ความก้าวหน้าของเครื่องเจาะบัตร ในตอนเริ่มต้นของศตวรรษที่ ๒๐ การนำเอาอุปกรณ์ เครื่องเจาะบัตรไฟฟ้าหรืออีเอเอ็ม (electric accounting machine; EAM) มาใช้ในทางธุรกิจเป็นไปค่อนข้างเชื่องช้า ความก้าวหน้าที่สำคัญเกิดขึ้นในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๖๓ และ ตอนเริ่มต้นของ พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้เริ่มมีการติดตั้งเครื่องเจาะ บัตรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ความก้าวหน้านี้รวมถึงการเพิ่ม ความจุของจำนวนบัตร ความสามารถในการคูณตัวเลข และการจัดทำข่าวสารเชิงตัวอักษร ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มี ความก้าวหน้าทางเครื่องเจาะบัตรขึ้นมาก สามารถปฏิบัติ งานทางบัญชีจำนวนมากได้ เช่น ในระบบความมั่นคงของ สังคมสหรัฐอเมริกา (United States social security system) ตอนเริ่มต้น สามารถปฏิบัติงานได้กับบัญชีสำหรับขนาด ๓๐ ล้านคน ภายใน ๑ ปี ต่อมาต้องทำการประมวลผลกับ บัญชีจำนวนมากต่อวัน ในระหว่าง ๒๐ ปีต่อมาได้มีบัญชี ใหม่เพิ่มขึ้นมากเกือบ ๑๐๐ ล้านบัญชี | |
| |
จาก พ.ศ. ๒๔๗๓ จนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา เครื่องเจาะบัตรเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอัตราเร็ว ใช้งานได้หลาย หน้าที่ และยังมีอรรถประโยชน์อีกมากมาย แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น อัตราเร็วของเครื่องถูกจำกัดด้วยความสามารถ ของเครื่องเชิงกลไฟฟ้าที่ใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ส่วนมาก ทำงานไม่ได้หลายหน้าที่ ต้องใช้มือในการโยกย้ายบัตร จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง การสั่งงานมีข้อจำกัด และส่วนความจำภายในมีขนาดจำกัด |
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต