ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ช้างเอราวัณในเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๑. ตาขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๒. เพดานขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๓. เล็บขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๔. ขนขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๕. พื้นหนังขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๖. ขนหางขาว ช้างสำคัญจะมีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ : ๗. อัณฑโกสขาว การคล้องช้างในเพนียด | คำว่า ช้างเผือก เป็นคำที่เรียกกันมาแต่โบราณ และเข้าใจว่า ช้างเผือกจะต้องมีสีขาวเสมอไป อย่างเช่นช้างเผือกที่เราได้เห็นในภาพวาดประกอบในวรรณคดี และชาดกต่างๆ จะ มีสีขาว เช่น ช้างเอราวัณ ในเรื่องรามเกียรติ์ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬาร์ (สีสังข์ ก็คือ สีขาวเหมือนหอยสังข์) ช้างปัจจัยนาค หรือปัจจัยนาเคนทร์ ในเวสสันดรชาดก ช้างปัจจัยนาคเป็นลูกนางช้างอากาศจารินี (ช้างที่ท่องเที่ยวไปในอากาศ) นางช้างผู้เป็นมารดาท่องเที่ยวมาถึงแคว้นสีพี ได้นำลูกช้างเผือกขาวผ่องมาไว้ในโรงช้างต้น ของพระเจ้ากรุงสญชัย ในวันเดียวกับที่พระเวสสันดรประสูติ แล้วนางช้างผู้เป็นมารดาก็จากไป ช้างปัจจัยนาค จึงเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระเวสสันดรโดยแท้ แต่ทางราชการกำหนดศัพท์สำหรับเรียกชื่อช้าง ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ ไว้ดังนี้ คำว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ คำว่า "ช้างสีประหลาด" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่างคือ คำว่า "ช้างเนียม" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างมีลักษณะ ๓ ประการ คือ มีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ช้างเผือกเกิดขึ้น เพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์เป็นที่เชิดชูพระเกียรติยศ และพระบรมเดชานุภาพ ช้างเผือกจะเกิดขึ้นในรัชกาลใดถือกันว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นั้น มีพระบารมีสูงส่ง จะได้รับการยกย่องเลื่องลือในพระราชอำนาจ และพระเกียรติยศแผ่ไปยังนานาประเทศ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงได้ช้างเผือก ๗ เชือก ได้รับการถวายพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เป็นต้น ช้างเผือกเป็นของหายาก และเป็นมงคล สำหรับบ้านเมือง ดังนั้นในพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ จึงกำหนดไว้ว่า "มาตรา ๑๒ ผู้ใดมีช้างสำคัญ หรือช้างสีประหลาด หรือช้างเนียม โดยเหตุที่ตนจับได้ หรือโดยแม่ช้างของตนตกลูกออกมา หรือโดยเหตุอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ต้องนำขึ้นทูลถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จให้ตามสมควร บรรดาช้างชนิดที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องเป็นและคงเป็นสมบัติของแผ่นดินเสมอ การที่จะโอนกรรมสิทธิ์แก่กัน โดยวิธีซื้อขายแลกเปลี่ยน ได้ปัน หรือโดยวิธีอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีนับว่า ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น ผู้ที่ยึดถือช้างเช่นนั้นไว้ ต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ในเมื่อเจ้าหน้าที่บอกให้นำส่ง และเจ้าหน้าที่มีอำนาจจะเข้ายึดเอาตัวช้างได้แม้โดยอำนาจ หากผู้ที่รักษาช้างอยู่นั้นบิดพลิ้ว ไม่ยอมมอบตัวให้" และได้กำหนดบทลงโทษไว้ "มาตรา ๒๑ ผู้ใดมีช้างสำคัญ หรือช้างสีประหลาด หรือช้างเนียมแล้ว และปล่อยเสีย หรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ หรือจะอย่างไรก็ตาม หากขัดขืนไม่นำขึ้นทูลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามความในมาตรา ๑๒ มีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท และโทษนี้ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นจักพึงต้องริบเป็นของหลวง" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ เมื่อมีผู้จับช้างเผือกได้ หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมาเป็นช้างเผือก จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยทราบ แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบ ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญในการดูลักษณะช้างไปตรวจดูอีกครั้งหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจดูลักษณะช้างตามตำราคชศาสตร์ ตำราคชศาสตร์ คือ ตำราว่าด้วย ช้างเผือก มี ๒ ตำรา คือ ๑.คชลักษณ์ กล่าวถึงรูปพรรณสันฐานของช้างต่างๆ ทั้งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณและโทษตามแต่ลักษณะช้าง ๒.คชกรรม คือ ตำรที่รวบรวมเวทมนตร์คาถา กระบวนการจับช้างรักษาช้าง และบำบัดเสนียดจัญไรต่างๆ กำเนิดของช้างตำราสร้างโลก กล่าวว่า พระนารายณ์เสด็จบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร แล้วกระทำอธิษฐาน ด้วยเทวฤทธิ์ให้ดอกบัวผุดขึ้นที่พระอุทร ดอกบัวนั้นมี ๘ กลีบ ๑๗๓ เกสร แล้วจึงนำดอกบัวนั้น ไปถวายพระอิศวร พระอิศวรจึงแบ่งดอกบัวนั้นเป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่ง ๘ เกสร เป็นของพระอิศวร ส่วนหนึ่ง ๒๔ เกสร เป็นของพระพรหม ส่วนหนึ่ง ๘ เกสร เป็นของพระนารายณ์ ส่วนหนึ่ง ๑๓๓ เกสร เป็นของพระเพลิง (พระอัคนี) พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ จึงได้สร้างช้าง ๔ ตระกูล พระอิศวรสร้างช้าง ๘ หมู่ พระพรหม สร้างช้าง ๑๐ หมู่ และช้างอัฎฐทิศ ๘ หมู่ พระนารายณ์สร้างช้าง ๘ หมู่ พระเพลิงสร้างช้างที่มีลักษณะดี ๔๒ ช้าง ช้างอำนวยพงศ์ คือ ช้างตระกูลประสมกันมีลูกแปลกออกไปอีก ๑๔ ตระกูล และช้างปาปลักษณ์ คือ ช้างที่มีลักษณะไม่เป็นมงคลอีก ๘๒ ช้าง |
พระพิฆเนศ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตรวจดูลักษณะ "สนับงาของช้าง" | ช้างที่พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ องค์สร้างนั้น ได้มีการแบ่งวรรณะเหมือนคนในประเทศอินเดีย ดังนี้ อิศวรพงศ์ คือ ช้างที่พระอิศวรสร้างเป็นวรรณะกษัตริย์ ลักษณะหนังเนื้อดำสนิท ผิวพรรณละเอียดเกลี้ยง หน้าใหญ่ โขมดสูง น้ำเต้ากลม งวงเรียวแลดูเป็นต้น และปลายเงาทั้งสองใหญ่งอนขึ้นอยู่เสมอกัน ปากรีแหลมรูปเป็นพวยหอยสังข์ คอกลมเมื่อเดินยกเป็นสง่าหน้าสูงกว่าท้าย ทรวงอกผึ่งผายใหญ่กว้างแสดงกำลัง ท้ายเป็นสุกร หลังเป็นคันธนู ขนดท้องตามวงหลัง ขาหน้าทั้งสองอ่อนประหนึ่งแขนเท้า เท้าและข้อเท้าหน้าหน้าหลังเรียวรัดดังฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาแลเห็นเป็น ๒ ชั้น ขมับเต็มไม่พร่อง หูใหญ่ ช่อม่วงข้างขวายาว ใบหูอ่อนนุ่มมีขนขึ้นมากกว่าข้างซ้าย พรหมพงศ์ คือ ช้างที่พระพรหมสร้างเป็นวรรณะพราหมณ์ ลักษณะเนื้อหนังอ่อนขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ หน้าใหญ่ท้ายต่ำน้ำเต้าแฝด ขนงคิ้วสูง โขมดสูง มีกระทั่วตัวดังดอกกรรณิการ์ ขนหลัง ขนหู ขนปาก และขนตายาว ขุมหนึ่งขึ้น ๒ เส้น อกใหญ่ งวงเรียวรัด งาใหญ่ ปลายและต้นสมส่วนงาสีดอกจำปา วิษณุพงษ์ คือ ช้างที่พระนารายณ์สร้างเป็นวรรณะแพศย์ ลักษณะผิวเนื้อหนังนาขนเกรียน ทรวงอก คอ และสีข้าง เท้าทั้งสี่ใหญ่ได้ขนาด หาง งวงและหน้ายาวใหญ่อย่างประหลาด มีกระที่หูแดง ประไปสม่ำเสมอกันตาใหญ่ขุ่นหลังราบ อัคนีพงศ์ คือ ช้างที่พระเพลิงสร้าง เป็นวรรณะศูทร ลักษณะผิวเนื้อแข็งกระด้าง ขนหยาบ หน้าเป็นกระแดงดั้งแววมยุรา งาแดง หลังแดง หน้า งวงแดง ผิดเนื้อหม่นไม่ดำสนิท ตะเกียบหูห่าง หางเขิน ตาสีน้ำผึ้ง ตามตำราพระคชลักษณ์กล่าวว่า พระเป็นเจ้าให้เกิดช้าง ๗ สี คือ เหลือง ขาว แดง เขียว ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยศุภลักษณะ (ลักษณะดี) อีก ๑๑ ประการ คือ ขน หาง ตา เล็บ อัณฑโกส ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา คางใน ไรเล็บ หรือไม่น้อยกว่า ๕ ประการ จึงจะนับว่าสมบูรณ์ด้วยคชลักษณ์ เมื่อผู้เชี่ยวชาญในการดูลักษณะช้างได้ตรวจสอบตามตำราจนครบถ้วนแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดที่ได้ช้าง หรือนำมาสมโภชขึ้นระวางที่กรุงเทพฯ ก็ตามแต่พระราชประสงค์ ก่อนประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระหมอเฒ่า หรือผู้ชำนาญการดูแลช้าง จะทำพิธีจับเชิง เป็นการฝึกและสอนช้างให้รู้จักหมอบ รู้จักจบ (ทำความเคารพ) ฝึกให้ยืนบนแท่นเสาตะลุง เบญพาดพร้อมด้วยเครื่องผูกมัด เพื่อให้ยืนโรง ในพระราชพิธี เหตุที่ต้องทำพิธีจับเชิงก็เพราะ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญที่ได้มานั้น จะเป็นช้างป่า หรือช้างบ้านก็ตาม ไม่เคยถูกผูกมัด และยืนในโรงช้าง |