เล่มที่ 37
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ข้อเสีย
  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการศึกษา เป็นการสกัดกั้นการพัฒนาให้ล่าช้า นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ ที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาสามารถแก้ไขได้ แต่หากผู้มีอำนาจตัดสินใจ ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจ โครงการพัฒนานั้นก็ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาอย่างสิ้นเชิง
  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการคาดคะเน อาจไม่มีผลสำหรับการดำเนินงานในระยะยาวได้ เพราะธรรมชาตินั้นมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยหลายๆ อย่างอยู่เสมอ



การประชุมเตรียมแผนงานในการสร้างทาง


  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับหลักและวิธีการของผู้วิเคราะห์หรือผู้ทำการศึกษา แต่ถ้าผู้วิเคราะห์มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ และมีความเป็นกลางแล้ว ผลของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็จะให้คุณค่าอย่างแท้จริง
  • วิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม้ว่านักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนักบริหารจะมีการคิดค้นหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่ ก็ยังคงใช้วิธีตามใจผู้วิเคราะห์ จึงกล่าวได้ว่าวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องใช้วิธีการสากล เช่น การวิเคราะห์ทางเคมี หรือสาขาวิทยาศาสตร์อื่นๆ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด



การก่อสร้างทางด่วนสายต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้วัดความเจริญ



  • การตัดสินใจในการดำเนินโครงการพัฒนาต่างนั้นๆ นับเป็นการเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับจากโครงการ ไม่ว่าทางบวกหรือทางลบ เป็นเพียงการคาดคะเนเหตุการณ์ ในอนาคตทั้งสิ้น ถ้าการคาดคะเนเป็นไปอย่างถูกต้อง การตัดสินใจก็จะถูกต้องด้วย แต่ถ้าการคาดคะเนผิดพลาด ก็ย่อมส่งผลกระทบ ต่อระบบสิ่งแวดล้อม อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน
  • ในประเทศกำลังพัฒนา บางครั้งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาอยู่บ้าง เช่น การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้ามาก ความล่าช้าในการศึกษาทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและเกิดผลไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ นักการเมือง หรือผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์มักจะขัดขวาง เพราะผลการศึกษาย่อมจะเกิดผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ