การนวดไทย
การนวดไทย หรือหัตถเวชกรรมไทย เป็นศาสตร์และศิลป์อีกแขนงหนึ่งที่สำคัญ ของหลักวิชาการแพทย์แผนไทย ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การนวดไทยในปัจจุบัน เป็นภูมิปัญญาไทย ที่ได้ผ่านการบูรณาการ ร่วมกับองค์ความรู้ ของศาสตร์การแพทย์ ในระบบการแพทย์อื่นๆ จนพัฒนาเป็นการนวดไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศ และในระดับนานาชาติ
การนวดตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทยเป็นการนวด เพื่อบำบัดรักษา และเพื่อผ่อนคลาย
การนวดไทยเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การส่งเสริม และการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง การประคบ และการอบ ทั้งนี้ตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทย การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร รวมทั้ง กายบริหารฤๅษีดัดตน ก็จัดเป็นองค์ความรู้ในวิชาการนวดไทยด้วย
การนวดตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทยเป็นการนวด เพื่อบำบัดรักษา และเพื่อผ่อนคลาย
การนวดไทยอาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้เป็น ๒ ประเภท คือ การนวดเพื่อผ่อนคลาย และการนวดเพื่อบำบัดรักษา การนวดเพื่อผ่อนคลาย เป็นการนวด เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ส่วนการนวดเพื่อบำบัดรักษา เป็นการนวดเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ในการบำบัดโรค หรือรักษาผู้ป่วย เช่น นวดแก้สะบักจม นวดแก้คอเคล็ด
นอกจากนั้นการนวดไทยยังอาจมีลีลาวิธีการนวดแตกต่างกันไป ๒ แบบ คือ การนวดแบบราชสำนัก และการนวดแบบเชลยศักดิ์ การนวดแบบราชสำนักแต่เดิมเป็นการนวด เพื่อถวายพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง ในราชสำนัก การถ่ายทอดวิธีการนวดแบบนี้ ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียน อย่างละเอียดถี่ถ้วน มีขั้นตอนในการสอน โดยเน้นที่จรรยามารยาทในการนวด ปัจจุบัน นำมาใช้บำบัดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ส่วนการนวดแบบเชลยศักดิ์หรือแบบทั่วไป เป็นการนวดแบบสามัญชน ใช้การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยการฝึกฝนและการบอกเล่า มีแบบแผนการนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบกับประสบการณ์ ที่สั่งสมของครูนวด แต่เดิมการถ่ายทอดศาสตร์การนวดไทยแบบนี้ มักสอน และเรียนกันตามบ้านของครูนวด แต่ปัจจุบัน มีการเรียนการสอนกันทั่วไป ตามสถาบันการศึกษา หรือสถาบัน ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย
การนวดตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทยเป็นการนวด เพื่อบำบัดรักษา และเพื่อผ่อนคลาย
ตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทยนั้น ร่างกายคนเราประกอบด้วย "เส้น" หรือ "เอ็น" หรือ "เส้นเอ็น" จำนวนมาก ภายในเส้นเหล่านี้ จะเป็นทางไหลเวียนของ "เลือด" และ "ลม" ซึ่งในภาวะปกติจะไหลเวียนอย่างสมดุล หากมีการอุดกั้น หรือขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และลม ดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยและมีอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ปวดเมื่อย มึนงง ท้องอืดเฟ้อ แพทย์แผนไทยก็จะบำบัดความเจ็บป่วยหรืออาการต่างๆ ด้วยการใช้ยา หรือด้วยการนวด โดยการกด คลึง บีบ ดัด และดึง ตามจุดและเส้นที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เลือดและลมไหลเวียนเป็นปกติ
การนวดตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทยเป็นการนวด เพื่อบำบัดรักษา และเพื่อผ่อนคลาย
๑. เส้นประธานสิบ
เป็นเส้นหลักที่สำคัญของร่างกาย มีรวม ๑๐ เส้น เส้นประธานทั้ง ๑๐ เส้น มีจุดเริ่มต้นบริเวณรอบๆ สะดือ แล้วแยกกันไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไปสิ้นสุด ที่อวัยวะต่างๆ ได้แก่เส้นดังต่อไปนี้