สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 8
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๖ เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย / สำหรับเด็กระดับกลาง (๑๒ - ๑๔ ปี)
สำหรับเด็กระดับกลาง (๑๒ - ๑๔ ปี)
เลือดเป็นส่วนของร่างกายในระบบไหลเวียนเลือด
มีหน้าที่ลำเลียงอาหารน้ำ
ออกซิเจน และสารอื่นๆ ไปยังอวัยวะต่างๆ
ของร่างกาย นอกจากนั้นยังลำเลียงของเสีย
เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มายังปอด
เพื่อขับออกจากร่างกายอีกด้วย
|
ส่วนประกอบของเลือดได้แก่เซลล์สามชนิด
คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
และเกล็ดเลือด
เซลล์สามชนิดนี้ลอยอยู่ในส่วนน้ำของเลือดมีชื่อว่า
พลาสมา เม็ดเลือดแดง มีสีแดง เป็นตัวพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย แล้วรับของเสีย
คือ คาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอด
เม็ดเลือดขาว ไม่มีสี
มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อต้าน
และทำลายเชื้อโรค ซึ่งเข้ามาอยู่ภายในร่างกาย
ส่วนเกล็ดเลือดมีหน้าที่ทำให้เลือดเป็นก้อนแข็ง
ซึ่งจะทำให้เลือดหยุดไหล
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
|

ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย |
เม็ดเลือดแดง
ร่างกายของเรามีเม็ดเลือดแดงอยู่เป็นจำนวนมาก
กล่าวคือ ในร่างกายของคนที่เป็นผู้ใหญ่จะมีเม็ดเลือดแดงอยู่ถึง
๒๕ ล้านล้านเซลล์ เม็ดเลือดแดงมีอายุอยู่ในกระแสโลหิต
ได้นานประมาณ ๑๒๐ วัน หลังจากนั้น ก็จะถูกทำลายไปในตับและม้าม
เมื่อเม็ดเลือดแดงเก่าถูกทำลายไป
ไขกระดูกก็จะสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทนที่
|

หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย |
เม็ดเลือดแดงมีสีแดง
เพราะมีส่วนประกอบสำคัญคือ
เฮโมโกลบินสารนี้เป็นสารประกอบของโปรตีน
กับเหล็ก เฮโมโกลบินจะมีสีแดงสด
เมื่อมีออกซิเจนอยู่ด้วย แต่จะเปลี่ยนสีเป็นแดงแกมม่วง
เมื่อได้ปล่อยออกซิเจนให้แก่เซลล์ต่างๆ
ของร่างกาย แล้วรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อ
และอวัยวะ
ต่างๆ กลับไปยังปอด การที่เลือดในเส้นเลือดแดงมีสีแดงสด
แต่เลือดในเส้นเลือดดำมีสีแดงแกมม่วง
ก็เพราะเหตุดังกล่าวข้างต้น |
หน้าที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง
ได้แก่ การนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ
และอวัยวะต่างๆ แล้วนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอด
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง
แต่มีจำนวนน้อยกว่าถึง
ประมาณ ๕๐๐ เท่า เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด
คือ ลิมโฟไซท์ โมโนไซท์ อิโอซิโนฟิล
เบโซฟิล และนิวโตรฟิล
| 
เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ : ลิมโฟไซต์ นิวโตรฟิล อีโอซิโนฟิล โมโนไซต์
นิวโตรฟิล ลิมโฟไซต์ นิวโตฟิล เบโซฟิล | ลิมโฟไซท์
และ โมโนไซท์ เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะเห็นว่า มีนิวเคลียสเดียว
ถ้านำมาย้อมสีจะไม่ติดสีย้อม
ส่วนอีโอซิโนฟิล
เบโซฟิล และนิวโตรฟิล
มีนิวเคลียสแยกเป็นส่วน ถ้านำมาย้อมสีจะติดสีย้อม
หน้าที่สำคัญของเม็ดเลือดขาว
ก็คือ กำจัดบัคเตรี โดยเม็ดเลือดขาวจะเคลื่อนที่ออกจากกระแสโลหิตเข้าไปหาบัคเตรี แล้วกลืนกินเสีย |
เกล็ดเลือด
เกล็ดเลือดมีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือด
โดยจะรวมตัวเป็นก้อนแข็งอุดตรงบริเวณที่หลอดเลือดถูกตัด
หรือฉีกขาด ทำให้เลือดหยุดไหล
นอกจากนั้นยังสามารถจับเชื้อโรคขนาดเล็กมาก
เช่น ไวรัส ได้ด้วย เกล็ดเลือดจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งของเลือดที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
|

เกล็ดเลือด |
พลาสมา
พลาสมาคือ ส่วนน้ำของเลือด ร้อยละ ๙๐ เป็นน้ำ ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ โปรตีน
เกลือหลายชนิดและสารอื่นอีกหลายชนิด ที่จำเป็นสำหรับชีวิต |
หน้าที่สำคัญของโปรตีนในพลาสมา ก็คือ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพวกไวรัส
บัคเตรี และอื่นๆ
|  พลาสมา | เนื่องจากเลือดเป็นสิ่งที่เรายังไม่อาจผลิต
หรือสังเคราะห์ขึ้นได้ภายในโรงงาน
ดังนั้นการช่วยผู้บาดเจ็บที่ต้องเสียเลือดมาก ให้คงมีชีวิตอยู่ได้
จึงอาจทำได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือ
ใช้เลือดของบุคคลอื่นมาถ่ายให้แก่ผู้บาดเจ็บ การกระทำเช่นนี้ เราเรียกว่า
การให้เลือด |
 ผู้ป่วยกำลังรับการให้เลือด |
การให้เลือดอาจทำโดยตรง โดยเจาะถ่ายเลือดจากหลอดเลือดของคนหนึ่ง
ไปเพิ่มในหลอดเลือดของอีกคนหนึ่ง หรือใชเลือดที่แพทย์เจาะเก็บไว้ ไปเพิ่มให้แก่
ผู้ต้องการเลือดก็ได้ เลือดที่จะถ่ายให้แก่กัน ต้องเป็นเลือดชนิดเดียวกัน มิฉะนั้น
ผู้ได้รับเลือดจะเสียชีวิต
|
เลือดของคนเรา อาจแบ่งออกได้เป็น สี่ หมู่เลือดด้วยกัน คือ หมู่โอ หมู่เอ
หมู่บี และหมู่เอบี เลือดหมู่โอ อาจรวมกับเลือดหมู่ใดๆ ก็ได้ แต่ เลือดสามหมู่หลัง
ไม่รวมกับเลือดต่างหมู่กัน ถ้ารวม จะทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกสลาย และผู้ได้รับเลือดจะเสียชีวิต
แต่ก่อน การให้เลือดทำได้โดยตรงจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน แพทย์อาจเก็บเลือดไว้ได้ในธนาคารเลือดเป็นเวลานานถึงเดือนหรือ
หลายปี เลือดที่เก็บไว้นี้พร้อมที่จะใช้ เมื่อมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือต้องการเลือด
ประเทศไทยมีศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตั้งอยู่ในบริเวณสถานเสาวภา
กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่รับบริจาคเลือด เพื่อเก็บไว้ให้ผู้บาดเจ็บที่ต้องการเลือด
โดยไม่คิดมูลค่า |
|