หลักเกณฑ์ในการนำรูปแบบต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นลวดลาย เราพอจะพิจารณาได้ว่า มุมรอบจุดๆ หนึ่ง ที่เป็นจุดยอดของรูปเหลี่ยมใดๆ ย่อมมีขนาด ๓๖๐ องศา ดังนั้น การที่จะวางรูปให้ต่อกันสนิท ขนาดของมุมของรูปเหล่านั้นจะต้องรวมกันเป็น ๓๖๐ องศาเสมอ | |
ถ้านำรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามาต่อกันก็จะต้องใช้สามเหลี่ยมหกรูป ให้มุมทั้งหกจดกัน จุดยอดมุดร่วมกัน แขนของมุมชิดกันก็จะได้พื้นที่เต็มบริบูรณ์ |
ถ้านำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาต่อกันก็จะต้องใช้สี่รูป |
ถ้านำรูปหกเหลี่ยมมาต่อกันก็จะต้องใช้สามรูป | |
การนำรูปชนิดต่างกันมาวางเรียงกัน | |
รูปแปดเหลี่ยมสองรูป กับรูปสี่เหลี่ยมหนึ่งรูป เป็นลวดลายบนฝาผนัง หรือผืนผ้า | |
รูปหกเหลี่ยมหนึ่งรูปกับรูปสามเหลี่ยมหนึ่งรูปและรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสองรูปเป็นลายกระจกสีประดับรอบเสาโบสถ์ | |
รูปสามเหลี่ยมสามรูป กับรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสองรูป เป็นลายกระเบื้องสี ประดับรอบฐานพระเจดีย์ | |
รูปหกเหลี่ยมสองรูปกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปประดิษฐ์เป็นลายพรม | |
ตัวอย่าง ลวดลายที่เกิดจากรูปเรขาคณิต การนำรูปสามเหลี่ยมมาเรียงกัน |
การนำรูปสี่เหลี่ยมมาเรียงกัน | |
การนำวงกลมมาประดิษฐ์ลวดลาย | |
การลากเส้นตรงต่อจุดแบ่งบนเส้นรอบวง ๒๔ จุด |
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต