได้ทั่วประเทศไทยด้วยโทรศัพท์อัตโนมัติ คือ หมุนหมายเลขโทรศัพท์ ถึงกันได้เอง
ยิ่งกว่านั้น ยังสามารถหมุนหมายเลขโทรศัพท์
ผ่านดาวเทียมโทรคมนาคมไปต่างประเทศได้อีกด้วย |