เล่มที่ 5
เป็ดไก่
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
อาหารไก่

            อาหารเป็นค่าลงทุนสูงสุดของการเลี้ยงไก่ ไก่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน ซึ่งวัดเป็น แคลอรี หรือกิโลแคลอรี ต่ออาหารผสมน้ำหนัก ๑ กก. ทางโปรตีน ซึ่งวัดเป็นร้อยละของโปรตีน รวมในอาหาร ทางแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งวัดเป็นปริมาณน้ำหนักในอาหาร ทางวิตามิน ซึ่งวัดเป็นปริมาณ หน่วย หรือหน่วยน้ำหนักในอาหาร


            พลังงานในอาหารมาจากอาหารแป้ง ได้แก่ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลังชนิดเส้นหรืออัดเม็ด รำข้าว และจากไขมันต่างๆ ที่มีปนตัวอาหารอยู่ในรูปน้ำมันหรือไขสัตว์ ค่าของพลังงานเราวัดโดยความร้อนที่เกิด เมื่อเผาไหม้ จึงได้ค่าความร้อนเป็นแคลอรี แต่การเผาผลาญในตัวสัตว์ จะสมบูรณ์เท่ากับการเผาไหม้ไม่ได้ ไก่จึงได้ใช้เฉพาะพลังงานใช้ประโยชน์ในร่างกายได้ เป็นส่วนที่สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ส่วนพลังงานที่เหลือถ่ายทิ้งไปกับมูลไก่

            โปรตีนในอาหารมาจากเนื้อ ปลา และ ถั่ว เป็นสำคัญ เศษเนื้อและเครื่องในจากโรงฆ่าสัตว์อบ แห้งแล้วบดใช้เป็นอาหารไก่ ปลาที่ราคาต่ำเรียกว่า  ปลาเป็ดเมื่อบดอบให้แห้งก็เป็นอาหารโปรตีนอย่าง ดีของไก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดฝ้าย เมล็ดนุ่น เมล็ดงา ที่สกัดน้ำมันพืชแล้ว ก็เป็นอาหารโปรตีน ของไก่ คุณภาพของโปรตีนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ย่อยเรียกว่า กรดอะมิโน ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่ไก่มักต้องการกรดอะมิโนที่มีกำมะถัน เช่น เมไทโอนีน ในปริมาณสูงกว่าที่มีในกากถั่วต่างๆ เพื่อการเติบโต และเพื่อสร้างขน ไลซีนเป็นกรดอะมิโน อีกตัวหนึ่งที่ไก่ไข่ต้องใช้มากเพื่อสร้างขน

            "เรโช แคลอรี/โปรตีน" คือ อัตราส่วนของพลังงานใช้ประโยชน์ภายในร่างกายได้ ในอาหาร ๑ กก. กับปริมาณโปรตีน คิดเป็นร้อยละในอาหารนั้น ซึ่งเป็นตัวเลขต่างหน่วยกัน จึงนับเป็นอัตราส่วนไม่แท้ แต่ปรากฏว่า ให้ประโยชน์แก่นักโภชนศาสตร์ของไก่มาก ในการจัดสูตรอาหารให้พอดีแก่ความต้องการของไก่แต่ละอายุ แต่ละจุดประสงค์ ไม่มีอาหารส่วนเกินต้องการที่สัตว์มักทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้สามารถประหยัดค่าอาหารโดยไม่เสียผล

            ความต้องการโภชนะในอาหารผสม ในอายุ/จุดประสงค์ต่างๆ

๑. กรดอะมิโน (% ตามน้ำหนักอาหารแห้ง) ตามความต้องการขั้นต่ำ

๒. วิตามินต่างๆ ที่ควรมีในอาหารไก่ตามภาวะต่างๆ (ต่ออาหาร ๑ กก.)
ตารางแสดงชนิดและปริมาณวิตามินของอาหารไก่
แหล่งที่มา : Vitamin Compendium, Roche, 1976, p.34.

๓. พลังงาน พลังงานใช้ประโยชน์ต่อวัน (กิโลแคลอรี/ตัว) สำหรับไก่ไข่

๔. แร่ธาตุต่างๆ ในอาหาร ๑ กก.


หมายเหตุ
๑. ความต้องการอาหารแร่ธาตุย่อมเปลี่ยน แปลงตามจำนวนพลังงานในอาหาร ในที่นี้ถือเกณฑ์จากอาหารปกติซึ่งมี ๒,๘๐๐ กิโลแคลอรี ของพลังงานใช้ ประโยชน์ต่อกิโลกรัม

๒. ไก่ไข่ ในฤดูร้อนต้องการพลังงานต่ำ ลงราว ๕% และสูงขึ้นราว ๕% ในฤดู หนาว

การหาเปอร์เซ็นต์การไข่ = (จำนวนไข่ที่ได้ / จำนวนไก่ในเล้า ) x ๑๐๐

๓. เมไทโอนีนแทนด้วยซีสตินได้ไม่เกิน ๔๐% และฟีนีลอะลานีนแทนด้วย ไทโรซีนได้ไม่เกิน ๕๐%

๔. ปริมาณวิตามินอี ที่ต้องการสำหรับไก่ ยังไม่มีตัวเลขแน่นอน ๕. ไก่ไข่ต้องการแคลเซียมตามปริมาณ การไข่ เช่น ตัวละ ๒ กรัมต่อวัน สำหรับการไข่ ๔๐% และตัวละ ๔ กรัมต่อวัน สำหรับการไข่ ๘๐%

๕. ตัวอย่างแบบหนึ่งของการให้อาหารตั้งแต่ไก่เล็กจนไก่ใหญ่



สูตรอาหารสัตว์ปีก ภาควิชาสัตวบาล พ.ศ. ๒๕๒๒

ผู้คำนวณ ผศ. ดร. ประทีป ราชแพทยาคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สูตรวิตามินและแร่ธาตุผสมยา สำหรับผสมอาหาร ๑๐๐ กก.