พืชที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ฝ้าย (cotton)
ฝ้าย เป็นพืชให้เส้นใยที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เรียกกันว่า ขนสัตว์ธรรมชาติจากพืช ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อยู่ในวงศ์มัลวาซีอี (Malvaceae) สกุลกอสซีเปียม (Gossypium) และชนิดที่ปลูกกันมาก คือ เฮอร์ซูตุม (hirsutum) มีดอกสมบูรณ์เพศที่มีกลีบดอกสีครีมเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปแล้วมีอายุตั้งแต่ปลูก จนดอกเริ่มบานประมาณ ๕๐ วัน ต่อจากนั้นอีกประมาณ ๕๐ วัน ต่อจากนั้นอีกประมาณ ๕๐ วัน ก็จะเก็บเกี่ยวฝ้ายปุยทั้งเมล็ด จากสมอที่แก่เต็มที่ จนแตกออกตามรอยแยก ปล่อยให้ปุยฟูสีขาวเป็นส่วนใหญ่ โผล่ออกมาจากเปลือกสมอ หรือผลฝ้ายที่ห่อหุ้มอยู่ ดอกฝ้ายจะทยอยแตกออกตามข้อแทบทุกวัน เป็นเวลาประมาณ ๗ สัปดาห์
ประเทศไทยผลิตปุยฝ้ายได้เพียงประมาณร้อยละ ๑๐ ของความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ต้องสั่งฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาป้อนโรงงานปั่นด้ายกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี มีมูลค่าประมาณ ๙,๐๐๐ ล้านบาท เหตุผลที่สำคัญในการทำให้การผลิตฝ้ายตกต่ำก็คือ ปัญหาแมลงศัตรูที่ทำลายผลิตผล ต้องมีการใช้สารกำจัดแมลงที่เป็นพิษต่อสุขภาพด้วย จึงไม่เป็นที่นิยมเมื่อปราบแมลงศัตรูไม่ได้ผล การผลิตล้มเหลวหรือประสิทธิภาพต่ำ ขาดทุนทรัพย์ มีความเสี่ยงสูง และสุขภาพเสื่อม จึงปลูกกันน้อย
การแก้ไขปัญหาการผลิตฝ้ายตกต่ำ เป็นเรื่องที่ใหญ่โต และยากมาก ต้องได้ความร่วมมืออย่างดีจากรัฐและเอกชน ในด้านการเงินการจัดองค์กร และมาตรการในการผลิต ให้เป็นไปอย่างเป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เทคโนโลยีในการผลิตฝ้ายสำหรับเศรษฐกิจและสังคมอย่างไทยนั้น กสิกรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงได้ปฏิบัติกันอยู่แล้ว
การดึง (เก็บเกี่ยว) เส้นใยที่ติดอยู่กับเมล็ดออกจากผลหรือสมอฝ้าย
ป่านลินินหรือแฟลกซ์ (flax)
เส้นใยสินินใช้ในงานหลายประเภท เช่น เสื้อผ้าฤดูร้อน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าม่าน ผ้าห่ม ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเต็นท์ ผ้าใบ ผ้าซับใน พรม ด้ายเย็บผ้า เชือกตกปลา และเชือกอื่นๆ
ป่านลินินเป็นพืชในวงศ์สินาซีอี (Linaceae) ให้เส้นใยจากส่วนของเปลือกของลำต้นเช่นเดียวกับปอ ดังนั้น การนำเส้นใยออกมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอพวกทอผ้า จึงค่อนข้างยุ่งยากกว่าฝ้าย
เส้นใยป่านลินิน มีความยาวเฉลี่ย ๕๐ เซนติเมตร มีเซลล์ต่อกันเป็นข้อๆ และยึดรวมกันเป็นหมู่ด้วยยางเหนียว เซลล์หนึ่งๆ ยาว ๒.๕-๓.๐ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๑๘ ไมครอน (๑/๑,๐๐๐ มิลลิเมตร) เมื่อเปรียบเทียบกับฝ้าย มีความเหนียวมากกว่า ๒ เท่า ยืดตัวได้น้อยกว่าเส้นใย เมื่อเปียก มีความเหนียวสูงขึ้น มีความถ่วงจำเพาะ ๑.๕ ซึ่งหนักกว่าไหม และขนสัตว์ สามารถดูดซึมความชื้นได้ดี และเป็นมันมาก ติดไฟช้า เป็นฉนวนกันความร้อนดี ทนต่อแสงอัลตราไวโอเลตได้มาก เส้นใยป่านลินินมีปริมาณเซลลูโลสภายในเส้นใยน้อยกว่าฝ้าย ป่านลินินไม่ฟอกขาวจะมีลิกโนเซลลูโลสประมาณ ๑-๒% ทนกรดได้สูงกว่าฝ้าย แต่ทนด่างได้น้อยกว่าทนกรดคลอริก (กรดเกลือ) ได้น้อย แต่ทนกรดกำมะถันได้ดี ความร้อนเป็นอันตรายใยลินินมากกว่าฝ้าย ย้อมสีได้เช่นเดียวกับฝ่าย เส้นใยลินินแต่ละเส้นละเอียด ยาว เกาะกันเป็นกลุ่ม เหนียวมาก ใช้ได้ทน เวลาสัมผัสรู้สึกนุ่มมากติดไฟยาก ทนน้ำดูดความชื้น และระเหยได้เร็ว เปียกชื้นเร็วกว่าฝ้ายเป็นรอยพับ และยับง่าย
เครื่องลอกเส้นใยป่านลินิน