การปฐมพยาบาล - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 8
เล่มที่ ๘
เรื่องที่ ๑ ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย
เรื่องที่ ๒ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
เรื่องที่ ๓ การกำเนิดของโรค
เรื่องที่ ๔ การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์
เรื่องที่ ๕ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยา
เรื่องที่ ๖ เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย
เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล / การปฐมพยาบาล

 การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล (first aid) หมายถึงการช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ หมดสติ เจ็บป่วยรุนแรงอย่างกะทันหัน ณ ที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น ก่อนที่แพทย์ จะมาถึง หรือก่อนนำส่งโรงพยาบาล

ภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการปฐมพยาบาล แบ่งออกได้ ๒ ประเภท คือ

๑. ภาวะที่คุกคามชีวิต ถ้าปฐมพยาบาลถูกต้องก็ จะช่วยชีวิตได้ ถ้าทำผิดผู้ป่วยจะตาย ได้แก่ ภาวะฉุกเฉิน ๔ ประการคือ

ก. เลือดออกหรือตกเลือด
ข. ช็อก และเป็นลมหมดสติ
ค. หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น
ง. การได้รับสารพิษ

๒. ภาวะที่ไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ผู้ทำการปฐมพยาบาลสามารถผ่อนคลายความเจ็บปวดของผู้ป่วย และป้องกันมิให้การบาดเจ็บเพิ่มขึ้น เช่น บาดแผลและกระดูกหัก เป็นต้น
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป