เล่มที่ 4
รถไฟ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การจัดวางล้อและการเรียกแบบรถจักรดีเซล

            ล้อพร้อมเพลาของรถจักรดีเซลคล้ายกับล้อพร้อมเพลาของรถจักรไอน้ำ คือมี ๒ จำพวกเช่นกัน คือ มีล้อกำลังและล้อรับน้ำหนัก แต่ล้อกำลังของรถจักรดีเซลจะไม่มีน้ำหนัก ถ่วงถ้าไม่โยงกันด้วยคันโยง และล้อมักจะติดตั้งอยู่กับแคร่หรือโบกี้ สำหรับล้อขับนั้น ต่างล้อต่างขับก็มี หรือโยงเข้าด้วยกันและทำงานไปพร้อมกันก็มี



รถจักรดีเซลไฮดรอลิก ๑,๕๐๐ แรงม้า   

การเรียกชื่อแบบของรถจักรดีเซลใช้เรียกเป็นตัวอักษรและตัวเลขรวมกัน ไม่มี ชื่อเรียกโดยเฉพาะ และเรียกจำนวนเพลาไม่ใช่จำนวนล้อ ตัวอักษรใช้เรียกแทนจำนวน เพลาล้อกำลัง คือ A แทน ๑ เพลา B แทน ๒ เพลา ฯลฯ ตามลำดับ ส่วนตัวเลขใช้ เรียกจำนวนเพลารับน้ำหนัก
            สำหรับในกรณีที่ในแคร่เดียวกันมีเพลาล้อกำลังซึ่งต่างล้อต่างขับรวมอยู่ จะใช้ เครื่องหมาย o เล็กต่อท้ายตัวอักษร และเครื่องหมาย - แสดงการแยกหมู่ล้อหรือแคร่ล้อ โดยแต่ละหมู่หรือแคร่จะไม่มีการสัมพันธ์กัน เช่น รถจักรดีเซลไฟฟ้าแบบ Bo-Bo หมาย ความว่าเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าซึ่งมีการจัดล้อขับออกเป็น ๒ แคร่ๆ ละ ๒ เพลา แต่ละ เพลาไม่สัมพันธ์กัน และการขับล้อต่างล้อต่างขับไม่โยงกัน ถ้าเป็นแบบ B-B การจัดล้อ ก็เช่นเดียวกันกับข้างต้น แต่ล้อขับในแคร่เดียวกันจะต่อโยงกัน ตารางต่อไปนี้แสดงให้ทราบ ถึงการจัดล้อแบบต่างๆ ของรถจักรดีเซลที่นิยมใช้กันทั่วไป

ตารางแสดงการจัดล้อและการเรียกรถจักรดีเซล

การจัดวางล้อแบบรถจักรดีเซล
O ล้อขับเอกเทศ
O--O ล้อขับที่ต่อโยงกัน
o ล้อรับน้ำหนัก
O--OB
O OBo
O--O O--OB - B *
O O O OBo - Bo *
O--O--OC *
O O OCo
O--O--O O--O--OC - C
O O O O O OCo - Co *
O o O O o OA1A - A1A
o O O O O O O o1 Co - Co 1
o O O O O o1 - Do - 1
* มีใช้ในกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย