สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 8
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล / กระดูกหัก
กระดูกหัก
กระดูกหัก
กระดูกหัก (fracture) หมายความถึง กระดูกแยกออกจากกันก่อให้เกิดความเจ็บปวด
บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ
เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน
หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว
กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้
ประเภทของกระดูกหัก
๑. กระดูกหักแบบสามัญ
(simple fracture) หมายถึง กระดูกหักแล้วไม่ปรากฏแผลให้เห็นบนผิวหนัง
๒. กระดูกหักแผลปิด
(compound fracture) หมายถึง กระดูกที่หักทิ่มแทงผิวหนังออกมาภายนอก
๓. กระดูกหักแตกย่อย
(comminuted fracture) หมายถึง ชิ้นส่วนของกระดูกที่หักปรากฏออกมามากกว่า
๒ ชิ้นขึ้นไป
 | ๑. กระดูกหักแบบสามัญ ๒. กระดูกหักแบบแผลเปิด ๓. กระดูกหักแบบแตกย่อย |
อาการของกระดูกหัก
๑. มีความเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกหัก
๒. มีอาการบวมรอบๆ
บริเวณที่กระดูกหัก
๓. รูปร่างของแขนขาหรือหัวไหล่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากรูปร่างปกติ
๔. บริเวณนั้นเคลื่อนไหวไม่ได้
หรือเคลื่อนไหวแล้วจะเจ็บปวดมาก
๕. อาจได้ยินเสียงกระดูกหักเมื่อประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ
๖. หากกดเบาๆ ลงบนกระดูกบริเวณที่หัก
อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
วิธีปฏิบัติ
การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุด
คือ ให้ผู้ป่วยนอนอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น
เพราะหากทำผิดวิธีอาจบาดเจ็บมากขึ้น
ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกให้ห้ามเลือดไว้ก่อน
หากมีอาการช็อคให้รักษาช็อคไปก่อน
ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เข้าเฝือกชั่วคราว
ณ ที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ถ้าบาดแผลเปิด
ให้ห้ามเลือดและปิดแผลไว้ชั่วคราวก่อนเข้าเฝือก
สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ กระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกต้นคอหัก
ถ้าเคลื่อนย้ายผิดวิธี อาจทำให้ผู้ป่วยพิการตลอดชีวิต
หรือถึงแก่ชีวิตได้ทันทีขณะเคลื่อนย้าย
การเข้าเฝือกชั่วคราว
เป็นวิธีการบังคับให้กระดูกส่วนที่หักได้อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว
เพื่อลดความเจ็บปวด และป้องกันมิให้เกิดความพิการเพิ่มขึ้น
มีหลักอยู่ว่าหากหาสิ่งที่ใกล้มือเพื่อเข้าเฝือกไม่ได้
ให้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้
ไม่ให้เคลื่อนไหว เช่น กระดูกขาข้างหนึ่ง | |