การบริหารงานเลี้ยงผึ้ง
หลังจากจับผึ้งโพรงจากธรรมชาติมาเลี้ยงแล้ว ก็ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพภายในรังสัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง ดังนี้
๑. ตรวจดูการวางไข่ของนางพญาว่า ปกติดีหรือไม่ สม่ำเสมอเพียงใด
๒. ตรวจดูอาหารภายในรัง ถ้าขาดน้ำหวาน หรือเกสร ควรให้น้ำเชื่อม หรือเกสรเทียม (แป้งถั่วเหลือง) แก่ผึ้งที่จับมาเลี้ยง เพราะถ้าผึ้งขาดอาหาร มันจะหนีรังทันที
๓. ถ้าในรังมีปริมาณผึ้งมาก ควรเสริมคอนติดแผ่นรังเทียม และให้น้ำเชื่อม เพื่อให้ผึ้งสร้างหลอดรังเพิ่มขึ้น
๔. ตรวจดูหลอดรวงนางพญาที่เกิดตามธรรมชาติ ถ้าพบ ให้รีบทำลาย เพื่อป้องกันผึ้งแยกรัง เพราะผึ้งโพรงไทยมีพฤติกรรมแยกรังง่ายกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง
การให้น้ำเชื่อมเมื่อผึ้งขาดอาหาร
ศัตรูของผึ้งส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ต่างๆ เช่น คางคก จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า มด และนก ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยการกำจัดศัตรูเหล่านั้น และถากถางบริเวณที่ตั้งรังให้สะอาด ไม่ให้มีวัชพืชปกคลุม ใช้ผ้าชุบน้ำมันพันรอบขาตั้งหีบเลี้ยงผึ้งกันมด ศัตรูของผึ้งที่เป็นอันตรายมากก็คือ ยาฆ่าแมลง อาจทำให้ผึ้งตายหมดรังได้ ป้องกันโดยย้ายหีบเลี้ยงผึ้งไปตั้งไว้ที่อื่นชั่วคราว
การจัดให้ผึ้งโพรงไทยเก็บน้ำผึ้ง สามารถนำหลักการของผึ้งโพรงฝรั่งมาใช้ได้ เช่น การนำผึ้งโพรงไปเก็บน้ำผึ้งในสวนผลไม้ อาทิเช่น ในสวนเงาะ สวนลิ้นจี่ สวนลำไย และสวนมะพร้าวในฤดูดอกไม้บาน เป็นต้น
ผึ้งเก็บน้ำหวานจากดอกลำไย