ระบบไหลเวียนโลหิต
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ที่พบในผู้สูงอายุในระบบนี้ อาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความชรา วิถีการดำเนินชีวิตในอดีตที่ต่างกัน เช่น คนที่มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ย่อมมีลักษณะต่างๆ แตกต่างจากคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย และปัจจัยประการสุดท้ายคือ โรคที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ซึ่งพบเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจซ่อนเร้นอยู่ได้ โดยไม่มีอาการมีแนวโน้มว่า ชีพจรจะเต้นได้ช้าลง ขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงาน โดยพบว่าชีพจรที่เต้นได้สูงสุดต่อนาทีจะลดลง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางของร่างกาย หรือขณะกลั้นหายใจเบ่ง ชีพจรจะเต้นไม่เร็วขึ้นเหมือนที่พบในวัยหนุ่มสาว เหตุนี้เองทำให้ผู้สูงอายุเป็นลมหน้ามืดได้ง่ายขณะลุกขึ้นเร็วๆ หรือเบ่งอุจจาระเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดจำนวนลง มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มมากขึ้น ในคนที่มีความดัน โลหิตสูงเรื้อรังก็จะทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ หนาขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจซึ่งต้อง ทำงานหนักจะเกิดความเสื่อม มีไขมันสะสมและหินปูนมาเกาะ ทำให้การปิดเปิดของลิ้นหัวใจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดมีหย่อมของหินปูนมาเกาะตามผนัง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งจนอาจคลำได้เป็นลำ และอุดตันได้ง่าย ทำให้เกิดอาการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงยังอวัยวะปลายทางได้