ช้างเทพ ๒๖ องค์ ช้างเอราวัณ ภาพจิตรกรรมฝาผนังตำราช้างเผือก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม | ชั้นและชื่อช้างเผือก ชั้นของช้างเผือกมี ๓ ชั้น คือ ช้างเผือกเอก ช้างเผือกโท และช้างเผือกตรี การจะกำหนดว่า ช้างเผือกเชือกใด จะเป็นชั้นใดนั้น ตำราคชลักษณ์กำหนดไว้ว่า แต่การกำหนดว่า ช้างเผือกแต่ละเชือกจะเป็นชั้นใดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้กำหนด ผู้เชี่ยวชาญการตรวจคชลักษณ์มีหน้าที่เพียงทำรายงานกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อประกอบกับพระบรมราชวินิจฉัยเท่านั้น ส่วนชื่อของช้างเผือก หรือช้างสำคัญ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ มีคำที่ความหมายว่า ช้างอยู่ด้วย เช่น คชา กุญชร หัตถี หสดิน คเชนทร์ เช่น พระบรมคชลักษณ์ พระเทพกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมหัสดิน พระบรมวิไลเชนทร์ เป็นต้น ประเภทที่ ๒ ตั้งชื่อตามลักษณะบางอย่างของช้าง เช่น ช้างพลายเล็บครบ มีชื่อว่า พระบรมนัขมณี ช้างพลายงาเดียว มีชื่อว่า พระบรมเมฆเอกทนต์ ช้างหลายเล็บดำ มีชื่อว่า พระพิไชยนิลนัข ช้างพลายสีนิล มีชื่อว่า พระสรีสกลกฤษณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ชื่อช้างเผือกจะมีชื่อเป็น พระยา เจ้าพระยา เหมือนบรรดาศักดิ์ข้าราชการในสมัยก่อน เช่น พระวิสูตรรัตนกิริณี พระยาเศวตไอยรา เจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้ใช้คำว่า พระเศวต นำหน้าชื่อ และลงท้ายด้วยคำว่า เลิศฟ้า |