ท่ารำ ท่ารำที่ครูนาฎศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ไว้ ทั้งที่ตบแต่งจากท่าธรรมดา และตามความหมายอื่นๆ มีมากมาย พร้อมทั้งตั้งชื่อท่านั้นๆ ไว้ ตั้งแต่ท่าประนมมือไหว้ เรียกว่า ท่าเทพนม และอีหลายสิบท่า แต่งไว้เป็นกลอนสำหรับร้องหรือท่องให้จดจำได้ง่าย มักเรียกกันว่า "แม่บท" เพราะเป็นท่าหลักที่จะต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ บทที่สั้น มีท่ารำน้อย ก็คือ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ แทรกอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทุก ดังนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนในตำราฟ้อนรำ เป็นบทอย่างพิสดารมีชื่อท่ารำซึ่งแต่งเป็นกลอนว่า ดังนี้
ขอให้พิจารณาดูภาพท่ารำเปรียบเทียบกับชื่อท่ารำ จะแลเห็นว่า การรำก็คือ การแปลชื่อท่าให้เป็นการรำโดยตรง แต่ประดิษฐ์ให้มีส่วนสัดงดงาม เมื่อนำท่ารำต่างๆ ไปใช้ในการแสดง ก็ต้องเรียบเรียงท่ารำ โดยลำดับท่าให้เข้ากับจังหวะทำนอง ของเพลงและดนตรีที่บรรเลงประกอบ และตบแต่งท่ารำสำหรับเชื่อมท่าต่างๆ ให้ติดต่อกันสนิทสนม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การใช้ท่ารำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงใดๆ รวมความว่าเป็น "นาฎศิลป์" ทั้งสิ้น การแสดงที่ใช้ท่ารำมี ๒ ประเภท ที่เป็นหลักใหญ่ๆ คือ ๑. ระบำ ๒. ละคร |
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต