ประชากรและชุมชนในระบบนิเวศ
ประชากร
หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อยู่ร่วมกัน ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
ป่าชายเลน
คุณลักษณะของประชากรประกอบด้วย
๑. ขนาด หมายถึง จำนวนของประชากรในแต่ละพื้นที่
๒. โครงสร้าง หมายถึง องค์ประกอบของประชากร ซึ่งแบ่งตามอายุ และเพศ
๓. ความหนาแน่น หมายถึง จำนวนประชากรที่นับต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น จำนวนต้นไม้ ๑๕๐ ต้นต่อไร่
๔. การเพิ่มจำนวน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรที่เป็นผลรวมสุทธิระหว่างอัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่นเข้า และการย้ายถิ่นออก โดยมีขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น เป็นตัวกำหนดให้ประชากรในพื้นที่เพิ่มจำนวนในอัตราที่เหมาะสม นั่นคือ การเพิ่มจำนวนของประชากร แต่ละชนิด จะต้องอยู่ภายในอิทธิพลของประชากรอื่นในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ถ้าเมื่อใดที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น เกินระดับความเหมาะสม ส่วนที่เกินนั้นก็จะถูกชีวิตอื่นกำจัดให้ลดลง
มอสและเฟิร์น
พืชที่อาศัยเกาะติดกับต้นไม้อื่น
ชุมชน
หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และมีการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเรียกชื่อชุมชนใดชุมชนหนึ่งอาจเรียกตามลักษณะโครงสร้างของชุมชน ซึ่งจะเรียกตามจำนวนที่หนาแน่นมากที่สุดของประชากรในชุมชน หรืออาจเรียกตามรูปร่างลักษณะของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ที่แสดงความแตกต่างระหว่างกันให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น พืชซึ่งแบ่งความแตกต่างของลักษณะประชากรออกได้เป็น ๖ ลักษณะ ได้แก่
- ต้นไม้ มีลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่มีขนาดสูงใหญ่ มีลำต้นปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน
- ไม้พุ่ม มีลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่มีขนาดเล็กกว่าต้นไม้ มีกิ่งก้านสาขารวมทั้งใบไม้จำนวนมาก อยู่ใกล้บริเวณพื้นดิน
- ไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นพืชขนาดเล็กอาจมีอายุยืนยาวนานหลายปี เช่น หญ้า
- ตะไคร่ เป็นพืชที่มีขนาดเล็กมาก เช่น มอส
- พืชอากาศ เป็นพืชที่เกาะอาศัยอยู่ติดกับ กิ่งก้าน หรือลำต้นของต้นไม้อื่น โดยลำต้นไม่ สัมผัสกับพื้นดินเลย เช่น กล้วยไม้
- เถาวัลย์ เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ขึ้นเกี่ยวพัน กับต้นไม้อื่น ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้โดย ลำพัง
นก ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นฝูง
ในบริเวณชุมชนใดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสิ่งมีชีวิตต่างชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ความสัมพันธ์ของชีวิตในชุมชนก็จะมีมาก ชุมชนนั้นสามารถที่จะถ่ายทอดพลังงาน และสสารให้อยู่ในสภาพที่สมดุลได้ โดยไม่ต้องอาศัยชุมชนอื่น การมีจำนวน และความต่างชนิดกัน ในชุมชนจึงเป็นความหลากหลายที่สร้างระบบ แห่งความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนและมั่นคงทน ทานต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามารบกวนได้สูง เช่น ในการที่องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ภายในชุมชนถูกทำลายลง ชีวิตอื่นๆ ในชุมชน ก็จะช่วยกันปรับตัว ฟื้นฟูสภาพของระบบภายในชุมชน ไม่ให้แตกสลายลงได้ เช่น ในระบบนิเวศของป่าหญ้า ที่ชุมชนประกอบด้วยหญ้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารจากพลังงานดวงอาทิตย์ มีกวาง เก้ง เนื้อทราย ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ บริโภคพืช และสัตว์เหล่านี้ก็จะเป็นเหยื่อของ สัตว์ที่เป็นผู้ล่า เช่น เสือ หมาใน สิงโต ซึ่ง เมื่อใดก็ตามถ้ากวางถูกล่ามากไปกว่าสัตว์อื่น จำนวนกวางก็ลดน้อยลง หายากขึ้น เสือก็จะ หันไปหาเหยื่อที่ง่ายกว่า เช่น เก้ง เนื้อทราย ในช่วงเวลานั้น กวางก็จะมีโอกาสขยายพันธุ์ เพิ่มขึ้นใหม่ หรือในกรณีที่เสือมีเหยื่อให้บริโภค มาก จำนวนเสือก็จะมากขึ้น ก็จะทำให้ปริมาณของเหยื่อลดลง หญ้าที่เป็นอาหารของเหยื่อก็มี โอกาสฟื้นตัวได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อหาเหยื่อได้ยากขึ้น เสือก็จะลดจำนวนลง เมื่อผู้ล่าลดจำนวนลง จำนวนของเหยื่อและหญ้าก็จะขยายพันธุ์ได้เพิ่มขึ้นอีก เป็นการควบคุมกันเองของระบบชีวิตในชุมชน