การรุกล้ำเข้าไปตั้งบ้านเรือนในเขตป่าสงวน ทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ | ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตชนบท ๑. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนที่ตั้งถิ่นฐานในเขตชนบท ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งหากถิ่นฐานนั้นอยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าไม้แล้ว เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการพื้นที่ทำมาหากินจึงมีเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตป่าสงวน ป่าต้นน้ำลำธาร หรือเขตหวงห้ามอื่นๆ เพื่อเอาที่ดินมาทำกิน เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติตามมา ๒. มลพิษทางด้านสารพิษทางการเกษตร ในขณะที่ถิ่นฐานในเขตเมืองประสบปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศ น้ำ และขยะมูลฝอยเป็นส่วนใหญ่ ถิ่นฐานในชนบท จะประสบปัญหาภาวะมลพิษในลักษณะของสารพิษทางการเกษตร ได้แก่ สารเคมีที่ใช้เพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สารเคมีดังกล่าว บางชนิดเป็นสารที่มีพิษอันตราย ซึ่งเมื่อนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ขาดการควบคุมขาดความรู้ในการเก็บรักษา การขนส่ง และการกำจัดกากของเสียแล้ว จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งในโดยเฉียบพลันและเรื้อรังได้ |
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต