สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 8
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล / เลือดออกหรือตกเลือด
เลือดออกหรือตกเลือด
เลือดออกหรือตกเลือด
ร่างกายมีเส้นเลือดอยู่
๓ ชนิด คือ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ
และเส้นเลือดฝอย ฉะนั้นเลือดออกได้
๓ ทาง คือ
๑. เลือดออกจากเส้นเลือดแดง
(arterial bleeding) เป็นเลือดที่ออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ของร่างกาย เลือดมักทะลักออกจากบาดแผลตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
ห้ามเลือดได้ยาก ไม่ค่อยหยุด
หรือไม่เกิดเป็นลิ่ม
เลือดมีสีแดงสด
๒. เลือดออกจากเส้นเลือดดำ
(venous bleeding) เป็นเลือดที่อวัยวะต่างๆ
ของร่ายกาย ให้ออกซิเจนแล้วไหลกลับสู่หัวใจ
มักไหลรินๆ จากบาดแผล มีสีแดงคล้ำ
๓. เลือดออกจากเส้นเลือดฝอย
(capillary bleeding) มักเกิดที่บาดแผลไม่รุนแรง
ตื้นๆ เป็นเส้นเลือดที่เชื่อมโยงเป็นตาข่าย
ระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ
เลือดไหลซึมออกช้าๆ ห้ามเลือดได้ง่าย
การตกเลือด แบ่งออกได้เป็น
๒ ประเภท คือ
๑. การตกเลือดภายนอก ได้แก่
บาดแผลที่เห็นได้ชัด
มีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง
๒. การตกเลือดภายใน ได้แก่
เลือดออกในอวัยวะหรือช่องว่างต่างๆ
ภายในร่างกาย โดยไม่ไหลออกมานอกผิวหนังทำให้สังเกตได้ยาก
และเป็นอันตรายได้เสมอ
อาการของการตกเลือด
เมื่อเลือดไหลออกมานอกเส้นเลือด
ทำให้ปริมาณของเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายลดลงความรุนแรงของอาการที่แสดงออกย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนเลือดที่เสียไป
อาการมีดังนี้
๑. หน้าซีดลงทุกที
สังเกตได้จากริมฝีปาก
เล็บ ลิ้น เปลือกตาด้านในผิวหนัง
และฝ่ามือซีด
๒. ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกหน้ามืด
เวียนศีรษะ เป็นลม หูอื้อ ตาลาย
๓. มีอาการช็อค คือ เหงื่อออก ตัวเย็นชื้น
๔. หัวใจเต้นเร็ว จับชีพจรได้เร็วและเบา
วิธีปฐมพยาบาล
๑. ให้ผู้ป่วยนอนราบ
เปิดเสื้อผ้าบริเวณที่เลือดออกให้เห็นชัด
๒. ปลอบให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง
ๆ อย่าได้ตกใจ
๓. คลายเครื่องแต่งกายให้หลวม
๔. ยกส่วนที่เลือดออกให้สูง
เช่น ถ้ามีบาดแผลที่แขนหรือขา
ก็ให้ยกแขนหรือขาขึ้นสูง
ทำให้เลือดไหลช้าลงอาจหยุดได้
๕. ทำการห้ามเลือดด้วยวิธีการที่จะกล่าวต่อไปแล้วแต่ความรุนแรงของบาดแผล
ใช้ได้เฉพาะการตกเลือดภายนอก
หากเป็นตกเลือดภายใน
ให้รักษาอาการช็อคก่อน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการ | |