เล่มที่ 17
ของเสียที่เป็นอันตราย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ของเสียที่เป็นอันตราย อาจถูกทิ้งลงแม่น้ำลำคลองจากเรือที่วิ่งไปมา
ของเสียที่เป็นอันตราย อาจถูกทิ้งลงแม่น้ำลำคลองจากเรือที่วิ่งไปมา

การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้องครบวงจร จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี
การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้องครบวงจร จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี

การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้องครบวงจร จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี  จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี
การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้องครบวงจร จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี
กฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรจัดการของเสียที่เป็นอันตราย

            ปัจจุบันกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย ที่เป็นอันตรายในประเทศไทย มีหลายฉบับ ได้แก่

๑) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕


            เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อการควบคุมการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายดังกล่าว ได้นำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๑ และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๑๒ มาใช้บังคับ โดยภายใต้กฎหมายดังกล่าว ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม โดยทำการเก็บรวบรวม และกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ สารกัดกร่อน สารเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย และสารมีพิษ เช่น สารหนู แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว และปรอท นอกจากนี้ยังระบุชื่อของสารตัวทำลาย และประเภทของวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่จะต้องมีการเก็บ ทำลาย ฤทธิ์ กำจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายตามวิธีที่กำหนด ไว้

๒) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕


            เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อควบคุม การนำเข้า ส่งออก การผลิต การจำหน่าย การครอบครอง การขนส่ง และการใช้สารอันตราย ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ตามความจำเป็นแก่การควบคุม และให้มีการตั้งศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายขึ้น ในกระทรวงอุตสาหกรรม

๓) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕

            ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการดูแลสภาวะแวดล้อมของประเทศ โดยให้มีการควบคุมภาวะมลพิษ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้

๔) พระราชบัญญัติอื่นๆ


            ส่วนใหญ่มีสาระของกฎหมาย เน้นเรื่องบทลงโทษเพียงอย่างเดียว เช่น พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงคมนาคม ที่ห้ามมิให้มีการทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรือ เป็นพิษต่อชีวิต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท เป็นต้น

            หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดการของเสียที่เป็นอันตราย ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลของเสียที่เป็นอันตราย จากกิจกรรมแต่ละประเภท ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และการเกษตรกรรม

            หากหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชน ให้ความร่วมมือในการ ป้องกัน ควบคุม และจัดการกับของเสียที่เป็น อันตรายอย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะส่งผลให้สภาพ แวดล้อมในทุกๆ ด้านดีขึ้น ซึ่งจะให้คุณภาพ ชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วย