เล่มที่ 17
พืชเส้นใย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
พืช ที่ใช้ทำแปรงและเสื่อ

            เส้นใยพวกที่ใช้ทำแปรงและลูกขัด (buff) จะเป็นพวกที่เส้นใยแข็ง เช่น เส้นใยจากเปลือกหรือกาบมะพร้าว อันที่จริงหมายถึง ส่วนที่อยู่ได้เปลือกหุ้มผลชั้นนอก (mesocarp) และใบป่านศรนารายณ์ ซึ่งกล่าวไว้ในพืชที่ใช้ทำเชือก ส่วนพวกที่ใช้ในการสานหรือทอเป็นฝืนเสื่อหรือสิ่งของอื่นๆ ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในลักษณะของกลุ่มเส้นใย ซึ่งยังเชื่อมติดกันอยู่ตามธรรมชาติของพืช ไม่ได้แยกออกมาเป็นเส้นเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีการทำกันบ้างก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ย่านลิเภา กล้วยและที่ใช้กันมากก็คือ กก ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีหัวอยู่ใต้ดินแบบแห้ว บางชนิดที่เราใช้เป็นอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เช่นเดียวกับข้าว ดังนั้น จึงใช้วิธีการปลูกคล้ายกับการทำนา แต่ทำได้สะดวกกว่า เพราะเมื่อตัดใบไปใช้แล้ว ก็ปล่อยให้แตกหน่อใหม่โดยไม่ต้องปลูกใหม่แบบข้าว เมื่อกกอายุได้ประมาณ ๓-๔ เดือน ก็จะตัดเอาส่วนที่เป็นใบหรือต้นปลอม (เพราะไม่เป็นปล้องหรือมีข้อ) ที่อาจมีลักษณะสามเหลี่ยมหรือกลม ข้างในกลวงแบบใบหอม เอาไปผ่าเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ (สำหรับบางชนิด) ขูดให้เหลือแต่ผิว ๆ ที่แข็งแรง ตากให้แห้ง ย้อมสีให้สวยงามตามต้องการ แล้วทอเป็นผืนเสื่อหรือภาชนะต่างๆ ในหลายท้องที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านทอเสื่อจันทบูร หรือเสื่อชี ตลอดจนในจังหวัดอื่น เช่น จังหวัดปราจีนบุรี

ส่วนโคนของกก ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีหัวอยู่ใต้ดินแบบแห้ว