ความรู้ ทางวิชาการที่จำเป็นสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืช งานปรับปรุงพันธุ์พืชไม่ใช่วิชาการแขนงหนึ่งแขนงใดโดยเฉพาะ แต่เป็นงานที่ต้องนำความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆมาประยุกต์ และผสมผสานเข้าด้วยกัน วิชาการที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ๑. พืชกรรม สิ่งสำคัญประการแรก นักปรับปรุงพันธุ์จะต้องรู้จักปลูกพืชให้เจริญเติบโต จนออกดอก และตกผลได้จะต้องมีใจรักต้นไม้ และอยู่ใกล้ชิดกับต้นไม้ที่ตนต้องการปรับปรุงพันธุ์อยู่เสมอ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ความขยัน อดทน และช่างสังเกต | |
ชาวต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ สิริกิติ์ โดยนำมาเป็นนามของดอกไม้งาม ๓ ชนิด คือ กุหลาบ ควีนสิริกิติ์ | |
๒. พฤกษศาสตร์ คือความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะ และวงจรชีวิตของพืช เป็นสิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ควรทราบ วิชาการเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นแขนงต่างๆ ดังนี้ เช่น อนุกรมวิธาน (การศึกษาวิธีการจำแนกชนิด และจัดหมวดหมู่พืช) ภายวิภาค (การศึกษาโครงสร้างภายในและส่วนประกอบของเซลล์และส่วนต่างๆ ของพืช) พฤกษชีพวิทยา (การศึกษากระบวนการเติบโตของพืช) สรีรวิทยา (การศึกษาว่าด้วยคุณสมบัติและการกระทำหน้าที่ของอินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนของพืช) เป็นต้น | |
ปัจจุบันงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืช ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์ | ๓. พันธุ์ศาสตร์ เป็นวิชาที่จำเป็นยิ่ง ของการปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบัน เพราะการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์พืช จะอาศัยหลักและกฎเกณฑ์ของพันธุศาสตร์ และกลไกของยีนและโครโมโซม ซึ่งเป็นตัวควบคุมลักษณะต่างๆ ของพืช ๔. โรคพืชวิทยา ความต้านทานโรคพืชหลายชนิด เป็นลักษณะที่ควบคุม โดยกลไกของพันธุศาสตร์ และการปรับปรุงพันธุ์พืช ให้ต้านทานโรคพืชได้ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับโรคพืช จึงเป็นวิชาการที่จำเป็นอีกแขนงหนึ่ง ๕. กีฎวิทยา เช่นเดียวกับโรคพืช ความรู้เกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชในด้านต่างๆ จึงมีความสำคัญ ๖. ชีวเคมี การปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณภาพเฉพาะหลายด้าน เช่น ด้านความหอมของเมล็ดข้าวเจ้า และคุณภาพในการทำอาหารของข้าวสาลี เป็นต้น เป็นลักษณะที่เกิดจากชีวเคมี และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ ๗. สถิติและการวางแผนการทดลอง การทดสอบ หรือเปรียบเทียบผลิตผล และคุณภาพของพืชสายพันธุ์ต่างๆ ในระดับไร่นา จำเป็นจะต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง ลดความปรวนแปร หรือเบี่ยงเบน ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายนอก และความอคติของมนุษย์ ในการคัดเลือกวิธีการดังกล่าวนี้ ปัจจุบันต้องอาศัยความรู้ทางวิชาสถิติ และการวางแผนการทดลอง ๘. วิชาอื่นๆ นอกจากวิชาการต่างๆ ที่กล่าวมานี้แล้ว ยังมีวิชาการอื่นๆ ที่อาจจำเป็นต้องเกี่ยวข้อง หรือเข้าใจรายละเอียดในแขนงวิชาที่ลึกซึ้งลงไปอีก ถ้าหากนักปรับปรุงพันธุ์พืชต้องการทำงานเจาะลึกลงไปในสาขานั้นๆ เช่น วิศวกรรมเกษตร หรือเครื่องจักรกลการเกษตร หรือความรู้ในด้านเซลล์วิทยา การเพาะเนื้อเยื่อของพืช เป็นต้น |