เล่มที่ 1
อากาศยาน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ประวัติการบินของไทย
       
            ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนา เมื่อโลกเริ่มมีเครื่องบิน ไทยก็ได้พยายามให้ มีบ้าง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้มีผู้นำเอาเครื่องบินแบบ ออร์วิลล์ ไรท์ มาบินแสดงให้ประชาชนชม ที่สนามม้าสระปทุม (ปัจจุบันเป็นราชกรีฑาสโมสร) พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ ผู้ซึ่งได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบรรพบุรุษของกองทัพอากาศ นักบินคนแรกของไทย ก็ได้ทดลองบินในการแสดงครั้งนี้ด้วย
เครื่องบินแบบเออร์วิลล์ ไรท์ บินแสดงครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๕๔
เครื่องบินแบบเออร์วิลล์ ไรท์ บินแสดงครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๕๔
            พลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ได้ดำริจัดตั้งหน่วยบินขึ้น เพื่อป้องกันประเทศไทยตามความจำเป็น ดังนั้นพระองค์จึงทรงเลือก นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธลิขิกร (หลง สินสุข) และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศสจนสำเร็จ

นักบินไทยทดลองบินด้วยเครื่องแบบนิเออปอร์ตเป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖นักบินไทยทดลองบินด้วยเครื่องแบบนิเออปอร์ตเป็นครั้งแรก ที่สนามม้าสระปทุม เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

            ในระหว่างนี้ ประเทศได้สั่งซื้อเครื่องบินเบรเกต์ (breguet) ปีกสองชั้น ๓ เครื่องเครื่อง บินนิเออปอร์ต (nieuport) ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อเบรเกต์ให้อีก ๑ เครื่อง ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เครื่องบิน ๘ เครื่องนี้ พร้อมทั้งนายทหารไทยทั้งสามนาย ซึ่งเป็น "มนุษย์อากาศไทยชุดแรก" จึงจัดเข้าประจำการเป็นหน่วยบินแรกของกองทัพไทย
นักบินไทย บินด้วยเครื่องบินแบบเบรเกต์
นักบินไทย บินด้วยเครื่องบินแบบเบรเกต์ไปลงเป็นปฐมฤกษ์ เปิดสนามบินดอนเมือง เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
ที่สนามม้าสระปทุม วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ นักบินไทยได้ทดลองบินเครื่องบินของไทยเป็นครั้งแรก

            ปรากฏว่าสนามม้าสระปทุมไม่สะดวก เพราะแคบไป และเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน พระยาเฉลิมอากาศจึงเสาะแสวงหาพื้นที่อื่นรอบๆ พระนคร ในที่สุด ท่านก็เลือกดอนเมือง ซึ่งไม่ไกลนัก และตามปกติน้ำก็ไม่ท่วม ใช้ทำการบินได้สะดวกตลอดปี ดังนั้นในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เครื่องบินของกองบินไทยก็ร่อนลงเป็นปฐมฤกษ์ เปิดสนามบินดอนเมือง อันเป็นฐานทัพอากาศมา จนถึงปัจจุบันนี้
เครื่องบินไอพ่นแบบ ๒ เครื่องยนต์
เครื่องบินไอพ่นแบบสองเครื่องยนต์ ความเร็วเหนือเสียงของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน
            ด้วยอุตสาหะและวิริยะอย่างแรงกล้าของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ทุกคน เครื่องบินปีกสองชั้นของเราลำแรก ซึ่งผลิตออกมาจากโรงงานที่ดอนเมือง ได้บินขึ้นสู่อากาศใช้ราชการได้ดี ด้วย วัตถุพื้นเมืองและฝีมือช่างไทย เว้นเครื่องยนต์ ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมและเสด็จประทับเสวยพระกระยาหาร กลางวันที่หน่วยบินดอนเมืองเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยและ ขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกคนผู้ร่วมงานการผลิตขึ้น จนใช้ในราชการได้เป็นผลสำเร็จ

พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา และพลอากาศโท มานพ สุริยะ คณะนายพลอากาศไทย ๓ นาย กำลังศึกษาแผนปูมเดินอากาศจากเจ้าหน้าที่อเมริกัน ก่อนขึ้นขับเครื่องบินไอพ่นคนละเครื่อง กลับประเทศไทย

            กิจการการบินของไทยได้พัฒนาและขยายจากเครื่องบิน ๘ เครื่อง นักบิน ๓ นาย ในสมัยเริ่ม แรกจนกลายเป็นกองทัพอากาศ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้มีหน่วยเครื่องบินไอพ่นเป็น ครั้งแรก โดยคณะนายพลอากาศไทย ๓ นาย ได้ไปรับมอบเครื่องบินไอพ่นหนึ่งหมู่จากฐานทัพ อเมริกันในประเทศญี่ปุ่น แล้วต่างก็ขับมาเองคนละเครื่องเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
เครื่องบินโดยสารพลเรือน ของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
เครื่องบินโดยสารพลเรือน ของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
            ขณะนี้เรามีกำลังทางอากาศหลายร้อยเครื่อง มีข้าราชการทหารอากาศหลายหมื่นคน และ สามารถทำการรบทางอากาศ ทำการรบร่วมกับกองทัพบก กองทัพเรือ เพื่อป้องกันประเทศได้ เป็นอย่างดี เครื่องบินรบไอพ่นสองเครื่องยนต์มีความเร็วเหนือเสียง มีอาวุธจรวด ปืน และลูกระเบิด ที่ทันสมัย เป็นเครื่องบินแบบใหม่ที่ใช้ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศปัจจุบัน
เครื่องบินโดยสารพลเรือน ของบริษัทการบินไทย จำกัด
เครื่องบินโดยสารพลเรือน ของบริษัทการบินไทย จำกัด
เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ กองทัพอากาศก็ได้สร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียวขึ้นใช้เองอีกคำรบหนึ่ง

            ทางด้านขนส่ง ไทยริเริ่มทดลองใช้เครื่องบินเบรเกต์ ส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ๓ ปีต่อมา การบินรับส่งผู้โดยสารและพัสดุ ก็เริ่มขึ้น การสงครามเป็นอุปสรรคให้เกิดการขาดแคลน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ไประยะหนึ่ง แต่แล้วกระทรวงคมนาคมก็ได้ลงทุนจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทยขึ้น เพื่อบริการประชาชนในการขนส่งทางอากาศทั่วประเทศ โดยใช้เครื่องบินไอพ่น สองเครื่องยนต์ แบบแอฟโร ๗๔๘ (avro 748) ต่อมาได้นำเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงขึ้นเข้ามาใช้ เช่นเครื่องบินแบบโบอิง ๗๓๗ (boeing 737) และเครื่องบินสำหรับบริการผู้โดยสารตามเส้นทางย่อย (shorts 330) ส่วนการบินระหว่างประเทศนั้น ขณะนี้บริษัทการบินไทย จำกัด มีเครื่องบินไอพ่น สี่เครื่องยนต์ บริการไปประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในทวีปเอเซีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ