รูปร่างและหน้าที่ของฟัน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 9
เล่มที่ ๙
เรื่องที่ ๑ เรื่องของยา
เรื่องที่ ๒ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
เรื่องที่ ๓ วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์
เรื่องที่ ๔ การทำแท้ง
เรื่องที่ ๕ การสาธารณสุข
เรื่องที่ ๖ โรคมะเร็ง
เรื่องที่ ๗ รังสีวิทยา
เรื่องที่ ๘ ฟันและเหงือกของเรา
เรื่องที่ ๙ เวชศาสตร์ชันสูตร
เรื่องที่ ๑๐ เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เรื่องที่ ๑๑ นิติเวชศาสตร์
เรื่องที่ ๑๒ โภชนาการ
เรื่องที่ ๑๓ ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๙ / เรื่องที่ ๘ ฟันและเหงือกของเรา / รูปร่างและหน้าที่ของฟัน

 รูปร่างและหน้าที่ของฟัน
รูปร่างและหน้าที่ของฟัน

ฟันแต่ละซี่แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ตัวฟัน คอฟัน รากฟัน

ตัวฟัน คือ ส่วนของฟัน ซึ่งงอกขึ้นมาปรากฏในช่องปาก สามารถมองเห็นได้

คอฟัน คือ ส่วนที่ต่อระหว่างตัวฟัน และรากฟัน ซึ่งเป็นส่วนของฟันที่มีเหงือกมาสัมผัสอยู่

รากฟัน เป็นส่วนหนึ่งของฟัน ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกเบ้ารากฟันของขากรรไกร รากฟันนี้จะยึดต่อกับกระดูกเบ้ารากฟันด้วยเส้นใยยึดต่อที่เรียกว่า เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) เอ็นปริทันต์นี้ทำหน้าที่คล้ายเบาะรองรับ และถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวจากฟันไปสู่กระดูกขากรรไกร เอ็นปริทันต์ที่อยู่ล้อมรอบรากฟัน พร้อมด้วยเส้นโลหิต และเส้นประสาทรวมเรียกว่า เยื่อปริทันต์

ฟันแต่ละซี่ จะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันกล่าวคือ
  • ฟันตัด มีลักษณะแบนและบาง มีขอบหน้าคมทำหน้าที่ตัดหรือกัด
  • ฟันเขี้ยว มีลักษณะซี่ใหญ่ หนา แข็งแรง มียอดปลายแหลม สำหรับฉีกและดึง
  • ฟันกรามน้อยและฟันกราม จะมียอดหรือปุ่ม (cusp) หลายปุ่ม สำหรับขบและบดอาหารให้ละเอียด ทำหน้าที่คล้ายโม่
ฟันแต่ละชนิดจะมีรากแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ฟันตัดและฟันเขี้ยว จะมีรากเดี่ยว ฟันกรามน้อยจะมีชนิดรากเดี่ยวและรากคู่ ส่วนฟันกรามในขากรรไกรล่างมีรากคู่ แต่ฟันกรามในขากรรไกรบนจะมี ๓ ราก
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป