เล่มที่ 17
ฉันทลักษณ์ไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ฉันท์

คำประพันธ์ประเภทฉันท์นี้ไทยได้แบบ อย่างมาจากคัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเขียนไว้เป็นภาษา บาลี สันสกฤต แต่ไทยเรานำมาคัดเลือกและ ดัดแปลงใช้ให้เข้ากับลักษณะของภาษาไทย มี การเติมสัมผัสให้ไพเราะเพราะพริ้งยิ่งขึ้น ในที่นี้ จะนำเสนอฉันท์เพียง ๔ ชนิด พอเป็นตัวอย่าง สำหรับผู้สนใจดังต่อไปนี้
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘

วิชชุมมาลา แปลว่า ระเบียบสายฟ้า หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างสายฟ้าแลบ

คณะและพยางค์


ฉันท์บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ ๒ วรรคเป็น ๘ คำ จึงเขียน ๘ หลังชื่อวิชชุมมาลาฉันท์

วิชชุมมาลาฉันท์นี้คล้ายกาพย์สุรางคนางค์ เพียงแต่เพิ่มวรรคต้นขึ้นอีก ๑ วรรคเท่านั้น รวม ทั้งบทมี ๔ บาท ๘ วรรค ส่วนกาพย์สุรางคนางค์มีเพียง ๗ วรรค





สัมผัส

สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยง สัมผัส และจากตัวอย่างคำที่สัมผัสกันใช้วงกลม สีเข้ม

คำครุ คำลหุ

บังคับครุ
ล้วนทุกวรรค (  ั หรือ ครุ)
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

อินทร- วิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์

คณะและพยางค์


ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคต้นมี ๕ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมบาท ละ ๑๑ คำ จึงเขียน ๑๑ ไว้ท้ายชื่อฉันท์





สัมผัส


สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยง สัมผัส และจากตัวอย่าง

คำครุ คำลหุ


บังคับครุ ลหุ ตามที่เขียนไว้ใน แผน และตามตัวอย่าง
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒

ภุชงคประยาต แปลว่า งูเลื้อย หมายความว่า ฉันท์นี้มีลีลาอย่างงูเลื้อย

คณะและพยางค์

ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคต้นและวรรคท้าย มีวรรคละ  ๖ คำเท่ากัน รวม ๒ วรรคเป็น ๑๒ คำ จึง เขียน ๑๒ ไว้ท้ายชื่อฉันท์





สัมผัส


สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยง สัมผัส และจากตัวอย่าง

คำครุ คำลหุ


บังคับครุ ลหุ ตามที่เขียนไว้ใน แผนและตามตัวอย่าง
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

วสันตดิลก แปลว่า รอยแต้มที่กลีบเมฆ ในฤดูฝน น่าจะหมายถึง ฉันท์อันมีลีลาว่า ฤดูฝนได้เริ่มต้นแล้ว

คณะและพยางค์


ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๘ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ







สัมผัส


สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยง สัมผัส และจากตัวอย่างคำที่สัมผัสกันใช้วงกลม สีเข้ม

คำครุ ลหุ


บังคับ ครุ และลหุ ตามที่เขียนไว้ ในแผน

ฉันท์ยังมีอีกหลายชนิดที่มิได้นำมาเสนอ ไว้ ณ ที่นี้ หากเยาวชนผู้ใดสนใจ อาจศึกษา เพิ่มเติมจากตำราฉันทลักษณ์ของพระยาอุปกิต ศิลปสาร หรือจากหนังสือเรียนภาษาไทย การเขียน ๒ (ท.๐๔๒ ชั้น ม.ปลาย โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์)