โขน การแสดงอีกอย่างหนึ่งให้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่า ละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้ เรียกว่า "โขน" โขน เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำที่มีตัวแสดงแปลกออกไป กับเปลี่ยนทำนองเพลง ที่ดำเนินเรื่อง ไม่ให้เหมือนละคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ : โขนชุดพระรามรบกับ ทศกัณฐ์ ตอนขึ้นลอยสูง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โขน มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดา ก็สวมหัว ภายหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระ และตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของผู้แสดงเช่นเดียวกับละคร หัวโขน เป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวนั้นๆ เช่น ยักษ์ ลิง เทวดา และอื่นๆ ตบแต่งด้วยสี ปิดทอง ประดับกระจก สวยงาม บางท่านก็เรียกว่า "หน้าโขน"
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เรื่องดำเนินไปด้วยการกล่าวลำนำเล่าเรื่อง เป็นทำนองเรียกว่า "พากย์" อย่างหนึ่ง กับ เจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง บทพากย์เป็นกาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง การพูดของตัวโขน ไม่ว่าจะเป็นทำนองพากย์ ทำนองเจรจา หรือพูดอย่างสามัญชน มีผู้พูดแทนให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวที่สวมหน้า หรือไม่สวมหน้า ผู้พูดแทนตัวโขนนี้ เรียกว่า "คนเจรจา" เครื่องแต่งตัว เป็นแบบเดียวกับละครใน นอกจากบางตัวสวมหัวโขนตามเนื้อเรื่อง เสื้อของตัวพระ และตัวยักษ์สมัยโบราณมักมี ๒ สี คือ เป็นเสื้อกั๊กสีหนึ่ง กับแขนสีหนึ่ง นัยว่า เสื้อกั๊กนั้นแทนเกราะ ส่วนตัวลิง ตัวเสื้อ และแขนลายวงทักษิณาวรรต สมมติเป็นขน ของลิงหรือหมี ตัวยักษ์จะต้องมีห้อยก้นเป็นผ้าปักผืนสั้นๆ ปิดชายกระเบน เรื่องที่แสดง โขนของไทยเราแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว วิธีการแสดงโขนมีหลายชนิด แตกต่างกันด้วยวิธีการแสดง ดังจะอธิบายไปตามลำดับดังนี้ โขนกลางแปลง โขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงกับพื้นดิน ที่เป็นลานกว้างใหญ่ สมมติพื้นที่นั้นเป็นกรุงลงกาด้านหนึ่ง เป็นพลับพลาพระรามด้านหนึ่ง ด้านกรุงลงกาสร้างเป็นปราสาทราชวัง มีกำแพงจำลองด้วยไม้และกระดาษ ด้านพลับพลา ก็สร้างพลับพลามีรั้วเป็นค่ายจำลอง เช่นเดียวกัน ปลูกร้านสูงประมาณ ๒ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ด้านละวง คนเจรจามีด้านละ ๒ คนเป็นอย่างน้อย วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบกับการแสดงด้านที่วงประจำอยู่ แต่ถ้าเป็นส่วนกลาง เช่น การรบกันกลางสนามหรืออื่นๆ ก็แล้วแต่ วงไหนอยู่ใกล้ ก็เป็นผู้บรรเลง โขนกลางแปลงมีแต่พากย์กับเจรจาเท่านั้น โขนนั่งราว โขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรง เลียนแบบโขนกลางแปลง คือ ปลูกโรงสูงพอตาคนยืนดู ปูกระดานพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฉากแบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนกลางยาวประมาณ ๑๐ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นป่าเขา ส่วนนอกด้านขวา (ของโรง) ยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูนเขียนสี เป็นรูปพลับพลาและรั้ว สมมติเป็นพลับพลาพระราม ส่วนนอกด้านซ้ายยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นปราสาทราชวังมีกำแพงสมมติเป็นกรุงลงกา มีประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่คั่นระหว่างฉากส่วนกลางกับส่วนนอก ข้างละประตู ตรงหน้าฉากออกมา ห่างฉากประมาณ ๑.๕ เมตร ทำราวไม้กระบอก มีเสารับสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวเสมอขอบประตูข้างหนึ่งมาถึงขอบประตูอีกข้างหนึ่ง หัวท้ายของโรงทั้ง ๒ ข้าง ปลูกร้านให้สูงกว่าพื้น โรงประมาณ ๑ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ข้างละวง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครื่องแต่งตัวพระ (ยืนเครื่อง ไว้หางหงส์) | วิธีแสดง ราวไม้กระบอกที่อยู่หน้าฉากนั้น เป็นที่สำหรับนั่ง วิธีนั่ง ถ้าหันหน้าไปทางขวาหรือซ้าย ก็เอาเท้าข้างนั้นพับนั่งบนราว อีกเท้าหนึ่งห้อยลงเหยียบพื้นโรง ฝ่ายพระรามจะนั่งค่อนมาข้างขวา พระราม (ตัวประธานฝ่ายมนุษย์) นั่งสุดราวด้านขวา หันหน้าไปทางซ้าย บริวารทั้งหมดนั่งบนราวตามลำดับเรียงไป หันหน้ามาทางขวา และฝ่ายลงกา (ฝ่ายยักษ์) ตัวประธาน นั่งสุดราวด้านซ้าย หันหน้ามาทางขวา บริวารทั้งหมดนั่งหันหน้ามาทางซ้าย ส่วนการแสดง ในตอนที่ไม่นั่ง ก็แสดงได้ทั่วพื้นโรง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำเนินเรื่องด้วยพากย์กับเจรจาเท่านั้น เหมือนโขนกลางแปลง ท่ารำ เป็นท่ารำที่ครบถ้วนตามแบบแผนศิลปะการรำ ทำบทตามถ้อยคำ และรำหน้าพาทย์ตามเพลงปี่พาทย์ วิธีบรรเลงปี่พาทย์ ทั้ง ๒ วงจะผลัดกันบรรเลงวงละเพลง ตั้งแต่โหมโรงเป็นต้นไปจนจบการแสดง โขนโรงใน โขนโรงใน คือโขนผสมกับละครในสถานที่แสดงเป็นโรงอย่างโรงละครใน มีฉากเป็นม่านผืนเดียว มีประตูออก ๒ ข้าง แต่เตียงสำหรับนั่งมี ๒ เตียง ตั้งขวางใกล้กับประตูข้างละเตียง มีปี่พาทย์ ๒ วง อาจตั้งตรงหลังเตียงออกไป หรือกระเถิบมาทางหน้าโรงนิดหน่อย แล้วแต่สถานที่จะอำนวย |
ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์ บทเจรจา และบทร้อง มีทั้งคนพากย์ คนเจรจา ต้นเสียง ลูกคู่ และคนบอกบท (ร้อง) | เครื่องแต่งตัวนาง (จีบหน้านาง) |
วิธีแสดง เริ่มต้นอย่างละครใน คือ ตัวเอกออกนั่งเตียง แล้วร้องหรือพากย์ดำเนินเรื่องการแสดงต่อไป ก็แล้วแต่ว่า ตอนใดจะแสดงแบบโขน ตอนใดจะแสดงแบบละคร เช่น ปี่พาทย์ทำเพลงวา พลลิงออกมานั่งตามที่พระรามพระลักษมณ์ออกมานั่งเตียง ต้นเสียงร้องเพลงช้า ปี่ใน ส่งเพลง ๑ เพลง ร้องร่าย และปี่พาทย์บรรเลงเพลงเสมอ ท้ายเพลงเสมอตัวโขนเข้าโรงหมด ปี่พาทย์ทำเลงกราวนอก โขนลิงออก แล้วสิบแปดมงกุฎ และพญาวานรออก พระลักษมณ์ พระรามออก รำกราวนอกเสร็จแล้ว พากย์ชมรถ และปี่พาทย์บรรเลงเพลงเชิด ฯลฯ |
เครื่องแต่งตัวยักษ์ (จีบโจงก้นแป้น) | อุปกรณ์ที่สำคัญในการแสดงโขน ซึ่งต่างจากการแสดงละคร ก็คือ ราชรถมีตัวม้าหรือราชสีห์เทียม และกลด มีผู้ถือกางให้ตัวเอก |
เข้าใจว่า การที่โขนในสมัยหลังๆ มาจนปัจจุบัน ตัวพระ และตัวเทวดาไม่สวมหัวโขน คงจะเริ่มมาตั้งแต่โขนมาร่วมผสมกับละครใน เป็นโขนโรงในนี้เอง โขนหน้าจอ โขนหน้าจอ วิธีการแสดงทุกๆ อย่างเหมือนโขนงโรงในทุกประการ ผิดกันแต่สถานที่แสดงเท่านั้น เป็นโรงที่มีลักษณะต่างกัน โรงของโขนหน้าจอ ก็คือ โรงหนังใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงให้สะดวกแก่การแสดงโขนเท่านั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากโรงหนังใหญ่ ก็คือ มีประตูเข้าออก ๒ ประตู ใต้จอตอนกลางมีมู่ลี่ หรือลูกกรงถี่ๆ เพื่อให้คนร้อง ซึ่งนั่งอยู่ภายในมองเห็นตัวโขน จอตอนนอกประตูทั้ง ๒ ข้าง เขียนภาพ ข้างขวาเขียนภาพพลับพลาพระราม ข้างซ้ายเขียนภาพปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา ตั้งเตียงห่างจากประตูออกมาพอสมควร ๒ เตียง ข้างละเตียง วงปี่พาทย์สมัยก่อนตั้งด้านหน้าของที่แสดง สมัยปัจจุบัน ยกไปตั้งหลังจอตรงหลังคนร้อง | |
เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน) | โขนทุกประเภท ตั้งแต่โขนกลางแปลงมาจนถึงโขนหน้าจอ มีเครื่องดนตรีพิเศษ อย่างหนึ่งประกอบ คือ "โกร่ง" เป็นไม้ไผ่ลำโต ยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร มีเท้ารองหัวท้ายสูงประมาณ ๘ เซนติเมตร วางกับพื้น ผู้ที่นั่งเรียงกันประมาณ ๔-๕ คน ถือไม้กรับทั้งสองมือตีตามจังหวะ ใช้เฉพาะเพลงที่ต้องการความครึกครื้น เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เชิด ตั้งอยู่หลังฉากหรือจอ พวกแสดงโขนที่มิได้แสดงเป็นผู้ตี |
โขนฉาก โขนฉาก มีลักษณะดังนี้ คือ โขนฉากแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์ วิธีการแสดงเหมือนโขนโรงในทุกประการ นอกจากแบ่งเนื้อเรื่องให้เป็นตอนเข้ากับฉาก แต่ละฉากเท่านั้น ถ้าสถานที่แสดงมีที่แสดงที่หน้าม่านได้ เวลาปิดม่านก็อาจมีการแสดงหน้าม่าน เพื่อเชื่อมเนื้อเรื่องให้ติดต่อกันก็ได้ |