เล่มที่ 13
นาฏศิลป์ไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก

            ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดละครแบบต่างๆ ขึ้น เช่น ละครดึกดำบรรพ์ ที่กล่าวมาแล้ว แต่ละครดึกดำบรรพ์ยังคงใช้ท่ารำของไทยเป็นหลัก ยังถือได้ว่า เป็นนาฎศิลป์ของไทยอย่างสมบูรณ์ ส่วนละครที่นำแบบของตะวันตกมาใช้จริงๆ ก็คือ ละครที่ไม่ใช้ท่ารำเลย ใช้แต่กิริยาท่าทางของคนธรรมดาสามัญ ที่เราปฏิบัติกันอยู่เท่านั้น เช่น ละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต

ละครร้อง

            ละครร้อง เป็นแบบละครที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์ ทรงปรังปรุงขึ้น เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากไปตามเนื้อเรื่อง ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเท่านั้น ถ้อยคำที่ร้องมีทั้งบอกชื่อตัวละคร บอกกิริยา อารมณ์ของตัวละคร และเป็นคำพูดของตัวละคร
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
            วิธีแสดง ในตอนแรกผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน แต่สมัยหลังๆ มา ให้มีผู้ชายเป็นตัวตลกได้ การแสดงบทบาทใช้ท่าของคนธรรมดาสามัญ ไม่มีการรำ
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
            การร้อง ถ้าเป็นบท บอกชื่อตัวละคร บอกกิริยา หรืออารมณ์ของตัวละคร ต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ร้อง ถ้าบทนั้นเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้แสดงตัวนั้นจะต้องร้องเอง แต่การร้องของตัวละครนี้ ตัวละครจะร้องเฉพาะที่เป็นถ้อยคำเท่านั้น ส่วนการเอื้อน ที่เป็นทำนองติดต่อนั้น ลูกคู่จะต้องร้องแทรกเข้ามาให้
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนแรกพบในสวน
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า
ตอนแรกพบในสวน
            การเจรจา เป็นการเจรจาทวนบท คือ พูดเป็นใจความเดียวกับบทที่ร้องไปแล้วโดยมาก แต่ก็มีเจรจาบทอื่นๆ บ้าง จะเป็นการเจรจา อย่างไรก็ตาม ผู้แสดงจะต้องพูดด้วยปฏิภาณปัญญาของตนเอง
            ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ใช้นวมบรรเลงประกอบบางกรณี บางทีก็มีหน้าพาทย์บ้าง เช่น โอด เพลงฉิ่ง กับบรรเลงเวลาปิดฉาก และจะต้องมีเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเลงคลอเวลาร้องทุกๆ เพลงที่เคยใช้ บางทีก็ใช้ไวโอลิน บางทีก็ใช้ออร์แกน หรือซออู้
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนร้อยตรีพร้อมลาสาวเครือฟ้า
การแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตอนร้อยตรีพร้อมลาสาวเครือฟ้า
            เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น เรื่องตุ๊กตายอดร้ก ขวดแก้วเจียระไน เครือฟ้าของประเสริฐอักษร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์) เป็นต้น

ละครพูด

            ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสำเร็จการศึกษาจากยุโรป เสด็จกลับมาประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงนำเอาแบบการแสดงละครของยุโรป มาแปลงให้เป็นการแสดงของไทยอย่างหนึ่ง ละครแบบนี้เรียกว่า ละครพูด

ละครพูด เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากเป็นสถานที่ตามเนื้อเรื่อง

การแต่งตัว แต่งตามสภาพเป็นจริงของเรื่อง

การดำเนินเรื่อง ดำเนินด้วยคำพูด และการปฏิบัติของตัวละคร

การพูด ใช้คำพูอย่างธรรมดาสามัญชน แต่อาจเน้นในอารมณ์บางอย่างให้เด่นขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจชัดเจน

กิริยาท่าทาง ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน

            เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่องหัวใจนักรบ ชิงนาง เห็นแก่ลูก เป็นต้น

ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงเวลาปิดฉากเท่านั้น

ละครพูดสลับลำ

            เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖ แห่งพระราชวงศ์จักตรี พระองค์ก็ยังทางโปรดการแสดงละครพูดอยู่ เมื่อทรงว่างพระราชกิจ ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่องต่างๆ และยังทรงวิวัฒนาการละครพูดให้เปลี่ยนแปรออกไปอีก พระบาทเสด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้น ให้ร้องแทรกในการแสดงละครพูดบางตอน โดยไม่ตัดบทพูดใดๆ ในละครของเดิมออกเลย ในครั้งแรกทรงเรียกว่า "ละครพูดแกมลำ" ภายหลังจึงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ" ใจความของบทร้องไม่มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องเลย หากตัดบทร้องออก ก็คงเป็นละครพูดอย่างสมบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดจำนวนมาก            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดจำนวนมาก

การแสดงละครพูดสลับลำทุกอย่าง สถานที่คำพูด ท่าทาง และการแต่งตัว ตลอดจนลักษณะของเรื่องที่แสดง เหมือนละครพูดทั้งสิ้น

            เว้นแต่บางตอน ตัวละครจะต้องร้องเพลงไทยแทรกเข้ามา และแล้วก็แสดงเป็นละครพูดไปตามเดิม เช่น การแสดงละครพูดสลับลำเรื่องปล่อยแก่ ของนายบัว วิเศษกุล บทร้องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำและคลอเวลาร้อง กับเวลาปิดฉาก

ละครสังคีต

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงละครขึ้นอีกแบบหนึ่ง มีทั้งร้องเพลงและพูด ทั้งบทร้อง และบทพูด มีความสำคัญในการดำเนินเรื่องด้วยกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไม่ได้ เนื้อเรื่องจะขาดตอนไป ละครแบบนี้ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"

            วิธีแสดง ฉาก กิริยาท่าทาง การพูดและร้อง เหมือนกับละครพูดสลับลำ แต่ในการร้องอาจต้องใส่อารมณ์มากกว่าละครพูดสลับลำ และเพลงดนตรีอาจมีเพลงหน้าพาทย์ เช่น พญาเดิน รัวแทรกด้วย
            ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงนำและคลอเวลาร้อง กับบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ (ถ้ามี) และเวลาปิดฉากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงละครพูด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงแสดงละครพูด
เรื่องที่แสดง เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง มิกาโด วั่งตี่ วิวาหพระสมุทร และหนามยอกเอาหนามบ่ง

            ละครแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมา และปรับปรุงเหล่านี้ สมัยก่อนผู้แสดงเป็นผู้ชายทั้งสิ้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชายจริง หญิงแท้

            จะเห็นได้ว่า คำว่า "นาฎศิลป์" ซึ่งแต่เดิมหมายถึง การแสดงต่างๆ ที่ประกอบด้วยการรำ ไม่ว่าจะเป็นระบำ หรือละคร แบบใดนั้น ได้มีความหมายแผ่กว้างออกไปอีก เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาในเมืองไทย อันทำให้เกิดมีละครที่ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน ซึ่งไม่มีการรำเลย ดังนั้น การแสดงละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต ที่ไม่มีการรำ แต่เป็นละครอีกแบบหนึ่ง ก็ต้องถือว่า เป็นนาฎศิลป์ด้วย