ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชาชนประมาณร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพทางการทำไร่ทำนา การเลี้ยงวัวควายเป็นส่วนประกอบของการกสิกรรม เพราะได้ใช้แรงงานจากวัวควายช่วยในการทำงานต่างๆ นับตั้งแต่ไถ พรวน ฉุดระหัดน้ำ นวดข้าว สีข้าว ลากเข็น ตลอดไปจนถึงการขนส่งผลิตผลจากท้องถิ่นห่างไกล ไปสู่ถนนหลวงหรือตลาด เนื่องจากชาวนาไทยมีที่ดินน้อย เฉลี่ยเพียงครอบครัวละ ๑๐-๒๐ ไร่ หรือน้อยกว่านั้น ในบางภาค การใช้วัวควายทำงานในไร่นาจึงเหมาะสม เพราะสะดวกที่จะทำเมื่อใดก็ได้ และแล้วเสร็จได้ในเวลาไม่นาน วัวหรือควายคู่หนึ่งไถนาได้วันละไม่ต่ำกว่าหนึ่งไร่ ทั้งยังประหยัดเงินกว่าการจ้างรถไถนาทำงาน ซึ่งต้องเสียค่าจ้างในอัตราสูง การใช้วัวควายไถนาทำให้ได้ใช้แรงงานในครอบครัวให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้มีชีวิตชีวา และเสริมสร้างวิญญาณแห่งความรักความผูกพัน ในงานอาชีพของกสิกร ให้แก่สมาชิกของครอบครัว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ควายลากเกวียน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเลี้ยงวัวควายเพื่อช่วยในการทำไร่ทำนาในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไป นิยมเลี้ยงกันเพียงครอบครัวละสามตัวบ้าง ห้าตัวบ้าง แต่เมื่อรวมกันเข้าก็เป็นจำนวนสิบล้านตัว เป็นวัวและควายอย่างละประมาณครึ่งต่อครึ่ง อาหารของวัวควายเหล่านี้ ได้แก่ หญ้าที่ขึ้นอยู่ตามคันนาริมถนน และท้องทุ่งที่ว่างจากการทำไร่ทำนา วัวควายจะถูกต้อนออกไปหากินในยามเช้า และกลับเข้าคอกเมื่อยามพลบ คอกวัวคอกควายมักอยู่ใกล้บ้าน หรือใต้ถุนบ้าน เมื่อถึงหน้าเพาะปลูก น้ำหลาก ท้องทุ่งท้องนาเต็มไปด้วยกล้าข้าวและพืชผล ยามนี้วัวควายต้องอาศัยฟาง และหญ้าแห้งที่เจ้าของเก็บกองไว้ให้ ตั้งแต่ปลายฤดูเพาะปลูกปีที่ผ่านมา เป็นอาหารเสริมไปจนกว่าจะเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จ วัวควายจึงเป็นอิสระในท้องทุ่งอีกวาระหนึ่ง ซึ่งในระยะนั้นอาหารวัวควายจะมีบริบูรณ์ วัวควายจึงสืบพันธุ์กันในระยะนี้เป็นส่วนมาก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฝูงลูกวัวผสมอเมริกันบราห์มัน-ชาโรเลส์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนคนไทยและวัวควายใน ประเทศไทยในบางปี นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า พลเมืองไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก ประมาณ ๑๗ ล้านคน ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นประมาณสองเท่า คือ ๓๔ ล้านคน ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ ในช่วงเวลา ๒๓ ปี ตลอดระยะเวลานี้ จำนวนวัวควายในแต่ละปีค่อนข้างคงที่ และลดลงเล็กน้อย ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หากคำนึงถึงจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในขณะที่แหล่งผลิตมีเท่าเดิม ย่อมชี้ให้เห็นถึงความขาดแคลนวัวควาย ของประเทศในอนาคต ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นเด่นชัด ถึงความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนวัวควาย เพื่อรับความต้องการใช้เนื้อวัวควาย และใช้แรงงานวัวควายที่เพิ่มขึ้น ตามจำนวนพลเมืองในประเทศ มีผู้ประมาณว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ พลเมืองไทยจะมีจำนวนเป็นร้อยล้านคน เมื่อถึงเวลานั้น สัดส่วนจำนวนวัวควายต่อคนไทยหนึ่งคน ก็จะลดลงไปอีก ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ มีวัวควายอยู่ ๖ ตัว/๑๐ คน ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ มีวัว ควายเพียง ๓ ตัว/๑๐ คน และเมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๒๓ อาจเหลือวัวควายเพียง ๒ ตัว/๑๐ คน ตารางที่ ๑ พลเมืองและจำนวนวัวควายในประเทศไทย๑
ตารางที่ ๒ แสดงให้เห็นจำนวนพลเมืองและจำนวนวัวควาย ในประเทศที่มีวัวควายมากที่สุดในโลกห้าประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศไทย ประเทศอินเดียมีวัวควายมากที่สุดในโลก รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๔๔ ล้านตัว ในขณะที่ประเทศบราซิลมีจำนวนวัวควายต่อประชากรหนึ่งคนมากที่สุด คือมีวัวควายประมาณ ๗๓ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัวควายประมาณ ๗๓ ล้านตัว เป็นที่ห้าในโลก แต่มีวัวควายเพียง ๗ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คน ในขณะที่ประเทศไทย มีวัวควายประมาณ ๒๔ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คนในปีเดียวกัน ตารางที่ ๒ จำนวนพลเมืองและวัวควายในประเทศที่ มีวัวควายมากที่สุดในโลกห้าประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕
๒ มีวัวอย่างเดียว ๓ Unofficial figure ตารางที่ ๓ พลเมืองและวัวควายของประเทศเพื่อนบ้าน บางประเทศใน พ.ศ. ๒๕๒๕
ตัวเลขในตารางที่ ๓ แสดงจำนวนพลเมืองและวัวควายในประเทศเพื่อนบ้านของไทยบางประเทศ ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ อันแสดงให้เห็นภาวะที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นประเทศเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งมีวัวควายจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนพลเมือง |