โคลง โคลงในฉันทลักษณ์ของไทยมีโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีโคลงดั้นอีกหลายแบบ ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะโคลงสี่สุภาพพอเป็นพื้นฐานการแต่งโคลง สำหรับเยาวชนผู้สนใจ โคลงสี่สุภาพ คณะและพยางค์ ของโคลงสี่สุภาพมีดังนี้ โคลงบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑, ๒ และ ๓ มีบาทละ ๒ วรรค และมีจำนวนคำ เท่ากันทั้ง ๓ บาท ส่วนบาทที่ ๔ ก็มี ๒ วรรค เช่นเดียวกัน แต่มีจำนวนคำในวรรคท้ายเพิ่มขึ้น อีก ๒ คำ รวมทั้งบทมี ๓๐ คำ และอาจมี คำสร้อยที่วรรคท้ายของบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ ได้อีก ๒ คำในแต่ละวรรค สัมผัส สัมผัสบังคับดูได้จากเส้นโยงสัมผัสจาก แผนของโคลงสี่สุภาพ และจากโคลงตัวอย่าง คำเอก คำโท คำเอกมี ๗ แห่ง คำโทมี ๔ แห่ง (เอก ๗ โท ๔) ตามที่เขียนไว้ในแผนดังนี้ คำเอก มี ๗ แห่ง คือ ๑) บาทที่ ๑ คำ ที่ ๔ ๒) บาทที่ ๒ คำที่ ๒ ๓) บาทที่ ๒ คำที่ ๖ ๔) บาทที่ ๓ คำที่ ๓ ๕) บาทที่ ๓ คำที่ ๗ ๖) บาทที่ ๔ คำที่ ๒ ๗) บาทที่ ๔ คำที่ ๖ คำโท มี ๔ แห่ง คือ ๑) บาทที่ ๑ คำที่ ๕ ๒) บาทที่ ๒ คำที่ ๗ ๓) บาทที่ ๔ คำที่ ๕ ๔) บาทที่ ๔ คำที่ ๗ |
โคลงกระทู้ |