สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 8
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล / บาดแผล
บาดแผล
บาดแผล
บาดแผล (Wounds) หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง
หรือเยื่อบุส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
รวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง
หรือเยื่อบุเหล่านี้
ผลของบาดแผลที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ
เลือดออก และติดเชื้อ
ประเภทของบาดแผล
บาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ
แบ่งออก
เป็น ๕ ชนิด คือ
๑. บาดแผลถลอก (abrasions)
เป็นบาดแผลจากการขีดข่วน
ขัดถู เสียดสี มักเป็นแผลตื้นๆ
มีเลือดออกจากเส้นเลือดฝอย
เช่น แผลจากหกล้ม ทำให้เกิดบาดแผลถลอกตามข้อศอก
และหัวเข่า
บาดแผลประเภทนี้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
เพราะมีสิ่งสกปรกเข้าไปในบาดแผลตั้งแต่ต้น
๒. บาดแผลตัด (incisions)
เป็นบาดแผลจากของมีคม
เช่น มีด ขอบโลหะ กระจก เศษแก้วตัดผ่านผิวหนังมักมีเลือดออกมาก
เพราะเส้นเลือดถูกตัดขาดบริเวณขอบแผลทั้งๆ
ที่เนื้อเยื่อโดยรอบมิได้ถูกกระทบกระเทือน
บาดแผลประเภทนี้ติดเชื้อโรคได้น้อยที่สุด
เพราะมีเลือดออกมาก
จึงชะล้างเอาสิ่งสกปรก
และเชื้อโรคออกมาด้วย
๓. บาดแผลฉีกขาด
(lacerations)
เป็นบาดแผลที่เกิดจากสะเก็ดระเบิด
บาดแผลฉีดขาดจากอุบัติเหตุเครื่องยนต์มักมีฝุ่นผงน้ำมัน
หรือสิ่งสกปรกเจือปน เส้นเลือดบริเวณบาดแผลมักถูกหนีบ
จึงทำให้เลือดออกไม่มาก
แต่ติดเชื้อโรคได้ | 
บาดแผลเกิดจากกระสุนปืน |
๔. บาดแผลทะลุ หรือบาดแผลถูกแทง
(punctures or penetrating wounds)
เป็นบาดแผลที่เกิดจากถูกแทงด้วยของแหลม
หรือถูกกระสุนปืน มีทางเข้าเล็กๆ
แต่ลึก บางครั้งไม่ปรากฏเลือดออกมาจากภายนอก
แต่มีการบาดเจ็บรุนแรงของอวัยวะใต้ผิวหนังลงไป
ติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีเชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปในส่วนลึกของแผล
มีเลือดออกน้อย
|
๕. บาดแผลถูกบีบหรือบด
(crushed wounds)
มักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง
บาดแผลของผิวหนัง
และเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลายไปมาก
มักมีกระดูกหัก และบาดแผลฉีกขาดร่วมอยู่ด้วย
เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึกได้มาก
มีความเจ็บปวดและเลือดออกรุนแรง
หลักของการรักษาบาดแผล
๑. บาดแผลสด ให้ปฐมพยาบาลโดยห้ามเลือดรักษาอาการช็อค
และป้องกันการติดเชื้อด้วยการแต่งบาดแผลที่ถูกวิธีตามลำดับขั้นตอน
๒. บาดแผลเก่าที่ติดเชื้อโรคมาแล้ว
ให้ปฐมพยาบาลโดยบังคับให้ส่วนที่มีแผลอยู่นิ่ง
ยกให้สูง แล้วประคบด้วยผ้าชุบ
น้ำอุ่น
๓. บาดแผลใดที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
ถ้าเอาออกได้ ควรรีบเอาออกเสีย
วิธีปฏิบัติ
๑. บาดแผลที่มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย
ให้ใช้ยาแต่งแผลธรรมดา
เช่น ทายาแดงแล้วปิดด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด
อย่าลืมนำส่งแพทย์ เพื่อฉีดยาวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
หรือรักษาโรคอื่นๆ เพิ่มเติม
๒. บาดแผลที่มีเลือดออกมาก
ควรห้ามเลือดให้ดีก่อนแต่งบาดแผล
๓. หากมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในบาดแผล
เช่น เศษดินทราย น้ำมัน ดินระเบิด
หรือดินปืน ควรชะล้างด้วยน้ำสะอาดให้ออกมามากที่สุด
แล้วปิดแผลไว้ หากมีกระดูกแทงทะลุออกมา
ควรห้ามเลือดเสียก่อนแล้วจึงปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่สะอาดก่อนเข้าเฝือกชั่วคราว
๔. บาดแผลบริเวณทรวงอกที่มีทางติดต่อเข้าไปในช่องปอด
ให้ใช้ผ้าหนาๆ ปิดทับลงบน | |