หน่วยที่ใช้วัดรังสีเอกซ์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 9
เล่มที่ ๙
เรื่องที่ ๑ เรื่องของยา
เรื่องที่ ๒ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
เรื่องที่ ๓ วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์
เรื่องที่ ๔ การทำแท้ง
เรื่องที่ ๕ การสาธารณสุข
เรื่องที่ ๖ โรคมะเร็ง
เรื่องที่ ๗ รังสีวิทยา
เรื่องที่ ๘ ฟันและเหงือกของเรา
เรื่องที่ ๙ เวชศาสตร์ชันสูตร
เรื่องที่ ๑๐ เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เรื่องที่ ๑๑ นิติเวชศาสตร์
เรื่องที่ ๑๒ โภชนาการ
เรื่องที่ ๑๓ ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๙ / เรื่องที่ ๗ รังสีวิทยา / หน่วยที่ใช้วัดรังสีเอกซ์

 หน่วยที่ใช้วัดรังสีเอกซ์
หน่วยที่ใช้วัดรังสีเอกซ์

มี ๒ อย่าง คือ วัดคุณภาพ และ วัดปริมาณ

การวัดคุณภาพ


คือ การวัดคุณสมบัติในการฉายทะลุวัตถุต่างๆ มี ๓ วิธี ได้แก่

๑. โดยการวัดความยาวคลื่น คลื่นยิ่งสั้นยิ่งมี อำนาจทะลุทะลวงได้มาก

๒. โดยการวัดพลังงานของรังสี เป็นอิเล็กตรอนโวลต์ (electron volt) พลังงานมากมีอำนาจทะลุทะลวงมาก
๑ อิเล็กตรอนโวลต์ (electron volt) = ๑.๖๐ x ๑๐-๑๒ เอิร์ก (erg)
๑ วัตต์ (watt) = ๑๐ เอิร์กต่อวินาที (erg/second)
๑ แรงม้า (horse power) = ๗.๔๖ วัตต์ = ๗๔๖ x ๑๐ เอิร์กต่อวินาที (erg/second) = ๔.๖๖ x ๑๐๒๑ อิเล็กตรอน โวลต์ต่อวินาที (electron volt/ second)

๓. โดยการวัดอำนาจทะลุโลหะ (half value layer; H.V.L.) เป็นความหนาเป็นมิลลิเมตรของโลหะ เช่น ทองแดง หรือ อะลูมิเนียม ที่สามารถกรองรังสีเอกซ์ แล้วลดปริมาณรังสีลงได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม

การวัดปริมาณ

มีหน่วยต่างๆ หลายหน่วย ได้แก่

๑. เรินต์เกน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ที่ประชุมรังสีแพทย์ นานาชาติได้ตกลงกันที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนให้วัดปริมาณรังสีเอกซ์ ด้วยหน่วยเรินต์เกน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ในการประชุมแบบเดียวกันที่ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ได้ตกลงให้ใช้หน่วยเรินต์เกน วัดปริมาณรังสีแกมมาด้วย เพราะรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์เหมือนกันทุกอย่าง นอกจากกำเนิดไม่เหมือนกัน คือ รังสีเอกซ์นั้นมนุษย์ทำขึ้น แต่รังสีแกมมาเกิดโดย ธรรมชาติ รังสี ๑ เรินต์เกน ฉายผ่านอากาศแห้งจำนวน ๐.๐๐๑๒๙๓ กรัม ที่ o องศาเซสเซียส ความกดดัน ๗๖๐ มิลลิเมตรปรอท จะทำให้โมเลกุลของอากาศปล่อยไอออน ซึ่งมีประจุไฟฟ้าสถิต ๑ หน่วยประจุไฟฟ้าสถิตหรือ ๑ อีเอสยู (electrostatic unit;e.s.u.) ถ้าคิดเป็นพลังงาน ๑ เรินต์เกน จะเท่ากับ ๘๓ เอิร์กต่อกรัมอากาศ หรือ ๙๓ เอิร์กต่อกรัมของเนื้อ

๒. เรป (roentgen equivalent physical; R.E.P.) คือ จำนวนรังสีใดๆ ที่ให้พลังงาน ๙๓ เอิร์กต่อ ๑ ลูกบาศก์เซนติเมตรของเนื้อ

๓. เรม (roentgen equivalent man; R.E.M.) คือ จำนวนรังสีใดๆ ที่ให้ผลทางชีววิทยาต่อเนื้อคนเท่ากับผลที่เกิดจากรังสีเอกซ์ ๑ เรินต์เกน

๔. แรด (radiation absorbed dose; R.A.D.) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ในการประชุมรังสีวิทยานานาชาติครั้งที่ ๗ ที่นครโคเปนเฮเกน มีมติให้ใช้แรดเป็นหน่วยวัดรังสี หน่วยแรดนี้ต่างจากหน่วยเรินต์เกนที่วัดจำนวนรังสีที่ถูกดูดไว้ ไม่ว่าวัตถุนั้น จะเป็นวัตถุชนิดใด และ ๑ แรดมีค่าเท่ากับ ๑๐๐ เอิร์กต่อกรัมของวัตถุ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป