เล่มที่ 2
การจำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่ของสัตว์
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์

            การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์มีหลักเกณฑ์สำคัญก็คือ ต้องตั้งเป็นภาษาละติน หรือถ้าเป็นภาษาอื่น ก็ต้องทำให้มีลักษณะเป็นภาษาละตินเสียก่อน หลักการตั้งชื่อจะได้กล่าวเป็นตอนๆ ตามหัวข้อในอนุกรมวิธานสัตว์ดังต่อไปนี้คือ

ก. หลักการตั้งชื่อกลุ่มวงศ์

            ๑. ต้องเป็นคำนามพหูพจน์ในวรรคแรก

            ๒. คำลงท้ายกลุ่มวงศ์มีดังนี้

เหนือวงศ์ 
วงศ์ 
วงศ์ย่อย
เหล่า
เหล่าย่อย 
-oidea
-idae
-inae
-ini
-i
อ่าน "ออยเดีย"
อ่าน "อิดี"
อ่าน "ไอนี"
อ่าน "อินิ"
อ่าน "ไอ"

 ชื่อกลุ่มวงศ์นี้ขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอ
 
            ๓. ชื่อวงศ์ ตั้งขึ้นโดยต่อท้าย "แบบของสกุล" (type-genus) ที่ผู้ตั้งชื่อเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ด้วย "idae" โดยปกติจะเลือก "แบบสกุล" ที่มีคนรู้จักกันดี และเป็นตัวแทนที่ดีของวงศ์

            ๔. วิธีปฏิบัติตามข้อ ๓ ข้างบนก็คือ ตัดคำลงท้ายของ "แบบสกุล" ที่ลงท้ายด้วย -ae, -i, -is หรือ -ius ออกก่อน แล้วเติมด้วยคำลงท้ายที่เหมาะสมในข้อ ๒

            ๕. ถ้าคำลงท้ายของแบบสกุลไม่เป็นภาษาละตินให้เปลี่ยนเป็นลักษณะภาษาละติน ด้วยการต่อคำลงท้ายตามข้อ ๒ เช่น Carabus เป็น Carabi- ตัด -i ออกเป็น Carab- แล้วต่อท้ายด้วย -idae เป็น Carabidae

            ๖. ถ้าคำลงท้ายของ "แบบสกุล" เมื่อเปลี่ยนรากศัพท์ละตินแล้ว ลงท้ายด้วย i ทำให้มี i สองตัวเป็น "ii" ก็ให้ตัด -i ออกก่อน ๑ ตัว ตามข้อ ๒ แล้วเติมด้วย -idae เช่น Acridium เป็น Acridii- ตัด -i ออกเป็น ๑ ตัว Acridi- แล้วต่อท้ายด้วย -idae เป็น Acridiidae

            ๗. ถ้าคำลงท้ายของ "แบบสกุล" เป็นสัมพันธการก ให้เปลี่ยนเข้ารากศัพท์เดิมก่อน แล้วต่อคำลงท้ายตามข้อ ๒ เช่น Strix เป็น Strigis ตัด -is ออกเป็น Strig- แล้วต่อท้ายด้วย -idae เป็น Strigidae

            ๘. ถ้าหาก "แบบสกุล" เป็นภาษาที่อื่นซึ่งไม่ใช่ภาษาคลาสสิก (ละติน หรือกรีก) และไม่อาจทราบรากศัพท์ได้แน่นอนให้ถือว่ารากศัพท์นั้นใช้ได้ เมื่อต่อคำลงท้ายตามข้อ ๒ กับรากศัพท์นั้น เช่น Aphis รากศัพท์อาจจะเป็นไปได้ทั้ง Aphi- หรือ Aphid- เมื่อดำเนินตามข้อ ๕ แล้ว และเติมคำที่เหมาะสมตามข้อ ๒ จะเป็นวงศ์ Aphidae หรือ Aphididae ก็ได้

            ๙. ถ้า "แบบสกุล" มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีก โดยได้ถูกทำให้เป็นลักษณะภาษาละตินแล้ว ให้ตัดคำลงท้าย ที่มีลักษณะภาษาละตินนั้นออก แก้ให้เป็นภาษาละติน แล้วต่อคำลงท้ายข้อ ๒ ดังนี้ คำกรีก Leptokeras ทำให้เป็นลักษณะภาษาละติน Leptocerus ตัด -us ออก เหลือ Leptocer- และเติม -idae เป็น Leptoceridae

            ๑๐. ถ้าชื่อ "แบบสกุล" ลงท้ายด้วยภาษาอื่น นอกจากภาษาละติน หรือกรีก ที่ทำให้ลักษณะเป็นภาษาละตินแล้ว การวินิจฉัยชี้ขาดอักษรตัวท้าย ก่อนต่อด้วยคำลงท้ายตามข้อ ๒ ให้เป็นสิทธิของผู้ตั้งชื่อวงศ์คนแรก

ข. หลักการตั้งชื่อกลุ่มสกุล

            ๑. ต้องเป็นคำนามเอกพจน์ ในกรรตุการกในภาษาละติน หรือภาษากรีก ถ้าหากคำนั้นไม่ใช่คำละติน ให้ทำคำลงท้ายให้เป็นภาษาละตินและควรเป็นคำง่ายๆ


            ๒. ชื่อกลุ่มสกุล ต้องเขียนขึ้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ

            ๓. ชื่อกลุ่มสกุล ที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ ถ้าจะนำมาต่อกันจะต้องเป็นภาษาเดียวกัน เช่น คำละตินกับละติน หรือกรีกกับกรีก

            ๔. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อคน คนมีชื่อเสียงในสมัยโบราณ หรือชื่อตัวเอก ในวรรณคดีโบราณ ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินแล้ว ให้เปลี่ยนท้ายคำของชื่อเหล่านั้น ให้เป็นลักษณะภาษาละติน
ปูสามสี
ปูสามสี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แรงกูนา เทนัสเซอริเมนซิส [Ranguna tenasserimensis(De Man, 1898)] เป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในประเทศไทย อยู่ในกลุ่มปูป่า พบแถบเทือกเขาตะนาวศรี โดยขุดรูอาศัยอยู่ตามเชิงเขา
            ๕. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อคนในสมัยปัจจุบันเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการค้นคว้า และวิจัย เป็นต้น ให้กระทำดังนี้

ก) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยพยัญชนะให้ต่อท้ายด้วย "-ius", "-ia" หรือ "-ium" เช่น -ius, Selys เป็น Selysius หรือ -ia, Lamarck เป็น Lamarckia และ -ium,Mathews เป็น Mathewsium

ข) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยสระ e,i,o,u หรือ y ให้ต่อท้ายด้วย "-us""a" หรือ เช่น Milne เติม "-um""-um" เป็น Milneum

ค) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยสระ "a" ให้ต่อท้ายด้วย "-ia" เช่น Dana เติม -ia เป็น Danaia


ง) ถ้าชื่อคนมีคำนำหน้าดังต่อไปนี้

            (๑) Mac, Mc, M และตามด้วยอักษรตัวต่อไปที่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ให้เปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก และเขียนเต็มติดกัน เช่น Mc Cook เป็น Macookius หรือ Maccookia

            (๒) ถ้าเป็น "O" และมีเครื่องหมายอะโพสโทรฟี (apostrophe) อยู่เป็น "O" ให้ตัดอะโพสโทรฟีออกเสีย และอักษรตัวต่อไปที่ตามมา ให้เปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์เล็ก และเขียนติดกัน แล้วปฏิบัติตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) ข้างต้น เช่น O'Connor เป็น Oconnor และเป็น Oconnorius, Oconnoria หรือ Oconnorium

            (๓) คำนำหน้านาม (articles) เช่น le, la, l', les, el, il, lo หรือ du, de, des, del, della ให้เขียนติดกับอักษรถัดไป โดยกำหนดว่า ถ้าอักษรถัดไปเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ให้ลดลงเป็นตัวพิมพ์เล็ก แล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) หรือ ค) แล้วแต่กรณี เช่น Du Bysson เป็น Dubyssonium


            (๔) ถ้าเป็นคำซึ่งชี้แจงลักษณะในศาสนาคริสต์ เช่น เซนต์ (St.) ให้ตัดคำนั้นออกแล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) เช่น St.Clair เป็น Clarius, Claria และ Clarium เป็นต้น

            (๕) ถ้ามีคำนำหน้าซึ่งเป็นคำในภาษาเยอรมันหรือภาษาดัทช์ ถ้าเขียนด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเขียนติดกันให้คงไว้ ถ้าเขียนด้วยอักษรพิมพ์เล็กและเขียนแยกกันให้ตัดออก แล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) เช่น Vanhausen เป็น Vanhausenius, Vanhausenia Von Ihering เป็น Iheringius, Iheringia, Iheringium Van der Vecht เป็น Vechtius, Vechtia, Vechtium

            (๖) ถ้ามีคำนำหน้านอกจากที่กล่าวมาแล้วในข้อ (๑) - (๕) ให้ตัดออกแล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) แล้วแต่กรณี
 
            ๖. ถ้าชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อเรือต้องต่อท้ายชื่อเรือนั้นตามกฎข้อ ๕ ก) ข) และ ค) แล้วแต่กรณี ดังเช่น Challenger เป็น Challengeria

ค้างคาวกิตติค้างคาวกิตติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คราซิโอไนก์เทริส ทองลงยาไอ(Craseongcteris thonglongyai) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เล็กที่สุดในโลก พบโดยนายกิตติ ทองลงยา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ภาพนี้แสดงขนาดเปรียบเทียบของค้างคาวกิตติ ที่เล็กเท่าหัวนิ้วแม่มือของคน

            ๗. ชื่อกลุ่มสกุล อาจจะมีทั้งภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาคลาสสิก หรือภาษาอินโดยูโรเพียน (IndoEuropean) ได้แก่ Vanikoro, Zua

            ๘. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากการเลือกตั้งอักษรมารวมกัน เช่น Velletia, Neda, Salifa.

            ๙. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งอักษรสลับกันไป เช่น Limax เป็น Milax

            ๑๐. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากภาษาละติน หรือกรีกแสดงถึงการลดน้อยลง การเปรียบเทียบกับความคล้ายคลึงกัน หรือแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น Dolium เป็น Doliolum Limax เป็น Limacella

ค้างคาวกิตติขณะกางปีกบิน
ค้างคาวกิตติขณะกางปีกบิน
            ๑๑. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นโดยเติมคำนำหน้าลงในชื่อสกุลเดิมที่ตั้งไว้แล้ว เช่น จากสกุล Triatoma ซึ่งตั้งโดย La Porte เป็น Patriatoma ตั้งโดย Barberเป็น Neotriatoma ตั้งโดย Pinto เป็น Eutriatoma

            ๑๒. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นโดยเปลี่ยนคำพยางค์หน้า แต่ให้พยางค์หลังคงที่ เช่น Chionaspis เป็น Diaspis

ค. หลักการตั้งชื่อกลุ่มชนิด

            หลักสำคัญในการตั้งชื่อกลุ่มชนิดก็คือ ชื่อที่จะตั้งนั้นต้องเข้ากับเพศของชื่อกลุ่มสกุลเสมอ การที่จะปฏิบัติเช่นนี้ได้จำจะต้องรู้ภาษาละติน หรือกรีกบ้างพอสมควร หรืออาจจะค้นหาจากพจนานุกรมภาษาละติน หรือกรีก แล้วแต่กรณี


            เมื่อทราบเพศของกลุ่มสกุลแล้ว ให้ถือหลักการตั้งชื่อกลุ่มชนิด ดังต่อไปนี้

            ๑. ชื่อกลุ่มชนิด ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ

            ๒. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นต้องพิมพ์ร่วมกับชื่อกลุ่มสกุลเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงว่า ชื่อกลุ่มสกุลนั้นๆ ได้รับการยอมรับหรือไม่ก็ตาม

            ๓. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นต้องไม่เหมือนกับชื่อที่เคยตั้งขึ้นแล้วหรือต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น furcifera และ furcigera เป็นต้น

            ๔. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นไม่ใช้คำที่เขียนรวมกันไม่ได้ หรือเป็นเครื่องหมายที่เขียนเป็นหนังสือไม่ได้

            ๕. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ไม่ควรจะใกล้เคียงกับชื่อที่เคยตั้งไว้แล้ว

            ๖. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นไม่ควรแต่เพียงเปลี่ยนคำนามที่ตั้งไว้ แล้วด้วยการต่อท้ายคำให้เป็นคุณศัพท์เท่านั้น

            ๗. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งไม่ควรใช้คำว่า "typus" หรือ "typicus" เพราะจะทำให้เกิดความยุ่งยาก ในการพิจารณาเรื่องความคิด เกี่ยวกับแบบ (type-concept) ของสัตว์ต่างๆ ในอนุกรมวิธานได้

            ๘. ชื่อกลุ่มชนิดไม่ควรใช้เป็นคำตลกขบขันมีความหมายไม่ดี หรือไม่มีความหมาย เช่น Am-phionycha knownothing Thomson เป็นต้น

            ๙. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งไม่ควรเป็นคำก้าวร้าวหรือเป็นการดูหมิ่นศาสนา การเมือง บุคคล หรือยาวเกิดความจำเป็น

            ๑๐. ชื่อกลุ่มชนิดไม่ควรเป็นคำที่เลื่อนลอย ไม่มีความหมาย

            ๑๑. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นไม่เขียนสองแบบ เช่น ตัวเลขและตัวอักษร ควรเขียนเป็นตัวอักษรทั้งหมด ตัวอย่างเช่น 10-Lineata เขียนเป็น decemlineata


            ๑๒. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้น ถ้ามีเครื่องหมายอะโพสโทรฟี ยัติภังค์ (hyphen) หรือเครื่องหมายอื่นให้ตัดออก เช่น terrae-novae เขียนเป็น terraenovae d'urvillei เขียนเป็น durvillei

            ๑๓. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นถ้าเป็นคำรวมกันให้เขียนรวมกัน ห้ามเขียนแยก

            ๑๔. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นถ้ามีเครื่องหมายอุมโลต ให้ตัดเครื่องหมายนั้นออกแล้วเพิ่มด้วย "e" แทนเช่น mulleri เป็น muelleri

            ๑๕. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้น ถ้ามีหลายพยางค์ต้องให้พยางค์เหล่านั้นเป็นภาษาเดียวกัน

            ๑๖. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นให้ใช้คำนำหน้า "Sub-" กับคำนาม หรือคุณศัพท์ ในภาษาละตินเท่านั้น และจะใช้นำหน้าชื่อคนไม่ได้

            ๑๗. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นให้ใช้คำนำหน้า "pseudo-" กับคำนาม หรือศัพท์ในภาษากรีก เท่านั้น และจะใช้นำหน้าชื่อคนไม่ได้

            ๑๘. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นจะใช้คำต่อท้ายด้วย "-ides" และ "- oides" ได้เฉพาะกับคำนามในภาษาละตินหรือกรีกเท่านั้น จะใช้ต่อท้ายชื่อคนไม่ได้

            ๑๙. ชื่อกลุ่มชนิดที่ตั้งขึ้นต้องให้เพศเป็นไปตามเพศของชื่อกลุ่มสกุลโดยถือหลักคำลงท้าย
หอยมือเสือ
หอยมือเสือ (Tridacna gigas)
 ง. หลักการเลือกชื่อกลุ่มชนิดที่จะตั้ง

การเลือกชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัตว์นั้น แม้จะมิได้มีหลักเกณฑ์ ที่บังคับตายตัว แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว มักจะเลือกชื่อจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
๑. ตั้งตามลักษณะรูปร่าง เช่น มีรูปร่างใหญ่หรือเล็ก มีสีสันผิดแปลกตามตัวอื่น การตั้งชื่อก็ใช้ลักษณะรูปร่างดังกล่าวนี้เป็นเกณฑ์ เช่น หอยมือเสือชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นมีชื่อว่า ไทรดักนาไกกัส (Tridacna gigas) เป็นต้น

นายกิตติ ทองลงยานายกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยา ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องนก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


            ๒. ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ปัจจุบันการตั้งชื่อสัตว์ที่พบเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลนั้นได้กระทำการแพร่หลาย ดังนั้นจึงได้มีกฎเกณฑ์เพื่อใช้ปฏิบัติต่อไปนี้คือ

            ๑) ถ้าเป็นผู้ชายคนเดียว ลงท้ายด้วย "i" อ่านว่า "ไอ" ผู้ชายหลายคน หรือชื่อสกุล ที่หมายรวมถึง ผู้ชาย และผู้หญิงลงท้ายด้วย "-orum" ผู้หญิงคนเดียวลงท้ายด้วย "-ae" อ่านว่า "อี" ผู้หญิงหลายคน ลงท้ายด้วย "-arum"

            ๒) ในกรณีที่ชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรตินั้นเป็นชื่อผู้ชายลงท้ายด้วย "-i" อยู่แล้วให้เพิ่ม "-i" เข้าไปตามกฎข้อ ๑) แม้ว่าจะเป็น "-ii" ก็ตาม

            ๓) ในกรณีที่ชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติเป็นชื่อผู้ชายลงท้ายด้วย "-us" ให้ตัด ออกแล้วเติม "-us""-i" ตามกฎข้อ ๑) แม้จะเกิดเป็น "-ii" ก็ตาม

            ๔) ในกรณีที่ชื่อที่จะตั้งเพื่อเป็นเกียรตินั้น เป็นชื่อผู้หญิงที่ลงท้ายด้วย "-e" ต่อท้าย ตามกฎด้วย "-ae" หรือจะตัด "-e" ออกก่อนแล้วต่อท้ายด้วย "-ae" ก็ได้ หรือถ้าชื่อนั้นลงท้ายด้วย "-a" ให้ตัด "-a" ออกก่อน แล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ๑)

            ๕) ถ้าจะทำให้ชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติเป็นคำคุณศัพท์เพศชายให้ต่อท้ายด้วย "-ianus" เพศหญิงให้ต่อท้ายด้วย "-iana" และไม่มีเพศให้ต่อท้ายด้วย "-ianum"


            ๖) ถ้าชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรตินั้นมีสองชื่อให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

            ๗) ถ้าชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรตินั้นตั้งจากชื่อแรก (forename) ให้เปลี่ยนหาจากศัพท์ในภาษาคลาสสิกก่อน เช่น Ann, Anna, Anne เป็น annae

            ๘) ถ้าชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรตินั้นมีคำนำหน้าเช่น

            (๑) "Mac" "Mc" หรือ "M" ให้เขียนคำนำหน้าด้วยอักษรพิมพ์เล็ก และเขียนเต็ม เช่น Mc Cook เป็น maccooki M'Coy เป็น maccoyi

            (๒) ถ้าเป็น "O" ให้ตัดเครื่องหมายอะโพสโทรฟีออก และทำเป็นตัวพิมพ์เล็ก และเขียนให้ติดกัน เช่น O'Brien เป็น obrieni O'Connor เป็น oconnori


            (๓) คำนำหน้าชื่อ เช่น le, la, l', lesel, il, lo, du, de, des, del, della ให้เขียนนำหน้าด้วยอักษรตัวพิมพ์เล็ก และคงคำนำหน้าชื่อไว้ และให้เขียนติดกันเช่น La Farina เป็น lafarinai Lo Gato เป็น logatoi


            (๔) ถ้ามีคำนำหน้าชื่อที่มีความหมายในทางศาสนา เช่น ศาสนาคริสต์ ให้ตัดคำนำหน้าเสีย เช่น De Chellis เป็น chellisi St.Clair เป็น Clairi


            (๕) คำนำหน้าที่เป็นภาษาเยอรมันหรือดัทช์ ถ้าเขียนติดกันให้ลงเป็นพิมพ์เล็ก และดำเนินตามกฎข้างต้น ถ้าเขียนแยกกันให้ตัดคำนำข้างหน้าทิ้ง เช่น Vanhausen เป็น vanhauseni VonIhering เป็น iheringi


            ๓. ตั้งขึ้นตามชื่อในทางภูมิศาสตร์ มีหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติดังนี้คือ
 
            ๑) ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ให้ต่อท้ายด้วย "-ensis""-iensis""-icus", "-anus" แล้วเขียนนำด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น Siam เป็น siamensis Mexico เป็น mexicanus

            ๒) ถ้าเป็นคำนามให้ทำเป็นสัมพันธการก เช่น Rome เป็น romae Arizona เป็น arizonae

            ๓) ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภาษาโรมันหรือที่เขียนเป็นภาษาละติน ให้เขียนเข้ากับรากศัพท์เดิมเสมอ เช่น

(๑) ทำเป็นคำนามในสัมพันธการกเช่น Boredeaux เป็น burdigalae
(๒) ทำเป็นคุณศัพท์ต่อท้ายด้วย "-ensis", "-iensis" เช่น London เป็น londinensis

            ๔. ชื่อกลุ่มชนิดตั้งตามลักษณะนิเวศวิทยาให้ถือหลักการตั้งชื่อตามเพศของชื่อ กลุ่มสกุล เช่น subteranean เป็น subterraneus desert loving เป็น zero phila