เล่มที่ 34
โรคพาร์กินสัน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
พยาธิวิทยา

            ปัจจุบันเราทราบถึงตำแหน่งของพยาธิวิทยาในสมองที่เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันได้แน่ชัดแล้วว่า เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ในบริเวณก้านสมอง (brain stem) ที่เรียกชื่อว่า สารสีดำ (substantia nigra) ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน ที่ควบคุมการทำงานของเซลล์สมอง ในบริเวณสมองส่วนลึก และทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงาน หรือการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกาย


            ในคนปกติ เซลล์สมองที่บริเวณก้านสมองซึ่งทำหน้าที่สร้างสารโดปามีนจะมีราว ๔๐๐,๐๐๐ ตัว เมื่อใดที่เซลล์เหล่านี้มีการตาย หรือลดลง เหลือราว ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ก็จะเกิดอาการโรคพาร์กินสันขึ้น เพราะสมองขาดสารโดปามีน ที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ดังนั้น วิธีการใดๆ ที่จะทำให้สมองมีปริมาณสารโดปามีนเพิ่มขึ้น จึงเป็นหลักสำคัญ ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้