การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ ชักเย่อ (ชักกะเย่อ) ผู้เล่นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย มีจำนวนเท่ากัน (นอกจากจะตกลงกันเป็นพิเศษ เช่น ฝ่ายหนึ่งชาย ฝ่ายหนึ่งหญิง จะให้ชายมีจำนวนน้อยกว่าหญิงก็ได้) | |
การเล่นชักเย่อ | |
วิธีเล่น นำเชือกเส้นใหญ่ที่มีความแข็งแรงพอจะทานกำลังผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่จะดึงเชือกนั้นมาวาง มีเส้นเขตกลาง ซึ่งจะวางเชือกให้กึ่งกลางตรงเส้นพอดี แล้วให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจับสลาก หรือไม้สั้นไม้ยาวว่า ใครจะอยู่ด้านไหน เมื่อได้สลากแล้ว ผู้เล่นจะไปยืนประจำที่ข้างเชือกที่วาง กะระยะให้ห่างกัน พอให้ไม่ชนกันได้ขณะเอนตัวดึงเชือก เมื่อวางระยะดีแล้ว ผู้เล่นจะดึงเชือกให้สูงพอเอว ผู้ตัดสินจะไปยืนตรงเส้นเขตกลาง (ซึ่งเป็นเส้นชัยด้วย) เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณ ทั้งสองฝ่ายจะลงมือดึงเชือก พยายามให้อีกฝ่ายหนึ่งลู่ไปในทิศทางของตน แต่ละฝ่ายมีผู้ให้สัญญาณ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกัน ผู้ที่อยู่ต้นเชือก และหางเชือกเป็นคนสำคัญ ยิ่งในระหว่างดึงนั้น ถ้าผู้ใดเสียหลักยันพื้นไม่อยู่ ก็จะเสียกำลัง ความสนุกอยู่ที่ผู้ให้สัญญาณ และผู้เล่นที่มีท่าทางสีหน้าต่างๆ กัน การแพ้ชนะอยู่ที่ฝ่ายไหนสามารถดึงอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ลู่ตามไปถึงเส้นชัย จะเป็นฝ่ายชนะ การเล่นชนิดนี้ฝึกความพร้อมเพรียง ความอยู่ในระเบียบวินัย การทรงตัว และออกกำลังกาย ทั้งแขนและขา การละเล่นแบบนี้ในภาคเหนือเรียกว่า "ยู้ส้าว" มีวิธีการเล่นเหมือนกันกับภาคกลางแต่ภาคเหนือมีคำร้องประกอบ ลูกช่วง แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายเท่า ๆ กัน อุปกรณ์การเล่น ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่ห่อเอาหญ้าแห้ง หรือวัตถุนิ่มๆ ให้เป็นลูกกลมๆ ผูกชายไว้ ยาวพอจะโยนได้ | |
| วิธีเล่น แบ่งเขตผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ยืนห่างกันพอสมควร เริ่มต้น โยนลูกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ ถ้ารับได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะปาให้ถูกตัวคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ถ้าปาไม่ถูกก็พับไป ต้องโยนกลับไปให้ฝ่ายตรงข้ามให้เป็นผู้รับ ถ้าปาถูกคนไหน คนนั้นต้องไปเป็นเชลยอีกฝ่ายหนึ่ง เล่นสลับกันดังนี้ต่อไปจนเหนื่อย ฝ่ายไหนได้เชลยมาก ฝ่ายนั้นชนะ การเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความว่องไว และความรับผิดชอบ ภาคอีสาน และภาคใต้มีการเล่นคล้ายกัน ต่างกันที่การโยนลูกช่วงนั้น ผู้โยนลูกช่วงเป็นผู้ขี่คอคน ซึ่งสมมุติเป็นม้า การเล่นชนิดนี้ ภาคอีสานเรียกว่า "ม้าหลังโปก" ภาคใต้เรียกว่า "ขี่ม้าโยนรับ" "ขี้ม้าโยนผ้า" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อของคนและม้าตอนรับกัน ถ้าลูกตก ม้าเก็บได้ ก็อาจทำพยศ ให้คนตก เป็นต้น |
งูกินหาง วิธีเล่น ให้คนหนึ่งเป็นพ่องู อีกคนหนึ่งเป็นแม่งู พ่องูยืนหันหน้าเข้าหาแม่งู นอกนั้นเป็นลูกงูจับเอวกันเป็นแถวยาว ความยาวของลูกงูนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่น ในการเล่นมีบทพูดโต้ตอบกัน ดังนี้ พ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถวขึ้นมาหัวแถว แม่งูต้องพยายามป้องกัน ไม่ให้พ่องูเอาลูกงูไปได้ โดยการกางมือกั้น แล้วลูกงูต้องคอยวิ่งหนี แต่ต้องระวังไม่ให้แตกแถว เมื่อจับลูกงูได้ พ่องูจะถามลูกงูว่า พ่องูก็จะจับลูกงูให้ออกจากการเล่นไปอยู่เช่นนี้จนจับได้หมด ถ้าตอบว่า "กินกลางตลอดตัว" พ่องูจะจับลูกงูตัวแรกในบริเวณกลางลำตัว ต่อๆ ไปก็เลือกจับตามใจชอบ ลูกงูต้องหลบหลีกให้ดี ถ้าแม่งูตอบว่า กินหัวตลอดหาง พ่องูต้องพยายามปล้ำกับแม่งูให้แพ้ชนะให้ได้ แล้วจับลูกตั้งแต่หัวแถวลงไปจนหมด เป็นอันจบเกม | |
| |
การเล่นชนิดนี้ นอกจากให้ความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกภาษา ถ้าเป็นการเล่นของเด็กจะมีเพียงบทโต้ตอบดังกล่าว เพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสื่อสารในเรื่องความหมายของกริยาต่างๆ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะใช้บทร้องพระนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องอิเหนา ตอนเสี่ยงเทียน ให้เด็กร้องที่หน้าวิหารเพียง ๒ บท ต่อไปนั้นผู้เล่นก็จะใช้ปฏิภาณในการโต้ตอบจนพอใจ จึงจะวิ่งไล่จับกัน พ่องูจะถามซ้ำ แม่งูจะตอบว่า ไปกินน้ำบ่ออื่นๆ ร้องให้รับกัน การเล่นในภาคเหนือเรียกว่า "งูสิงสาง" วิธีเล่นคล้ายกัน แต่ไม่มีพ่องู แม่งู คนหนึ่งจะขุดดิน คนที่เหลือจับเอวกันเป็นงู ฝ่ายที่เป็นงูเดินไปรอบๆ แล้วมีการโต้ตอบกันระหว่างคนขุดดินกับงู เป็นภาษาเหนือล้อเลียนกัน ตอนแรกงูถามว่า ขุดอะไร ขอบ้าง (อ้างชื่อของในดิน เช่น แห้ว มัน) ต่อมาคนขุดดินของงูบ้าง งูไม่ให้ บอกให้ไล่จับเอา โค้งตีนเกวียน หรือระวงตีนเกวียน (ภาคอีสาน) วิธีเล่น ในภาคอีสานจะแบ่งคนเล่นเป็น สองพวก พวกหนึ่งยืน พวกหนึ่งนั่งสลับกันไป พวกที่นั่งเอาเท้ายันกันไว้ มือจับคนยืนจับกัน เป็นรูปวงกลม พวกยืนเดินไปรอบๆ พวกนั่งยกก้นพ้นพื้น หมุนไปรอบๆ ถ้าฝ่ายหนึ่งทำมือหลุด เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายยืน |
การเล่นชนิดนี้ภาคกลาง เรียกว่า "หมุนนาฬิกา หรือทอดกระทะ" เป็นการเล่นฝึกการทรงตัว ความพร้อมเพรียง และความอดทน |
|
จ้องเต หรือต้องเต |
การเล่นจ้องเตชนิดต่างๆ จ้องเตข้าม ผู้เล่นนำเบี้ยใส่หลังเท้าเดินโยนไปตามช่อง เวลาเดินเก็บเบี้ย แล้วเดินตามช่องต่างๆ ต้องไม่ทับเส้น หรือออกนอกตาราง ด้วยวิธีเดินเงยหน้า ถ้าเหยียบเส้น ผู้ที่เล่นด้วยจะร้อง "มิด" ถ้าข้ามช่องได้ผู้ร้องจะร้องว่า "ลอ" ถ้าร้องว่า "มิด" ก็ตาย ต้องให้ผู้อื่นเล่น นอกนั้นเหมือน "ตาเขย่ง" การเล่นแบบนี้ ฝึกความสังเกต และความแม่นยำในการกะระยะโยนเบี้ย คล้ายการเล่นของภาคอีสานที่เรียกว่า "มิดลอ"
| ||
ไม้หึ่งสั้น (ลูกหึ่ง) และไม้หึ่งยาว (แม่หึ่ง) วิธีเล่น ขุดหลุม ๑ หลุม กว้างพอที่จะวางลูกหึ่งขวางหลุมได้ ผู้เล่นชุดแรกเรียกว่า ฝ่ายรุก วางลูกหึ่งไว้ปากหลุม แล้วเอาแม่หึ่งงัดลูกหึ่งไปให้ไกลที่สุดที่จะไกลได้ ให้ฝ่ายรับรับลูกหึ่ง ถ้าฝ่ายรับรับได้ ฝ่ายรุกตาย ต้องเปลี่ยนกัน ถ้ารับไม่ได้ ฝ่ายรับนำลูกหึ่งโยนกลับมาให้โดยแม่หึ่ง ซึ่งฝ่ายรุกจะวางพาดไว้ปากหลุม ถ้าลูกหึ่งโดนแม่หึ่ง ฝ่ายรุกตาย ถ้าไม่ถูกก็เล่นตาต่อไป การเล่นมี ๓ ตา คือ ผู้ที่ตีได้ไกลที่สุดจะได้ขี่หลังฝ่ายตรงข้ามเท่ากับระยะทางที่ตกลงกัน และให้ฝ่ายที่ถูกขี่หลังร้อง "หึ่ง" ไปด้วย บางแห่งกำหนดกติกาไว้ด้วยว่า หากตีไปแล้ว อีกฝ่ายรับได้ จะต้องร้องหึ่งวิ่งกลับไปมา ระหว่างจุดที่ตีได้กี่เที่ยว จนกว่าหึ่งจะหยุด จะได้ขี่หลังเท่ากับจำนวนรอบที่วิ่งได้ | ||
การเล่นไม้หึ่ง การเล่นแบบนี้ ภาคอีสานเรียว่า "ไม้หิง" ภาคใต้เรียกว่า "ไม้ขวิด" หรือ "ไม้อี้" การเล่นไม้หึ่งให้ประโยชน์ในการฝึกใช้มือ ฝึกความไวของประสาทตา ฝึกความมีไหวพริบ และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ การเล่นสะบ้า | ||
ถ้าเป็นการเล่นหมู่ ผู้ที่ยิงถูกอาจไถ่ผู้ที่ยิงไม่ถูกได้ คือ ยิงแทนผู้ที่ยิงไม่ถูก เป็นการช่วยผู้เล่นร่วมชุด แต่ถ้าใครล้อเลยเขตเรียกว่า "เน่า" ก็ต้องตายทั้งชุด คือ ต้องยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่นต่อ นับเป็นการฝึกการรวมหมู่พวกที่ดี การเล่นชนิดนี้ สำคัญที่เป็นการฝึกความแม่นยำในการยิงเป้าหมาย ฝึกความระมัดระวัง และกะระยะ ไม่ให้เกินขอบเขตที่กำหนดไว้ เป็นการฝึกสายตาเป็นอย่างดี ท่าต่างๆ นี้ก็แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ใครจะคิดขึ้น เพราะการเล่นสะบ้ามีหลายจังหวัด นิยมเล่นทั้งหญิงชาย โดยเฉพาะภาคกลาง และภาคอีสาน การเล่นสะบ้าเท่าที่รวบรวมได้มี ๔๘ ท่า ท่าต่างๆ แต่ละจังหวัดก็แตกต่างกันไป แล้วแต่ใครจะคิดขึ้น นิยมเล่นกันมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วิธีเล่น คนที่เป็นแม่ศรีแต่งตัวสวยงาม จะเลือกคนที่รำไม่เป็นนั่งบนครกตำข้าว ที่อยู่กลางวง หรือที่ใดที่เลือกไว้ให้เด่นคนเดียว แล้วนำผ้ามาปิดตา ส่วนผู้เล่นที่เหลือ ก็จะร้องเพลง เชิญแม่ศรีให้เข้าผู้ที่เป็นแม่ศรี ร้องซ้ำไปซ้ำมา จนแม่ศรีลุกขึ้นรำ การเล่นแม่ศรี | ||
บทแม่ศรี แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวสะ ยกมือไหว้พระ ว่าจะมีคนชม ขนคิ้วเจ้าต่อ ต้นคอเจ้ากลม ชักผ้าปิดนม ชมแม่ศรีเอย ว่าว ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้น เพื่อความบันเทิง ที่นิยมเล่นกันเกือบทุกชาติเป็นเวลานานมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า มีขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้คิด บางทีว่าวยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นๆ ได้อีก การเล่นว่าวยังนิยมเล่นกันจนถึงปัจจุบันนี้ การเล่นว่าว โดยชักว่าวให้ลอยลมนิ่งอยู่กับที่ ในท้องฟ้า เพื่อดูความงาม ของว่าว | ||
ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีมือ โอกาสที่จะเล่นว่าว จากหลักฐานข้างต้นจะเห็นได้ว่า ว่าวเป็นการละเล่น เพื่อความบันเทิงของคนไทยทุกชั้น นับตั้งแต่ องค์พระมาหากษัตริย์ถึงคนสามัญ แล้วยังใช้ประโยชน์อื่นได้อีก และเล่นกันในหน้าหนาวตอนกลางคืน ปัจจุบันนิยมเล่นกัน ทั้งในหน้าหนาว และหน้าร้อน การเล่นว่าวต้องอาศัยกระแสลมเป็นสำคัญ กระแสดลมที่แน่นอนจะช่วยให้เล่นว่าวได้สนุก กระแสลมนี้มี ๒ ระยะ คือ | ||
ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีมือ ฤดูหนาว หรือหน้าหนาว ลมจะพัดจากผืนแผ่นดินลงสู่ทะเล คือ พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังปรากฏในสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาว่า เล่นว่าวในหน้าหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน หรือหน้าร้อน จะมีลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ หรือเรียกกันว่า ลมตะเภา ชาวไทยภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ นิยมเล่นว่าวในระยะนี้คือ ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน และมักจะเรียกกระแสลมที่พัดมาทางทิศนี้ว่า "ลมว่าว" | ||
วิธีเล่นว่าวของไทย
๓. การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ การเล่นว่าวแบบนี้ แตกต่างจากชาติอื่น ทั้งตัวว่าว และวิธีที่จะต่อสู้คว้ากัน การแข่งขันว่าวจุฬากับปักเป้านั้น ว่าวปักเป้ามีขนาดเล็กกว่าว่าวจุฬาประมาณครึ่งหนึ่ง การแข่งขันแบบนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็ยังมีการแข่งขันว่าวจุฬา และปักเป้า ในภาคกลางของประเทศไทยมาจนปัจจุบันนี้
| ||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ว่าวประทุน ว่าวหาง (นิยมเล่นกันมาก) ว่าวอีลุ้ม และว่าวคากตี่ (ว่าวจุฬา) ในงานบุญของภาคนี้ จะมีการแข่งขันว่าว ในด้านความงามและเสียงไพเราะ ในปัจจุบันนี้มีการแข่งขันว่าวกัน ๒ ประเภท ประเภทแรก คือ การแข่งขันว่าวจุฬา และปักเป้า คว้ากันบนอากาศ อีกประเภทหนึ่ง เป็นประเภทการละเล่น การแข่งขันเป็นการประกวดฝีมือในการประดิษฐ์ ซึ่งจะแยกเป็นด้านความสวยงาม ความคิด ความตลกขบขัน และความสามารถในการชักให้ว่าวแสดงความสามารถสมรูปทรง และให้สูงเด่นมองเห็นได้ชัด |