เล่มที่ 4
ไวรัส
สามารถแชร์ได้ผ่าน :

คุณสมบัติทางกายภาพ
  
            อนุภาคไวรัส มีขนาดตั้งแต่ ๑๐ มิลลิไมครอน ถึง ๒๕๐ มิลลิไมครอน* ถ้าทำให้อนุภาคไวรัสบริสุทธิ์ แต่ละไวรัส จะมีรูปร่างสัณฐานผลึกแบบต่างๆ กัน


ภาพแสดงอนุภาคไวรัสที่มีเยื่อหุ้ม บางแห่งมิได้เขียนแคปโซเมียร์ เพื่อแสดงแแกนกรดนิวคลีอิคเป็นรูปหลายเหลี่ยม


            บนผิวแคปซิด เมื่อขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นว่าประกอบไปด้วยหน่วยย่อยๆ แต่ละหน่วย เรียกว่า แคปโซเมียร์ (capsomere) แคปซิดอาจจะเปรียบ เสมือนกำแพงบ้าน ส่วนแคปโซเมียร์เปรียบเสมือนอิฐแต่ละก้อนในกำแพง แคปซิดของไวรัสมีสองแบบ แบบบันไดเวียน (helical) และแบบผลึกไอโคซาฮีดรอน (icosahedron)

  ภาพแสดงอนุภาคไวรัสที่แกนกรดนิวคลีอิคเป็นเกลียว


            การศึกษาไวรัสทางกายภาพ จึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด และสัณฐานของผลึก การมีเยื่อหุ้มผลึกไวรัสหรือไม่ การจัดเรียงตัวของแคปโซเมียร์ และจำนวนของแคปโซเมียร์ในผลึกนั้น

ผลึกไวรัสใบยาสูบเน่า ขยาย ๗๗,๐๐๐ เท่า
            ใน ค.ศ. ๑๙๓๕ สแตนเลย์ เป็นคนแรกที่ทำไวรัสใบยาสูบด่างตกผลึก และประมาณ ค.ศ. ๑๙๔๐ ก็สามารถถ่ายรูปร่างสัณฐานของไวรัสจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน อนุภาค ไวรัสหรือผลึกไวรัส ประกอบด้วยกรดนิวคลีอิค ซึ่งห่อหุ้มด้วยอณูโปรตีนที่ต่อกันเป็น แคปซิด เมื่อทำไวรัสให้บริสุทธิ์ ผลึกเหล่านี้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางเรขาคณิต โดย เฉพาะรูปผลึกมีทรงรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าหลายหน้า นักวิชาการจัดอยู่ในพวก "ไอโคซาฮีดรอน"
ปกติ แต่ละไวรัสมักจะมีคุณสมบัติทางกายภาพเฉพาะ ดังตารางที่แสดง



* 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน (M) 1 ไมครอน = 1,000 มิลลิไมครอน (M) 1 มิลลิไมครอน = 10 อังสตรอม (A)