สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 8
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล / ช็อก
ช็อก
ช็อก
ช็อกหรืออาการอันหมายถึง
สภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลียหมดแรง
จนทำให้ระบบการทำงานของหัวใจ
การหายใจและการไหลเวียนของโลหิตผิดจากภาวะปกติ
ผู้ป่วยมีอาการหน้าซีด
ผิวหนังซีด หายใจเร็วและตื้นชีพจรเบาและเร็ว
เหงื่อออกชุ่มทั่วตัว ผิวหนังเย็นและชื้น
รูม่านตาขยายกว้าง ผู้ป่วยมีความรู้สึกอ่อนเพลีย
กระหายน้ำ วิงเวียนหน้ามืด
คลื่นเหียน และในที่สุดจะหมดสติไป
วิธีปฐมพยาบาล
ให้ผู้ป่วยนอนหงาย
จัดศีรษะต่ำกว่าเท้าเล็กน้อย
อาจใช้สิ่งของหนุนเท้าทั้งสองข้าง
คลุมตัวให้รับความอบอุ่น
เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัวคือ
ผู้ที่มีการบาดเจ็บของศีรษะและสมองเป็นลมหน้าแดงจากความร้อนมากเกินไป
เช่น กรำแดดหรือถูกความร้อนมาก
ๆ หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณทรวงอก
ทำให้หายใจลำบาก
 |
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยอาการช็อก โดยหนุนส่วนขาหรือเท้าให้สูงกว่าศีรษะ ประมาณ ๑๒ นิ้ว ห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่ให้ร้อนเกินไป |
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้าหรือหมดสติไม่รู้สึกตัวควรให้นอนหงาย
แต่ให้ใบหน้าตะแคงหันไปข้างใดข้างหนึ่ง
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสำลักเอาเลือด
หรือเศษอาหาร น้ำมูกน้ำลายเข้าไปในหลอดลมหรือปอด
ระหว่างที่รอแพทย์หรือรอส่งโรงพยาบาล
ผู้ช่วยเหลืออาจทำการห้ามเลือด
หรือใส่เฝือกชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วย
แล้วแต่กรณี หากมีบาดแผลรุนแรงก็ทำการปฐมพยาบาลไปเท่า | |