เล่มที่ 17
ฉันทลักษณ์ไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
กาพย์

กาพย์มี ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ที่จะกล่าว ณ ที่นี้

กาพย์ยานี ๑๑


คณะ ของกาพย์ยานี มีดังนี้

กาพย์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียก ว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละ บาทมี ๒ วรรค คือ วรรคแรก และวรรคหลัง

พยางค์

ในแต่ละบาทมี ๑๑ พยางค์ หรือ ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยางค์ จึงเขียนเลข ๑๑ ไว้หลังกาพย์ยานี

แผนผังกาพย์ยานี ๑๑
ตัวอย่างกาพย์ยานี ๑๑

สัมผัส 
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ยานีดังนี้

ก.สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในแผนกาพย์ยานี

๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคแรก ตามปกติสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคหลัง แต่อาจอนุโลมให้สัมผัสกับคำที่ ๑ ของวรรคหลัง ก็ได้ (โผน-โจน)

๒) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทเอก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบาทโท (ฟอง-พอง)

๓) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทโท ของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลัง ในบาทเอกของบทที่ ๒ (กัน-ขัน)

ข.สัมผัสใน (ไม่บังคับ)

๔) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๑ และ บทที่ ๒ ได้แก่คำที่เขียนเส้นโยงไว้ในแต่ละ บทคือ สิงห์-วิ่ง, คลื่น-ฝืน, ยิ่ง-สิงห์, ท่อง-ล่อง และคา-หน้า, เขม้น-เห็น, มังกร-ถอน, หน้า-วา เป็นสัมผัสที่ช่วยให้ไพเราะ

๕) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร ได้แก่ เผ่น-โผน, ฝืน-ฝ่า-ฟอง, แถว-ท่อง, ขบ-ขัน, พาย-พัน
กาพย์ฉบัง ๑๖
คณะ 
คณะของกาพย์ฉบังมีดังนี้

กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาท แต่มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น วรรกลาง และวรรคท้าย
พยางค์
พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรกลางมี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลังกาพย์ฉบัง

แผนผังกาพย์ฉบัง ๑๖ตัวอย่างกาพย์ฉบัง ๑๖

สัมผัส

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ฉบังดังนี้

ก.สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสประกอบ

๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคกลาง (บูชา-มารดา)

๒) คำสุดท้ายของวรรคท้ายในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้นในบทที่ ๒ (ตน-กมล) และในบทต่อ ๆ ไปก็มีสัมผัสทำนองเดียวกับข้อ ๑ และ ข้อ ๒

ข.สัมผัสใน
 (ไม่บังคับ)

๓) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ มีในบทที่ ๑ วรรคท้าย คือ กำเนิด-เกิด ในบทที่ ๒ วรรคท้าย คือ มหา-สาครินทร์ ในบทที่ ๔ วรรคท้าย คือ วิชา-อาทร ภาษา-จริยา-สง่าศรี

๔)สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร มีดังนี้
บทที่ ๑ ข้า-ขอ บิดร-มารดา ก่อ-กำเนิด-เกิด
บทที่ ๒ กตัญญู-ยึด มั่น-กมล
บทที่ ๓ ข้า-ขอ-คุณ สั่ง-สอน
บทที่ ๔ ถ่าย-ทอด-อาทร ภาษา-สง่าศรี
กาพย์สุรางคนางค์ (๒๘)
คณะ 
คณะของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้

กาพย์บทหนึ่งมี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ คำ เรียงตามแผนได้ดังนี้
พยางค์

จำนวนคำในวรรค มีวรรคละ ๔ คำ ๗ วรรค รวมเป็น ๒๘ คำ

แผนผังกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ตัวอย่างกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
สัมผัส 
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์สุรางคนางค์ดังนี้

ก.สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในบทที่ ๑
๑) ในบทที่ ๑ คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ (นางค์-วาง)
๒)คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๕
๓)คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕
๔)คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๕ สัมผัสกบคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๖
๕)คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๗ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๓ ในบทที่ ๒
ข.สัมผัสใน (ไม่บังคับ) โรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในบทที่ ๒
๖)สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๒ ได้แก่ สม-คม (วรรคที่ ๓) นึก-ตรึก (วรรคที่ ๔) เพราะ-เสนาะ (วรรคที่ ๗)
๗)สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร ในบทที่ ๒ ได้แก่ แต่ง-ตัว (วรรคที่ ๒) คม-ขำ (วรรคที่ ๓) ตรึก-ตรา (วรรคที่ ๔) สอด-เสียง-สูง (วรรคที่ ๖)