จิตรกรรมไทยร่วมสมัย
ขรัวอินโข่งได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นผู้เริ่มต้นงานจิตรกรรมสมัยใหม่ เพราะในงานจิตรกรรมของท่าน การแสดงอารมณ์ และบรรยากาศ เป็นการแสดงออก ที่เป็นอิสระ และพ้นจากกฎเกณฑ์ของภาพเขียนแบบประเพณีโดยทั่วไป ผลงานของท่านแสดงออกถึงคุณค่าของงานจิตรกรรม ซึ่งอยู่เหนือเหตุผลทางทฤษฎีในการเขียนภาพ เป็นการชี้ทางให้ช่างเขียนยุคต่อๆ มาของไทย ได้มองเห็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่ไม่ซ้ำซาก ไม่ปิดกั้นความคิดของตน ไว้กับรูปแบบทางศิลปะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ภาพเขียน "วันฝนตกที่บรัคซาโน"
ฝีมือสวัสดิ์ ตันติสุข
ถ้าศึกษางานของจิตรกรไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา จะเห็นอิทธิพลของกลุ่มงานศิลปะของยุโรปได้ชัดเจน เช่น งานของเฟื้อ หริพิทักษ์สวัสดิ์ ตันติสุข ในระยะแรก ได้รับอิทธิพลของอิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (impressionism) และคิวบิสซึ่ม (cubism) จิตรกรรมของเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ เป็นเซอเรียลลิสซึ่ม (surrealism) ส่วนงานที่เป็นนอนฟิเจอเรทิพ (non - figurative) เห็นได้ชัดเจนในผลงานของจิตรกรไทยเป็นจำนวนมาก เช่น อิทธิพล ตั้งโฉลก ทวน ธีระพิจิตร เดชา วราชุน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงจากศิลปะแบบประเพณีมาเป็นสากลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้ เพราะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ที่เป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน