เล่มที่ 17
ฉันทลักษณ์ไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
กลอน

กลอนสุภาพ

คณะ

คณะของกลอนสุภาพมีดังนี้

กลอนสุภาพบทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสลับ และวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครองและวรรคส่ง

พยางค์หรือคำ

ของกลอนแต่ละวรรคมีดังนี้

กลอนแปด มีวรรคละ ๘ คำ ดังนั้นกลอนแปด ๔ วรรคจึงมี ๓๒ คำ ใน ๑ บท กลอนหก มีวรรคละ ๖ คำ ดังนั้นกลอนหก ๔ วรรคจึงมี ๒๔ คำ ใน ๑ บท



สัมผัส

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกลอนสุภาพดังนี้

ก. สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในบทที่ ๑
 
๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคสลับ (วรรคที่ ๑) สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของ วรรครับ (วรรคที่ ๒) ตามที่ขีดเส้นประไว้ใน แผน

๒) คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรครอง (วรรคที่ ๓)

๓) คำสุดท้ายของวรรครองสัมผัสกับ คำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคส่ง (วรรคที่ ๔)

๔) คำสุดท้ายของวรรคส่งในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับในบทที่ ๒ (คอย-ละห้อย)

ข. สัมผัสใน (ไม่บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในบทที่ ๒

๕) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๒ ได้แก่ ค่ำ-ย่ำ, ฆ้อง-ร้อง (วรรคสลับ), จวน- หวน (วรรครับ), เคลื่อน-เดือน (วรรครอง) ฉ่ำ-อัมพร (วรรคส่ง)

๖) สัมผัสใน ชนิดสัมผัสอักษร ในบท ที่ ๒ ได้แก่ ยาม-ย่ำ (วรรคสลับ) ตรงนี้มีพิเศษ คือ ยามค่ำ-ย่ำฆ้อง ได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัส อักษร คือ ยาม-ย่ำ, ค่ำ-ฆ้อง, ร่ำ-พิไร-รัญจวน หวน-ละห้อย (วรรครับ) ดึก-ดาว-เดือน, เคลื่อน- คล้อย ตรงนี้มีพิเศษอีกคือ ดาวเคลื่อน-เดือน คล้อย ได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ช่วย ให้ไพเราะยิ่งขึ้น (วรรครับ) ย้อย-เย็น (วรรค ส่ง)

คำเป็นคำตาย

ในกลอนสุภาพไม่บังคับใช้คำเป็น และคำตาย แต่ในกลอนกลบท ที่มีชื่อว่า "กลบทอักษรกลอน" จำเป็นต้องใช้คำตายทุกคำ

คำนำ และ คำสร้อย ได้กล่าวไว้แล้วใน ข้อ ๘ และ ๙ ของฉันทลักษณ์บังคับ ผู้สนใจ อาจกลับไปอ่านทบทวนได้ เพื่อประโยชน์ในการ ศึกษาเรื่องกลอนให้แม่นยำ