ฟ้อนเทียน มีท่วงท่าลีลาการฟ้อน การแต่งกาย และเครื่องดนตรี เหมือนกับฟ้อนเล็บทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการสวมเล็บ มาถือเทียนแทน เป็นการฟ้อนจัดร่วมนำขบวน แห่ขันโตก เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ฟ้อน เชิญโตก" ความงดงามของศิลปะการฟ้อนเล็บ และฟ้อนเทียนจะอยู่ที่ลีลาการบิดข้อมือ และการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ นุ่มนวลสอดคล้องกับทำนองเพลง ฟ้อนอย่างมีระเบียบ และพร้อมเพรียงกัน
ฟ้อนเจิงเซิง เป็นการฟ้อนของช่างฟ้อนผู้ชาย ฟ้อนเป็นชุดต่อเนื่องกัน เริ่มด้วย ฟ้อนเจิง คำว่า "เจิง" หมายถึง "ชั้นเชิง" เป็นการแสดงชั้นเชิงของลีลาท่าทางร่ายรำต่างๆ ซึ่งแสดงออกในท่วงท่าของนักรบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่า โดยเคลื่อนไหวร่างกาย และแยกแขน ยกขา ทำท่วงท่าทีต่างๆ ซึ่งช่างฟ้อนจะแสดงชั้นเชิงแตกต่างกันไป ตามการคิดประดิษฐ์ท่าทางของแต่ละคน
ตบมะผาบ เป็นการละเล่นของภาคเหนือ คือ การใช้มือเปล่าตบไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมกับกล่าวคาถาอาคม ลูบตามแขนขา ทั่วร่างกาย ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ เพื่อให้เกิดความคงกระพันชาตรี มีการยกเท้า งอเข่า งอศอก บิดตัวไปมา หลอกล่อคู่ต่อสู้ไป ด้วย โดยลีลาของฟ้อนเจิงและตบมะผาบจะ ต่อเนื่อง และสัมพันธ์กันตามจังหวะของดนตรี ทั้งจังหวะช้าๆ และรวดเร็ว มีการกระโดดด้วย ท่าทางผาดโผนต่างๆ อย่างน่าดูยิ่ง
ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับชั้นเชิงต่อสู้ป้องกันตัว ผสมผสานกับลีลาท่าฟ้อน ที่สง่างาม การฟ้อนดาบของล้านนา หรือภาคเหนือมี ๒ แบบ คือ
- เชิงดาบแสนหวี เป็นเชิงการฟ้อน ดาบของไทยใหญ่
- เชิงดาบเชียงแสน เป็นเชิงการ ฟ้อนดาบของคนเมือง
ฟ้อนสาวไหม ท่าฟ้อนสาวไหมแต่ดั้งเดิมเป็นท่าแม่บทท่าหนึ่ง ในการฟ้อนเจิง ช่างฟ้อนเป็นหญิงแต่งกายพื้นเมืองแบบเดียวกับฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนมีลีลาอ่อนช้อยมาก เป็นท่าฟ้อนที่เลียนแบบกิริยาอาการสาวไหม เครื่องดนตรีที่ใช้ ประกอบคือ วงสะล้อ-ซึง บรรเลงทำนองเพลง แบบ "ซอปั่นฝ้าย"
๓. ฟ้อนแบบไทยใหญ่
มีศิลปะการฟ้อนของชาวไทยในภาคเหนือปรากฏอยู่เป็นเอกลักษณ์
ฟ้อนกิ่งกระหร่า กำเบ้อดง และเล่นโต "กิ่งกระหร่า" หมายถึง กินนรา กำเบ้อดง "กำเบ้อ" หมายถึง ผีเสื้อ "ดง" หมายถึง ชื่อแม่น้ำสาละวิน "โต" เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะเป็นสัตว์สี่เท้า นิยมแสดงในงานเทศกาลออกพรรษา ตามตำนานที่เล่า สัตว์เหล่านี้มาแสดงความรื่นเริง ต้อนรับพระพุทธองค์ เมื่อครั้งเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากโปรดพระพุทธมารดา
ผู้แสดงเป็นกิ่งกระหร่า แต่งกายด้วยเสื้อผ้า สีดำ หรือสีอื่นๆ ก็ได้ สวมกางเกง มีปีกหางทำด้วยโครงไม้ไผ่ที่บุด้วยผ้าแพร หรือผ้ามีสี ปักดิ้นเงินดิ้นทอง ตกแต่งเป็นลวดลายสวยงาม มีเชือกผูกติดปีกหาง โยงมายังมือผู้ฟ้อน เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ สวมมงกุฎ สังวาล และเครื่อง ประดับต่างๆ ให้ดูงดงาม สวมหน้ากากรูปหน้า คนทาสีขาว ผู้แสดงมีทั้งหญิงและชาย ท่าการ ฟ้อนเลียนแบบธรรมชาติของนก ซึ่งบางแห่ง เรียกว่า "ฟ้อนนางนก" สำหรับกำเบ้อดงจะประดิษฐ์ปีกเป็นแบบผีเสื้อ ลักษณะคล้ายคลึงกับกิ่งกระหร่า
ฟ้อนมองเชิง คำว่า "มองเชิง" ใน ภาษาไทยใหญ่แปลว่า "ฆ้องชุด" วงมองเชิงคือ วงดนตรี นิยมใช้ในกระบวนแห่ และบรรเลงในงานทั่วไปของชาวไทยใหญ่ และมีอิทธิพลให้คนเมืองบางท้องถิ่น รับอิทธิพลลักษณะการเล่นประสมวงมาด้วย บางทีก็เรียกว่า "ฟ้อนไต"
ฟ้อนมองเชิง
ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเงี้ยวเป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือปัจจุบัน เป็นการประดิษฐ์ท่ารำ โดยช่างฟ้อนในวังของพระราชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งเลียนแบบท่วงท่าของการฟ้อนแบบชาวไทยใหญ่ ผสมกับลีลานาฎศิลป์ภาคกลาง จึงเกิดเป็นการฟ้อนชนิดนี้ขึ้น
๔. ฟ้อนแบบม่าน
คำว่า "ม่าน" ใน ภาษาล้านนาหมายถึง พม่า ด้วยเหตุที่บริเวณภาคเหนืออยู่ติดกับประเทศพม่า จึงมีการรับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมต่างๆ ของพม่าหลายด้าน สำหรับด้านนาฏศิลป์ ฟ้อนม่านมุยเชียงตา เป็นฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่ม ขึ้น โดยมีช่างฟ้อนในคุ้มและในวังร่วมกับครูช่าง ฟ้อนของพม่า ช่างฟ้อนเป็นหญิง ๘-๑๖ คน แต่งกายแบบพม่า สวมเสื้อเอวลอยรัดรูป นุ่ง ซิ่น มีผ้าสไบคล้องคอ เกล้าผมสูงปล่อยชายผม ลงด้านหนึ่ง ท่วงท่าฟ้อนรำมีทั้งช้าและเร็ว ใช้ วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบทำนองเพลง
ปัจจุบันการฟ้อนได้วิวัฒนาการไปสู่ภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง ได้มีการคิดท่าฟ้อนประกอบสัญลักษณ์ของการทำงาน หรือจัดเป็นชุดรำในนิทานพื้นบ้าน เช่น ฟ้อนเก็บขิด ฟ้อนมโนห์ราเล่นน้ำ ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด ฟ้อนลื้อล่องน่านของจังหวัดน่าน เป็นต้น
มหาชาติทรงเครื่อง
เป็นการละเล่นของภาคใต้ ลักษณะการแสดงคล้ายลิเกพื้นเมือง เล่นสลับกับการสวดเทศน์มหาชาติ เมื่อจบแต่ละกัณฑ์ เหมือนการเล่นแหล่เครื่องเล่นมหาชาติ ในภาคกลาง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศผู้ฟัง ให้มีความบันเทิงครึกครื้น ควบคู่กับการฟังเทศน์มหาชาติ การเล่นจะด้นกลอนสด การดำเนินเรื่องจะแทรกบทตลก
รองเง็ง
รองเง็งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทย มุสลิมใน ๔ จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล เป็นการละเล่นที่วิวัฒนาการ มาจากการเล่นมะโย่ง รองเง็งจะเป็นการเต้นเข้า จังหวะ ที่มีกลองเป็นเครื่องให้จังหวะที่รุกเร้า รวดเร็ว และสนุกสนาน
ระบำ
การฟ้อนรำของไทยมีวิวัฒนาการมาจากท่าทางที่แสดงออก ด้วยความรื่นเริงบันเทิงใจ และได้ปรับปรุงจัดระเบียบท่าทางการเต้นให้งดงามประณีตยิ่งขึ้น เพื่อให้การเล่น และการดู เป็นไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน การเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ เช่น มือ แขน ขา ใบหน้า ลำตัว ต้องให้อยู่ในท่าอ่อนช้อยงดงาม เรียกว่า "รำ" มีทั้ง รำเดี่ยว รำคู่ และรำหมู่ เฉพาะการรำหมู่เรียกว่า "ระบำ"
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำ "ระบำ" ว่า การฟ้อนรำเป็นชุดเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ระบำ คือ การฟ้อนรำที่มุ่งหมาย เพื่อความงดงามของศิลปะการรำ และความรื่นเริงบันเทิงใจ ไม่มีการดำเนินเป็นเรื่องราว ระบำมี ๒ ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่มีลักษณะการแต่งกาย ยืนเครื่องพระนาง ตลอดจนท่ารำ เพลงร้อง และดนตรี มีกำหนดไว้เป็นแบบแผน และอีก ประเภทหนึ่งคือ ระบำเบ็ดเตล็ด
ระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่แต่งกายตามรูปแบบลักษณะของการแสดงนั้นๆ โดยนำมาประกอบการแสดงโขนหรือละครบ้าง ประดิษฐ์เป็นชุดต่างๆ บ้าง เช่น ระบำโบราณคดี ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำดอกบัว ฯลฯ นอก จากนั้นยังประดิษฐ์โดยเลียนแบบอิริยาบถของสัตว์ รวมทั้งการฟื้นฟูนาฏศิลป์พื้นบ้านอันเป็นเป็นการแสดง ที่เป็นศิลปะเฉพาะท้องถิ่น เช่น ฟ้อน หรือเซิ้ง ต่างก็อนุโลมอยู่ในการละเล่นประเภทระบำ
ศิลปะการละเล่นพื้นเมืองของภาคต่างๆ กรมศิลปากรได้นำมาประยุกต์ท่าขึ้นใหม่ ให้มีความงดงาม จัดเป็นชุดระบำอีกหลายชุด มีลีลาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาค เครื่องดนตรี และการแต่งกายยังคงรักษาเอกลักษณ์ของศิลปะพื้นเมืองเดิมไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การละเล่นพื้นเมือง ประเภทระบำขยายรูปแบบกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ระบำนกน้อยของจังหวัดกำแพงเพชร ระบำทอ ซิ่นตีนจกของจังหวัดสุโขทัย ระบำซอของจังหวัด เชียงใหม่ ระบำนารีศรีนครของจังหวัดนครศรีธรรมราช ล้วนแสดงถึงลักษณะพื้นเมืองไว้อย่าง ชัดเจน
การแสดงระบำชุด "กินนรร่อนรำ" ของวิทยาลัยนาฏศิลป จ.พัทลุง