ผู้ผลิตของเสียที่เป็นอันตรายจะต้องมีการเก็บกักของเสียอย่างเหมาะสม
การลดปริมาณการผลิตของเสียที่เป็นอันตราย
การลดปริมาณการผลิตของเสียที่เป็นอันตราย นับเป็นการจัดการที่ต้นเหตุ ซึ่งทำให้เกิดปัญหา การทำให้มีปริมาณของเสียที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นน้อยลง อาจทำได้หลายวิธี คือ
ของเสียที่ผ่านขบวนการบำบัดในเบื้องต้น
การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย
การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย หมายถึง การเก็บรวบรวมของเสียที่เป็นอันตราย ณ จุดกำเนิด ในระหว่างเวลาที่รอการเก็บขนไปกำจัด หรือทำลาย การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย นิยมเก็บไว้ในถัง ซึ่งมีทั้งที่ทำด้วยโลหะ พลาสติก ไฟเบอร์กลาสส์ และแก้ว แต่ถ้ามีปริมาณมากๆ อาจเก็บไว้ในบ่อก็ได้ แต่ต้องทำคันดินล้อมรอบ และต้องบุพื้นบ่อและผนังโดยรอบบ่อด้วยวัสดุ กันซึม และมีท่อสำหรับรวบรวมน้ำเสียที่อาจ เกิดการรั่วไหลออกไปบำบัดด้วย
หลักการสำคัญในการเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย ได้แก่
เครื่องรีดน้ำออกจากกากตะกอน
การเก็บขนและการขนส่งของเสียที่เป็นอันตราย
การเก็บขน และการขนส่งของเสียที่เป็น อันตราย หมายถึง การเก็บรวบรวมของเสียที่เป็นอันตราย ที่เก็บกักไว้ ณ จุดกำเนิด เพื่อลำเลียง หรือเคลื่อนย้ายไปทำการบำบัด และกำจัดทำลาย การเก็บขน และขนส่งของเสียที่เป็นอันตราย สามารถทำได้ทั้งโดยการใช้รถยนต์ เรือ หรือ รถไฟ การบรรทุกของเสียไปกำจัดอาจทำได้ ๒ วิธี คือ สูบของเสียใส่ในตัวถังบรรทุกของพาหนะ ซึ่งปกปิดมิดชิดทุกด้าน และใส่ของเสียในถังที่ มีฝาปิดมิดชิดและตั้งวางเรียงในตัวถังบรรทุก ของพาหนะ
พาหนะที่ใช้เก็บขนของเสียที่เป็นอันตราย ควรจะมีลักษณะแตกต่างจากพาหนะทั่วไป เช่น ต้องแข็งแรง สามารถป้องกันการรั่วซึมไหลของของเสีย ในกรณีอุบัติเหตุมีสัญลักษณ์ หรือคำเตือนให้รู้ว่าเป็นของเสียที่เป็นอันตราย ต้องมีระบบควบคุมไม่ให้ของเสียหกหล่นระหว่างการขนส่ง ในบางประเทศต้องมีใบกำกับการ ขนส่งของเสียที่เป็นอันตรายด้วย ในใบกำกับ จะระบุชื่อผู้ผลิตของเสีย ผู้ที่ทำการเก็บขนและ ขนส่ง สถานที่ที่จะนำไปกำจัด รวมทั้งระบุชนิด และปริมาณของของเสีย ลักษณะภาชนะบรรจุ ตลอดจนคำเตือนสำหรับของเสียที่ต้องได้รับการ เก็บขนและขนส่งด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ใบกำกับการขนส่งนี้ ต้องมีสำเนาอย่างน้อย ๔ ฉบับให้ผู้ผลิตของเสีย ผู้ขนส่ง ผู้ดูแลสถานที่ กำจัด และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำ ของเสียไปทิ้งที่อื่น
การบำบัดของเสียที่เป็นอันตราย
การบำบัดของเสียที่เป็นอันตราย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ หรือทางเคมีของของเสีย หรือสารพิษที่เจือปนอยู่ในของเสีย เช่น ลดปริมาตรให้น้อยหรือหมดความเป็น พิษ หรือมีความเป็นพิษน้อยลง หรืออยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นพิษออกมาได้ เพื่อสะดวกต่อการกำจัดทำลายในขั้นต่อไป การบำบัดของเสียสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
๑) ทำให้เป็นก้อน
โดยนำของเสียมาผสมกับซีเมนต์ หรือคอนกรีต ทำให้เป็นก้อน หรือนำมาเก็บในภาชนะ และหุ้มด้วยซีเมนต์ หรือคอนกรีต ป้องกันไม่ให้ของเสียถูกชะล้างหลุดออกมาได้ วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้กับของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง หรือกึ่งของแข็ง เช่น กากตะกอนของของเสียที่มีสารโลหะหนักเจือปนอยู่ ตัวอย่างของเสียที่นิยมบำบัดด้วยวิธีนี้ ได้แก่
ก. ของเสียที่มีสารปรอทเจือปน เช่น ซากหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ให้นำมาบดให้มีขนาดเล็กลง แล้วเติมสารละลายของโซเดียมซัลไฟด์ เพื่อให้ได้สารประกอบของปรอทที่คงตัว จากนั้นจึงนำไปผสมกับซีเมนต์ หล่อให้เป็นก้อน นำเก็บรวมไว้ หรือไปฝังดิน
ข. ของเสียที่มีสารแมงกานีสเจือปน เช่น ซากแบตเตอรี่ ซากถ่านไฟฉาย ให้นำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเติมสารละลายด่าง เช่น ปูนขาว ผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำไปผสมกับซีเมนต์ทำให้เป็นก้อน
๒) ทำให้แห้ง
โดยการนำมาผึ่ง กรอง ปั่น หรือบีบเอาน้ำออก วิธีนี้เป็นการทำให้ปริมาตรของเสียลดลง นิยมใช้สำหรับการบำบัดของเสียที่มีลักษณะกึ่งของแข็ง หรือกากตะกอน เช่น กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย
๓) ทำให้เป็นกลาง
ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะสามารถกัดกร่อนวัสดุต่างๆ ได้ จึงต้องทำให้มีฤทธิ์เป็นกลาง โดยการเติมด่างลงไป ในทำนองเดียวกัน ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะเติมกรดลงไป เพื่อทำให้มีฤทธิ์เป็นกลาง
๔) ใช้สารเคมีทำลายฤทธิ์
โดยการเติมสารเคมี เพื่อให้ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารพิษเจือปนอยู่ในของเสีย เพื่อทำให้สารพิษนั้นอยู่ในรูปของสารประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นพิษ ตัวอย่างเช่น ของเสียจำพวกยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และยากำจัดเชื้อรา จะใช้สารละลายด่าง เช่น ปูนขาว เพื่อทำลายฤทธิ์ของตัวยาแต่ละชนิด
๕) ใช้สารเคมีทำให้ตกตะกอน
โดยการเติมสารเคมี เพื่อทำให้สารที่เจือปนอยู่ในของเสีย ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายแยกตัว และตกตะกอนออกมา สารเคมีที่นิยมใช้ในการตกตะกอน ได้แก่ ปูนขาว
๖) ใช้ขบวนการชีววิทยา
เป็นการบำบัดของเสีย เพื่อลดปริมาณของเสีย ที่สามารถกำจัดได้ด้วยจุลินทรีย์ เช่น สารอินทรีย์ต่างๆ โดยจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลาย และเปลี่ยนสารอินทรีย์ต่างๆ ไปเป็นก๊าซ และได้เซลล์ของจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น หรือโดยการใช้เอนไซม์ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นในการย่อยสลายสารต่างๆ
๗) ใช้เตาเผา
เตาเผาที่ใช้เผาของเสียที่เป็นอันตราย จะต้องเป็นเตาเผาที่มีอุณหภูมิการเผาสูง และมีระบบควบคุมสารมลพิษ ที่เกิดจากการเผาด้วย เช่น ระบบดักฝุ่นและก๊าซ ระบบบำบัดน้ำเสีย วิธีนี้นิยมใช้บำบัดของเสีย จำพวกกากน้ำมัน และของเสียอื่นๆ ที่มีสารอันตรายเจือปนอยู่ในปริมาณไม่สูงมากนัก ตลอดจนของเสียที่ผ่านการทำลายฤทธิ์มาบ้างแล้ว
การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์
การนำของเสียมาใช้ประโยชน์ สามารถทำได้หลายลักษณะ
๑. คัดแยกนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีบางอย่าง เช่น ตกตะกอน กลั่น แยกด้วยไฟฟ้าในสารตัวทำละลาย ใช้สารเคมีทำปฏิกิริยา ของเสียที่นิยมคัดแยกนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กากน้ำมัน สารตัวทำละลายใช้แล้ว สารตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว และของเสียที่มี โลหะหนักเจือปน เป็นต้น
๒. นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิตอื่น
๓. แปรสภาพของเสียไปใช้ประโยชน์ ในรูปพลังงาน เช่น นำของเสียไปเผา เพื่อนำความร้อนไปใช้ประโยชน์
๔. และอื่นๆ
การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยลดปริมาณของเสียที่ต้องนำมากำจัดแล้ว ยังเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะต้องนำมาใข้ในขบวนการผลิต ตลอดจนประหยัดพลังงานที่ใช้ในการผลิต และการกำจัดอีกด้วย
การกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายในขั้นสุดท้าย
การกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายในขั้นสุดท้าย หมายถึง การทำให้ของเสียนั้นหมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบการจัดการของเสีย วิธีการกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายที่นิยมใช้ ได้แก่
๑) ฝังดิน
คือ การนำของเสียไปฝังในบ่อดินที่ขุดเตรียมไว้ ต้องบุก้นบ่อและผนังโดยรอบ ด้วยวัสดุกันซึม เช่น ดินเหนียว หรือแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสีย หรือน้ำเสีย จากของเสียไหลซึมออกไปปนเปื้อนภายนอก โดยที่ก้นบ่อจะมีท่อรับน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดด้วย และเมื่อฝังของเสียจนเต็มบ่อแล้ว จะต้องปิดบ่อด้วยแผ่นพลาสติก หรือดินเหนียวด้วย
๒) ทิ้งทะเล
โดยบรรจุของเสียใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้องกันการรั่วไหลของของเสีย แล้วนำไปทิ้งในทะเลลึก ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ เมตร ให้ภาชนะที่บรรจุของเสียนั้น วางอยู่บนชั้นดิน หรือชั้นทรายของทะเล หรือให้ภาชนะนั้น ฝังลงในชั้นดิน หรือชั้นทรายของทะเล ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า ๑๐-๓๐ เมตร
๓) ปล่อยให้ซึมในชั้นดิน
โดยอัดฉีดของเสียลงในบ่อที่มีระดับความลึกกว่าระดับน้ำใต้ดิน และน้ำบาดาล เพื่อให้ของเสียนั้นซึม และกระจายอยู่ในชั้นดิน โดยไม่มีผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต