สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 9
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๙ / เรื่องที่ ๓ วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์ / การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
ระยะปลอดภัย
หมายถึง การคุมกำเนิดโดยงดการอยู่ร่วมกันในระยะที่มีไข่สุก
โดยอาศัยหลักว่า หญิงมีไข่สุกเดือนละครั้งเดียว
และการตั้งครรภ์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ
มีการอยู่ร่วมกันในระยะที่มีไข่สุกเท่านั้น
การหาระยะปลอดภัย
ทำได้ ๒ ทาง คือ
๑. จากบันทึกการมีประจำเดือน
๒. จากการวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย
การหาระยะปลอดภัยจากบันทึกการมีประจำเดือน
มีหลักปฏิบัติดังนี้
คือ ผู้ใช้ต้องทำบันทึกการมีประจำเดือนไว้ทุกๆ
เดือนจนครบ
๑๒ เดือน โดยบันทึกระยะรอบประจำเดือน
นับจากวันแรกของประจำเดือนไปจนถึงวันสุดท้ายก่อนมีประจำเดือนที่สั้นที่สุด
และยาวที่สุดใน
๑๒ เดือนนี้ และคิดระยะที่ไม่ปลอดภัยดังนี้
วันแรกที่ไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่สั้นที่สุด
-๑๘
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย
= รอบประจำเดือนที่ยาวที่สุด
-๑๑
วันแรกที่มีประจำเดือน
คือวันที่ ๕ ธันวาคม
วันแรกที่ไม่ปลอดภัย
คือวันที่ ๙ ของรอบประจำเดือน
(วันที่ ๑๓ ธันวาคม)
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย
วันที่ ๒๐ ของรอบประจำเดือน
(วันที่ ๒๔ ธันวาคม)
บันทึกประจำเดือน ๑๒
เดือนนี้ จะต้องเป็นของ ๑๒
เดือนสุดท้ายเสมอ โดยเพิ่มประจำเดือนของเดือนใหม่ลงไปทุกเดือน
และตัดประจำเดือนที่เก่าที่สุดออกเช่นกัน
หลักของการคิดหาระยะไม่ปลอดภัยนี้มีรายละเอียดอธิบายไว้
โดย
โอกิโน (Kyusaka Ogino) และคเนาส์ (Herman Knaus)
การหาวันที่ไม่ปลอดภัยโดยการวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย
การหาไข่สุกโดยวิธีนี้
อาศัยหลักที่ว่า ก่อนไข่สุกร่างกายจะมีอุณหภูมิต่ำ
แต่ภายหลังไข่สุกแล้ว
ร่างกายจะ | |